You're been inactive for a while. For security reason, we'll automatically sign you out from our website. Please Click "Login" to extend your session
ตรวจสอบข้อมูลผู้ป่วย ผลการตรวจ กำหนดการนัด และอื่นๆ
ขณะนี้ ไม่สามารถเข้าสู่ระบบด้วยเบอร์โทรศัพท์เป็นการชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก
ยังไม่มีบัญชี? Create Account
ติดตามข่าวสารล่าสุด และ นัดปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกได้ทันที
มีบัญชีอยู่แล้ว? Log In
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (ผ่าเข่า)
การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมทั้งข้อ ถือเป็นการรักษามาตรฐานในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมระยะรุนแรง เป็นการเปลี่ยนข้อเทียมที่ให้ผลการรักษาดีที่สุดวิธีหนึ่ง แม้จะเรียกกันโดยทั่วไปว่าการผ่าตัดเปลี่ยนข้อ แต่แท้จริงแล้วเราเปลี่ยนเฉพาะ “ผิวข้อ” ที่เสื่อมออกคล้ายกับการครอบฟัน โดยแพทย์ผู้ผ่าตัดจะปรับมุมและแนวของกระดูกให้กลับมาใกล้เคียงกับหัวเข่าเดิมมากที่สุด
การพัฒนาของข้อเข่าเทียม ถูกปรับปรุงให้ใช้งานดีขึ้นมาโดยตลอดระยะเวลาเกือบ 50 ปี ทั้งลักษณะของข้อเข่าที่ใกล้เคียงกับลักษณะทางกายภาพของผู้ป่วย หมอนรองข้อเข่าเทียมที่ผลิตจาก Polyethylene ที่ผ่านการฉายรังสีและเติม สาร Antioxidant ซีเมนต์ยึดกระดูกผสมยาฆ่าเชื้อ และผิวข้อเทียมที่ทำจากโลหะผสม
แม้ว่าข้อเข่าเทียมจะมีหลายชนิดและรุ่น ผู้ป่วยแต่ละคนจะมีความเหมาะสมกับข้อเข่าแตกต่างกันออกไป แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะให้คำแนะนำและช่วยตัดสินใจเลือกข้อเข่าให้กับผู้ป่วย
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ทำให้ในทางทฤษฎี เราคาดหวังอายุของข้อเข่าเทียมให้ใช้งานได้ยาวนานมากกว่า 25-30 ปี แต่ในทางปฏิบัติอาจขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย แต่โดยทั่วไปผู้ป่วย 85-90% สามารถใช้งานได้ดีที่ 20 ปี
การเตรียมตัวก่อนและหลังผ่าตัดเป็นสิ่งสำคัญ
Related conditions
แพทย์ที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง
โทรเพื่อทำการนัดหมาย
ติดต่อสอบถาม
นัดหมายแพทย์
การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยการผ่าตัดปัจจุบันเป็นที่นิยมมากเพราะเห็นผลการรักษาไว และทำให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้เป็นปกติ มาฟังวิธีการเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดข้อเข่าเทียมกับนายแพทย์ชาลี สุมธวานิชย์ แพทย์ผู้ชำนาญการศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ และการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม จากวิดีโอนี้กันค่ะ
เวชศาสตร์การกีฬาและข้อโรคข้อเข่าเสื่อมการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
มาทำความรู้จักทางเลือกในการรักษาข้อเข่าเสื่อมโดยการผ่าตัดข้อเข่าเทียม กับนายแพทย์ชาลี สุมธวานิชย์ แพทย์ผู้ชำนาญการศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ และข้อเทียม จากวีดีโอนี้
การดูแลแผลหลังการผ่าตัดควรทำอย่างไร และสิ่งใดที่ต้องระวัง ลองมาฟังจากนพ. สุรพจน์ เมฆนาวิน แพทย์ผู้ชำนาญการศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ, ข้อเทียม จากวีดีโอนี้กันนะคะ