bih.button.backtotop.text

การตรวจระบบทางเดินอาหารโดยการส่องกล้องที่ติดอัลตราซาวด์

การตรวจระบบทางเดินอาหารโดยการส่องกล้องติดอัลตราซาวด์ (endoscopic ultrasound; EUS) เป็นวิธีการที่ช่วยทำให้แพทย์มองเห็นสภาพเยื่อบุผนังและผนังทางเดินอาหารทั้งส่วนบน (หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น) และผนังทางเดินอาหารส่วนล่าง (ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก) ได้ รวมถึงยังใช้ในการศึกษาอวัยวะภายในที่อยู่ใกล้ๆ กับระบบทางเดินอาหาร เช่น ถุงน้ำดี ตับ อีกด้วย โดยแพทย์จะใช้กล้องที่มีลักษณะเป็นท่อขนาดเล็ก ตรงปลายมีลักษณะโค้งงอได้ เรียกว่า เอ็นโดสโคป (endoscope) สอดเข้าทางปากหรือทวารหนัก แล้วเลื่อนไปยังตำแหน่งที่ต้องการตรวจ จากนั้นจะเปิดเครื่องอัลตราซาวนด์เพื่อให้เกิดคลื่นเสียง และสร้างให้เกิดภาพของระบบทางเดินอาหารและอวัยวะที่อยู่ติดกับทางเดินอาหาร

ประโยชน์ของการตรวจ
  • ใช้ในการตรวจวินิจฉัยสาเหตุของอาการที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ เช่น ปวดท้อง น้ำหนักลดผิดปกติ เนื่องจากการตรวจระบบทางเดินอาหารโดยการส่องกล้องที่ติดอัลตราซาวด์ จะช่วยให้แพทย์เห็นภาพลักษณะทางเดินอาหารและอวัยวะที่อยู่ติดกับทางเดินอาหารได้ชัดเจนขึ้น
  • ใช้ในการประเมินความผิดปกติ เช่น การเติบโตของก้อนเนื้อที่ตรวจพบโดยการส่องกล้องหรือเอกซเรย์ โดยจะทำให้แพทย์เห็นภาพของก้อนเนื้อได้ชัดเจน สามารถวินิจฉัยได้ว่าเป็นก้อนเนื้อชนิดใด
  • ใช้ในการตรวจวินิจฉัยตับอ่อน ท่อน้ำดี และถุงน้ำดี หากตรวจด้วยวิธีอื่นแล้วยังไม่ได้ข้อสรุปที่แน่ชัด
  • ช่วยให้แพทย์ทราบได้ถึงระยะของมะเร็งที่อยู่ในระบบทางเดินอาหารและระบบทางเดินหายใจ และช่วยให้ทราบได้ว่ามะเร็งได้กระจายเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองหรืออวัยวะสำคัญใกล้เคียงอื่นๆ เช่น เส้นเลือด แล้วหรือไม่ สำหรับผู้ป่วยบางรายอาจใช้กล้องอัลตราซาวด์ในการตัดชิ้นเนื้อตัวอย่างเพื่อส่งตรวจและหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
  • การตรวจทางเดินอาหารส่วนบน แพทย์จะฉีดสเปรย์ยาชาเข้าไปในคอของผู้ป่วยเพื่อให้รู้สึกชาก่อนเริ่มการตรวจ ผู้ป่วยจะถูกจัดท่าให้นอนตะแคงซ้าย และจะได้รับยานอนหลับผ่านทางเส้นเลือดเพื่อให้รู้สึกผ่อนคลาย จากนั้นแพทย์จะทำการสอดกล้องลงไปทางปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น โดยทั่วไปการตรวจวิธีนี้จะใช้เวลา 15-45 นาที ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะรู้สึกไม่สบายตัวเล็กน้อย ส่วนบางรายหลับไประหว่างการตรวจ
  • การตรวจทางเดินอาหารส่วนล่าง โดยทั่วไปไม่ต้องใช้ยาใดๆ ทั้งสิ้น แต่ผู้ป่วยอาจได้รับยานอนหลับในกรณีที่ต้องใช้เวลานานหรือแพทย์ต้องการตรวจลำไส้ใหญ่เฉพาะที่ ผู้ป่วยจะได้รับการจัดท่าให้นอนตะแคงซ้าย หันหลังให้กับแพทย์ การตรวจส่วนใหญ่จะใช้เวลา 10-30 นาที
  • ภาวะแทรกซ้อนของการตรวจด้วยกล้องอัลตราซาวด์เพื่อวินิจฉัยพบได้น้อย แต่ก็อาจมีอาการบางอย่างเกิดขึ้นได้ เช่น เลือดออกบริเวณที่ทำการตัดชิ้นเนื้อตัวอย่าง
  • เจ็บคอหลังการตรวจ ซึ่งสามารถบรรเทาได้ด้วยยาอมและยาแก้ปวด
  • ปฏิกิริยาของร่างกายที่มีต่อยานอนหลับที่ได้รับ เกิดการไหลย้อนของอาหารเข้าปอด การติดเชื้อ และปัญหาจากโรคหัวใจหรือโรคปอด
  • การเจาะทะลุผนังลำไส้ ต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อแก้ไข

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์ทางเดินอาหาร-ตับ

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 9.73 of 10, จากจำนวนคนโหวต 51 คน

บทความที่เกี่ยวข้อง