bih.button.backtotop.text

การรักษาทางกายภาพบำบัด

การรักษาทางกายภาพบำบัด เป็นการบำบัดรักษาและฟื้นฟูให้ผู้ที่มีอาการต่างๆ สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามสมรรถนะของตนเองอย่างมีคุณภาพที่สุด  โดยให้การรักษาตามการบำบัด และฟื้นฟู ดังนี้ 

ข้อมูลทั่วไป

1. การรักษาเพื่อลดอาการปวดของกล้ามเนื้อและเอ็นกล้ามเนื้อ

  • ลดอาการอักเสบของกล้ามเนื้อ/เอ็นกล้ามเนื้อด้วยเครื่องมือทางกายภาพบำบัด
  • ลดการเคลื่อนไหวของข้อต่อนั้นๆ (immobilization) ด้วยอุปกรณ์ช่วยพยุงต่างๆ รวมถึงถ้ายังจำเป็นต้องใช้งานต่อเนื่อง
  • ให้คำแนะนำที่ถูกต้องเพื่อลดการใช้งานบริเวณที่มีการอักเสบ
  • ปรับท่าทางและแนะนำการใช้งานของกล้ามเนื้อที่ถูกวิธี เพื่อให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้
 

IMG
 

2. การรักษาเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ

  • กระตุ้นกล้ามเนื้อเพื่อเพิ่มความแข็งแรงเฉพาะมัดและ/หรือกลุ่มกล้ามเนื้อด้วยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า
  • กระตุ้นการออกกำลังกายเพิ่มเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออย่างถูกต้อง
  • ให้คำแนะนำเพิ่มการใช้งานกล้ามเนื้อที่ถูกต้อง โดยที่ไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดเพิ่มเติม
 

IMG

 

3. การรักษาเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพ

  • การใช้เทคนิคการรักษาเฉพาะเพื่อฝึกการรับความรู้สึกของกล้ามเนื้อและเอ็นข้อต่อต่างๆ ให้กลับมาทำงานอย่างถูกต้องหลังจากที่เกิดการบาดเจ็บ แล้วร่างกายตอบสนองต่อการบาดเจ็บด้วยการชดเชยแบบต่างๆ
  • ให้ความรู้เกี่ยวกับหน้าที่การทำงานและทักษะการใช้งานของกล้ามเนื้อนั้นๆ แบบเฉพาะเจาะจงในแต่ละท่าทางการเคลื่อนไหว
  • ปรับท่าทางการทำงานของกล้ามเนื้อให้ถูกต้อง และสอนให้ผู้ป่วยสามารถนำกลับไปฝึกได้เองเพื่อความต่อเนื่อง
  • กระตุ้นการออกกำลังในท่าทางเฉพาะของกิจกรรมนั้นที่ไม่สามารถกระทำได้ไม่ว่าปัญหาจะเกิดจากภาวะการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ หรืออาการเจ็บปวดจากภาวะการอักเสบเนื่องจากการใช้งานและ/หรือกีฬา
 

IMG
 

 

4. การรักษาเพื่อป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ

  • ให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพโครงสร้างของร่างกายและฟังก์ชั่นการทำงานของกล้ามเนื้อและกระดูกที่ถูกต้อง โดยมีความเฉพาะเจาะจงต่อบุคคลและประเภทกีฬา
  • วางแผนการออกกำลังกายด้วยการทดสอบสมรรถนะของกล้ามเนื้อเพื่อนำมาปรับแนวทาง/รูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้ป่วยรายนั้นๆ เช่น ความหนัก จำนวนครั้ง ความถี่ในการออกกำลังกาย เป็นต้น
  • ให้ความรู้ในการดูแลกล้ามเนื้อทั้งก่อน/หลังและระหว่างการออกกำลังกายให้เหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย และสามารถนำไปใช้ในขณะทำกิจวัตรประจำวันหรือการเล่นกีฬาได้อย่างถูกต้อง
  • แนะนำการใช้งานอุปกรณ์ช่วยพยุงต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้โดยไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อกล้ามเนื้อที่ถูกจำกัดการใช้งานจากอุปกรณ์ช่วยพยุงนั้นๆ
  • แนะนำให้ทราบถึงสัญญาณเตือนทางกายง่ายๆเพื่อให้เฝ้าระวังตนเองในการออกกำลังกาย หรือการทำกิจกรรมต่างๆ และสามารถควบคุมภาวะทางกายของตนเองได้อย่างเหมาะสม
 

IMG

 

5. การรักษาเพื่อส่งเสริมสุขภาพที่ดี

  • ให้ความรู้เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการออกกำลังกาย การออกกำลังที่เหมาะสมเฉพาะบุคคล เช่น การออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนัก การออกกำลังเพื่อเพิ่มขนาดกล้ามเนื้อ การออกกำลังเพื่อเพิ่มความแข็งแรง การออกกำลังกายผู้ป่วยโรคหัวใจ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยโรคข้อต่อต่างๆ ที่ต้องการกลับไปทำกิจกรรมต่างๆได้อย่างเหมาะสม
  • แนะนำรูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสมและถูกต้องในแต่ละบุคคลตามปัญหาและโครงสร้างการทำงานและตามความถนัดของบุคคล โดยเน้นรูปแบบการออกกำลังกายที่ถูกต้องทั้งจำนวน ระยะเวลา และความถี่ (การยืดกล้ามเนื้อ วิธีการออกกำลัง การคลายกล้ามเนื้อ) การปฏิบัติตัวเบื้องต้นเมื่อได้รับการบาดเจ็บ เช่น การประคบเย็น เป็นต้น
 

IMG
 

แก้ไขล่าสุด: 09 มีนาคม 2565

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 8.92 of 10, จากจำนวนคนโหวต 39 คน

บทความที่เกี่ยวข้อง