bih.button.backtotop.text

การตรวจแปปสเมียร์

การตรวจแปปสเมียร์  (Pap Smear หรือ Pap Test) เป็นวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยแพทย์จะใช้เครื่องมือสอดผ่านและถ่างช่องคลอด จากนั้นจะทำการป้ายเซลล์จากมดลูกส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจหาเซลล์ที่ผิดปกติหรือเซลล์ที่มีการเปลี่ยนแปลงซึ่งอาจทำให้เกิดมะเร็งได้  

ใครควรตรวจแปปสเมียร์
แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ถึงเวลาที่ควรเริ่มตรวจแปปสเมียร์และความถี่ที่ต้องมารับการตรวจ สมาคมโรคมะเร็งแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาได้แนะนำแนวทางการตรวจแปปสเมียร์ดังนี้
  1. สตรีทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป หรือ 3 ปีหลังจากมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ขึ้นกับว่าเวลาใดถึงก่อน ควรเริ่มทำการตรวจแปปสเมียร์ หลังจากนั้นทำการตรวจทุก 1-2 ปี
  2. สตรีที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป ควรตรวจแปปสเมียร์ทุกปี หากผลตรวจเป็นปกติติดต่อกัน 3 ปี สามารถตรวจแปปสเมียร์ทุก 3 ปีได้ ยกเว้นกลุ่มที่มีความเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูก เช่น มีการติดเชื้อ HIV ติดเชื้อ HPV (Human Papillomavirus) มีโรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันต่ำ หรือมีมารดาที่ใช้ยา diethylstilbestrol ขณะตั้งครรภ์ ต้องทำการตรวจแปปสเมียร์ทุกปี
  3. สตรีที่มีอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป หากมีผลการตรวจเป็นปกติ 3 ปีติดต่อกัน ไม่มีผลการตรวจที่ผิดปกติในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และไม่มีปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูก อาจยกเลิกการตรวจแปปสเมียร์ได้ 
  1. ควรนัดตรวจแปปสเมียร์ในช่วงที่ไม่มีประจำเดือน
  2. ห้ามสวนล้างช่องคลอดก่อนการตรวจ
  3. ห้ามใช้ยาเหน็บช่องคลอด ครีม หรือยาฆ่าเชื้ออสุจิในช่องคลอดก่อนการตรวจ 48 ชั่วโมง
  4. งดมีเพศสัมพันธ์ก่อนการตรวจ 24 ชั่วโมง
แก้ไขล่าสุด: 14 ตุลาคม 2567

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์สูติ-นรีเวช

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 9.39 of 10, จากจำนวนคนโหวต 134 คน

บทความที่เกี่ยวข้อง