bih.button.backtotop.text

มะเร็งรังไข่

มะเร็งรังไข่ คือ การมีเซลล์มะเร็งเจริญเติบโตในรังไข่ ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญในสตรีที่ทำหน้าที่ในการผลิตไข่และฮอร์โมนเพศหญิง

อาการ
  • รู้สึกอึดอัดในช่องท้อง
  • เบื่ออาหาร รู้สึกอิ่มจนอึดอัดถึงแม้รับประทานอาหารอ่อนๆ อาหารไม่ย่อย ท้องอืดท้องเฟ้อ หรือปวดท้องคลื่นไส้ ท้องเสีย ท้องผูก หรือปัสสาวะบ่อย
  • น้ำหนักขึ้นหรือลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • มีเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด
  • คลำก้อนเนื้อได้ในท้องน้อย ปวดท้องน้อย
  • ในระยะท้ายๆ อาจมีน้ำในช่องท้องทำให้ท้องโตขึ้นกว่าเดิม ผอมแห้ง น้ำหนักลด
  • การซักประวัติและการตรวจร่างกาย
  • การตรวจภายในหรือทางทวารหนัก ตรวจหารอยโรคก่อนมะเร็งตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม
  • การตรวจอัลตราซาวนด์มีประโยชน์ในการวินิจฉัยมะเร็งรังไข่ในระยะแรก และมีความไวในการตรวจพบก้อน
  • การตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็ง (tumor marker) ได้แก่ CA-125 (cancer antigen 125) และ HE4 (human epididymal protein 4) ร่วมกับอัลตราซาวนด์ เพื่อเพิ่มความแม่นยำ แต่ความไวของการตรวจยังไม่มากพอที่จะใช้เป็นวิธีการตรวจคัดกรองในปัจจุบัน
  • ตรวจด้วยรังสีวินิจฉัย เช่น การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (computed tomography: CT scan) หรือการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (magnetic resonance imaging: MRI) ช่วยในการวินิจฉัยและดูการแพร่กระจายของโรค เพื่อวางแผนการรักษา
  • การส่องกล้องแลปพาโรสโคป (laparoscope) ใช้ในการตรวจหาเนื้อเยื่อข้างในอุ้งเชิงกรานและเก็บตัวอย่างของเนื้องอกเพื่อนำไปวินิจฉัยทางพยาธิวิทยา
  • การผ่าตัด เป็นการผ่าตัดเพื่อนำเอาก้อนมะเร็งและเนื้อเยื่อรอบๆ ออก หรืออาจรวมทั้งต่อมน้ำเหลืองในบริเวณใกล้เคียง
  • การใช้เคมีบำบัด เป็นการใช้ยาในการฆ่าเซลล์มะเร็ง เคมีบำบัดมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น การใช้ยาเม็ด ยาฉีดเข้าเส้นเลือดหรือผ่านสายเข้าในช่องท้อง
  • การใช้รังสีรักษา (มีการใช้รักษาแต่น้อยในมะเร็งรังไข่) เป็นการใช้รังสีเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งและทำให้ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กลง การใช้รังสีอาจเป็นการฉายรังสีจากภายนอกร่างกายและฉายตรงเข้าสู่ร่างกาย
  • การให้ยารักษาตรงเป้า (Targeted therapy) เป็นการรักษาโดยการใช้ยาหรือสารอื่นๆ ที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็งและก่อให้เกิดอันตรายต่อเซลล์ปกติน้อยกว่ายาเคมีบำบัดหรือรังสีรักษา ใช้ในการรักษามะเร็งรังไข่ระยะลุกลาม
ทั้งนี้ความสำเร็จจากการรักษาจะขึ้นอยู่กับระยะของโรคมะเร็ง หากไม่ทำการรักษาเซลล์มะเร็งอาจลุกลามไปที่บริเวณช่องท้องหรืออวัยวะอื่นในร่างกายได้
 
  • ดูแลการรับประทานอาหารที่ปลอดสารก่อมะเร็งและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรักษาภูมิต้านทานในร่างกายให้ดีอยู่เสมอ
  • ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการตรวจคัดกรองที่สามารถตรวจจับมะเร็งรังไข่ได้ตั้งแต่ยังไม่แสดงอาการ ผู้หญิงทุกคนจึงควรตรวจภายในและพบสูตินรีแพทย์เป็นประจำทุกปี เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งรังไข่ โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวหรือญาติใกล้ชิดเป็นมะเร็งรังไข่ตั้งแต่อายุยังน้อย

 

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์มะเร็งฮอไรซัน

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์สูติ-นรีเวช

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 9.77 of 10, จากจำนวนคนโหวต 237 คน

Related Health Blogs