bih.button.backtotop.text

การส่องกล้องเพื่อนำเอานิ่วออกจากท่อไต

การส่องกล้องเพื่อนำนิ่วออกจากท่อไต คือ การทำหัตถการโดยใช้กล้องส่องผ่านทางท่อปัสสาวะเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะจนถึงท่อไต เพื่อดูความผิดปกติและสามารถนำเอานิ่วออกมาได้โดยไม่มีบาดแผลผ่าตัด

จุดประสงค์/ประโยชน์ของการทำหัตถการ
เพื่อนำนิ่วขนาดใหญ่ออกจากท่อไต เนื่องจากนิ่วในไต (ureteric stone หรือ ureteric calculi) เป็นโรคที่พบได้บ่อยประมาณ 10% ของประชากรทั่วโลก โดยเกิดจากการมีก้อนนิ่วเล็กๆ หลุดจากก้อนนิ่วในไตหล่นเข้ามาอยู่ในท่อไตซึ่งเป็นอวัยวะที่อยู่ต่อจากไต ถ้านิ่วขนาดเล็กจะสามารถเลื่อนหลุดออกมากับปัสสาวะได้เอง แต่ถ้าหากนิ่วมีขนาดใหญ่จะหลุดเองได้ยากและทำให้เกิดไตบวมน้ำได้ (hydronephrosis) หากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้การทำงานของไตเสียไปได้

ปัจจัยเสี่ยงสำคัญในการเกิดนิ่วในท่อไต
  • พันธุกรรม
  • ดื่มน้ำน้อย
  • มีการติดเชื้อเรื้อรังในทางเดินปัสสาวะ
  • การรับประทานอาหารที่มีสารต่างๆ ที่ก่อการตกตะกอนในปัสสาวะในปริมาณสูงต่อเนื่อง
  • มีอาการรู้สึกไม่สบายตรงที่สอดใส่สายประมาณ 2-3 วัน แพทย์จะให้ยาชาเฉพาะที่ช่วยบรรเทาอาการ
  • ติดเชื้อบริเวณทางเดินปัสสาวะ พบได้แต่ไม่บ่อย แพทย์จะรักษาโดยการให้ยาปฏิชีวนะ
  • ภาวะแทรกซ้อนในระยะยาวอาจพบมีการหดเกร็งของท่อไต ซึ่งพบได้น้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์
  • ก่อนการเดินทางมารักษา ถ้าผู้ป่วยรับประทานยาละลายลิ่มเลือด/ยาต้านการแข็งตัวของเลือดควรปรึกษาแพทย์เพื่อหยุดยา
  • ผู้ป่วยชาวต่างชาติควรอยู่ในประเทศไทยอย่างน้อย 4 วันหรือตลอดระยะเวลาการรักษา
  • หากผู้ป่วยมีแผนการเดินทางหลังทำหัตถการ โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนทำการจองการเดินทาง
  • ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจร่างกายและดูแลแผลผ่าตัดในวันนัด รวมถึงได้รับเอกสารสรุปประวัติการรักษา เอกสาร Fit to Fly (ถ้าผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้ก่อนขึ้นเครื่อง)
มักได้ผลเป็นที่น่าพอใจ แต่ต้องรักษานิ่วในไตด้วย เพราะตราบใดที่ยังมีนิ่วในไตจะมีโอกาสเกิดนิ่วในท่อไตย้อนกลับเป็นซ้ำได้เสมอ ทั้งนี้วิธีการรักษาที่ดีที่สุดคือการป้องกันการเกิดนิ่วในท่อไต ได้แก่
  1. ดื่มน้ำสะอาดมากๆ วันละ 6-8 แก้ว (เมื่อไม่มีโรคที่ต้องจำกัดน้ำดื่ม เช่น โรคหัวใจล้มเหลวซึ่งต้องปฏิบัติตามแพทย์แนะนำ)
  2. จำกัดอาหารที่มีสารต่างๆ ที่เป็นสาเหตุของนิ่วในไต เช่น
  • อาหารที่มีสารออกซาเลตสูง เช่น ในยอดผัก ถั่วรูปไต และผักกระเฉด
  • อาหารที่มีกรดยูริกสูง เช่น อาหารโปรตีนและยอดผัก
  • อาหารที่มีสารซีสทีนสูง เช่น อาหารโปรตีน (เนื้อสัตว์ต่างๆ)
  1. ไม่ซื้อวิตามินเกลือแร่เสริมอาหารมารับประทานเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เพราะอาจเป็นสาเหตุของนิ่วในไตได้ เช่น วิตามินดี วิตามินซี และแคลเซียม
 
ถ้าไม่รักษาจะเกิดอะไรขึ้น
อาการปวดไม่หายหรือทำให้เกิดภาวะไตบวมน้ำได้ (hydronephrosis) และถ้าทิ้งไว้อาจทำให้ไตเสียหน้าที่ไปในที่สุด
 
  1. การใช้ยา เช่น
  • ยาแก้ปวดชนิดเสพติด (narcotics) เช่น morphine, pethidine
  • ยาแก้ปวดชนิดไม่เสพติด (non-narcotics) เช่น tramadol, buprenorphine, pentazocine
  • ยาลดการเกร็ง (antispasmodic) เช่น hyoscine-N-butylbromide ทั้งยาฉีดหรือรับประทาน ซึ่งได้ผลพอสมควร แต่ต้องระวังอาการข้างเคียงและไม่สมควรใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการของโรคต่อมลูกหมากหรือต้อหิน
  1. การรักษาแบบประคับประคองและติดตามประเมิน: นิ่วในท่อไตซึ่งมีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร และไม่มีภาวะแทรกซ้อนอื่นส่วนใหญ่จะหลุดได้เอง ผู้ป่วยควรปฏิบัตดังนี้
  • ดื่มน้ำมากๆ และออกกำลังกายได้ตามปกติ
  • รับประทานยาแก้ปวดเมื่อมีอาการ
  • ติดตามอาการเป็นระยะ หากมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ไข้ หรือภาวะไตบวมน้ำ (hydronephrosis) เพิ่มขึ้น อาจต้องเปลี่ยนวิธีการรักษาใหม่
  • ผู้ป่วยที่ยังไม่ได้เห็นนิ่วหลุดควรทำเอกซเรย์เป็นระยะๆ และติดตามผู้ป่วยจนกว่านิ่วจะหลุด ทั้งนี้ต้องอาศัยการที่ผู้ป่วยเห็นนิ่วหลุดหรือถ้านำมาให้ดูและพบว่ามีรูปร่างหรือขนาดเหมือนที่เห็นในเอกซเรย์
แก้ไขล่าสุด: 03 กุมภาพันธ์ 2565

Related conditions

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์ศัลยกรรม

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs