bih.button.backtotop.text

ดูแลระบบทางเดินอาหารให้สุขภาพดีอย่างยืนยาว

ดูแลระบบทางเดินอาหารให้สุขภาพดีอย่างยืนยาว

สุขภาพระบบทางเดินอาหารมีความสำคัญต่อสุขภาพร่างกายโดยรวม เซลล์ภูมิคุ้มกันร่างกายอาศัยอยู่ในระบบทางเดินอาหารประมาณ 70% ดังนั้นระบบทางเดินอาหารที่แข็งแรงสามารถช่วยป้องกันเราจากอาการอักเสบและโรคร้ายต่างๆได้ งานวิจัยหลายชิ้นพบความเชื่อมโยงของสุขภาพระบบทางเดินอาหารกับสุขภาพร่างกายโดยรวมในหลายๆด้าน ตั้งแต่ระบบภูมิคุ้มกัน สุขภาพจิต โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคแพ้ภูมิตนเอง โรคระบบต่อมไร้ท่อ โรคระบบทางเดินอาหารไปจนถึงการทำงานของสมอง

 

ดูแลระบบทางเดินอาหารให้มีสุขภาพที่ดีได้อย่างไร

การดูแลระบบทางเดินอาหารให้มีสุขภาพที่ดีทำได้ไม่ยาก โดยหลักๆแล้ว เราสามารถทำได้ด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ดังนี้
 
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบทางเดินอาหาร ได้แก่
    • อาหารที่มีใยอาหารประเภทพรีไบไอติกส์ (prebiotics fiber) ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตและการทำงานของจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ในลำไส้ อาหารที่อุดมด้วยพรีไบโอติกส์มีหลายอย่าง เช่น แอสพารากัส กล้วย กระเทียม หัวหอม ถั่วเหลืองและถั่วแดง
  • รับประทานอาหารช้าๆ ช่วยให้กระเพาะอาหารมีเวลาในการย่อยอาหารมากขึ้นและยังทำให้ไม่รับประทานอาหารมากจนเกินไป ลดความเสี่ยงภาวะน้ำหนักเกินและโรคเบาหวาน
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ ช่วยป้องกันอาการท้องผูก
  • หลีกเลี่ยงการบริโภคน้ำตาลและน้ำตาลเทียมมากเกินไป เพราะทำให้จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารไม่สมดุล (dysbiosis) เมื่อจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารไม่สมดุล จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคลำไส้แปรปรวน (IBS) โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคอ้วนและโรคทางระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system disorders) ได้
  • จัดการกับความเครียด ระบบทางเดินอาหารเปรียบเหมือนสมองที่สองของร่างกาย ความเครียดแม้เพียงเล็กน้อยสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพระบบทางเดินอาหาร ไม่ว่าจะเป็นความเครียดทางด้านจิตใจ ร่างกายหรือสภาพแวดล้อม รวมถึงการนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ควรฝึกเทคนิคในการจัดการกับความเครียดเช่น การทำสมาธิ โยคะ ฝึกการหายใจเข้าลึกๆ และนอนหลับอย่างน้อย 7 ชั่วโมงต่อวัน สร้างอุปนิสัยการนอนที่ดีด้วยกรเข้านอนและตื่นนอนในเวลาเดิมทุกวัน
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายช่วยควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ภาวะน้ำหนักตัวเกินหรืออ้วนทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งลำไส้หรือมะเร็งทวารหนักมากขึ้น
  • ไม่สูบบุหรี่ การสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งหลายชนิด รวมถึงมะเร็งลำไส้และมะเร็งทวารหนัก
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์มีความเชื่อมโยงต่อโรคมะเร็งลำไส้และทวารหนัก
  • ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น ไม่ซื้อยาปฏิชีวนะใช้เอง ควรให้แพทย์เป็นผู้สั่งยา เนื่องจากยาปฏิชีวนะอาจทำลายจุลินทรีย์ชนิดดีที่ช่วยให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้อย่างสมดุล


การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ชีวิตและอาหารที่รับประทาน สามารถช่วยให้ระบบทางเดินอาหารและสุขภาพโดยรวมดีขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคลำไส้แปรปรวนหรือโรคอื่นๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะเริ่มเปลี่ยนแปลงอาหารที่รับประทาน ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ มีทีมแพทย์ผู้ชำนาญเฉพาะทางพร้อมให้คำปรึกษาในทุกๆเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโรคระบบทางเดินอาหารและตับ
 



 
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

ดูแลระบบทางเดินอาหารให้สุขภาพดีอย่างยืนยาว
คะแนนโหวต 6 of 10, จากจำนวนคนโหวต 2 คน

Related Health Blogs