bih.button.backtotop.text

การผ่าตัดไตออก

การผ่าตัดไต (nephrectomy) เป็นการผ่าตัดไตออกจากร่างกาย ซึ่งมีการผ่าตัดไตหลายชนิด เช่น

•    การตัดเพียงบางส่วนของเนื้อไต เรียกว่า partial nephrectomy 
•    การผ่าตัดไตหนึ่งข้าง รวมทั้งต่อมหมวกไตและต่อมน้ำเหลืองข้างเคียงออกทั้งหมด เรียกว่า radical nephrectomy
•    การตัดไตข้างใดข้างหนึ่งออกทั้งหมด เรียกว่า total nephrectomy
•    การผ่าตัดไตทั้งสองข้างออก เรียกว่า bilateral nephrectomy

จุดประสงค์/ประโยชน์ของการทำหัตถการ
  • กรณีผู้ป่วยประสบอุบัติเหตุ เช่น อุบัติเหตุรถยนต์ ทำให้ไตแตกจนไม่สามารถเย็บซ่อมแซมได้
  • กรณีที่ต้องการผ่าตัดเปลี่ยนไต (kidney transplantation)
  • กรณีที่เนื้อไตถูกทำลายจากการติดเชื้อ ก้อนนิ่ว ถุงน้ำในไต หรือภาวะอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ
  • กรณีที่เป็นก้อนมะเร็ง ส่วนใหญ่ต้องทำการผ่าตัดไตหนึ่งข้าง รวมทั้งต่อมหมวกไตและต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้เคียง หรือผ่าตัดไตเฉพาะบางส่วน ขึ้นอยู่กับขนาดก้อนเนื้องอกและตำแหน่ง
  • กรณีที่ผู้ป่วยเกิดภาวะความดันโลหิตสูงอย่างรุนแรงจากโรคเส้นเลือดไปเลี้ยงไตตีบตัน ซึ่งก่อให้เกิดการทำลายเนื้อไต
  • อันตรายต่ออวัยวะใกล้เคียง ได้แก่ ลำไส้ ตับ ม้าม ตับอ่อน
  • พบเลือดออกในช่องท้องหรือบริเวณแผลผ่าตัด
  • เกิดรอยรั่วเข้าไปในช่องปอดระหว่างผ่าตัด ทำให้ปอดแฟบ
  • ประสิทธิภาพการทำงานของปอดและระบบทางเดินหายใจลดลงภายหลังการผ่าตัด
  • แผลผ่าตัดติดเชื้อ
  • สมรรถภาพการทำงานของไตลดลงบ้างในช่วงแรกหลังผ่าตัด
  • อันตรายต่อเส้นประสาทใกล้แผลผ่าตัด
  • พบไส้เลื่อนที่แผลผ่าตัด
หลังการผ่าตัด แพทย์จะประเมินสภาพร่างกาย รวมทั้งแผลผ่าตัด ก่อนที่จะให้คำแนะนำในการดูแลตนเองและอนุญาตให้เดินทางได้เมื่อพิจารณาแล้วว่ามีความพร้อมและความปลอดภัย
 

เนื่องจากการผ่าตัดไตมักขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการผ่าตัดไตออกดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น จึงมักไม่มีทางเลือกอื่น ทั้งนี้แพทย์จะเป็นผู้อธิบายถึงเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องมีการผ่าตัดไตออก

Related conditions

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์ศัลยกรรม

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์โรคไต

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs