bih.button.backtotop.text

การดูแลทารกแรกเกิดที่มีความผิดปกติ (NICU)

แผนกบำบัดพิเศษทารกแรกเกิด (Neonatal Intensive Unit: NICU) โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ มีทีมแพทย์และพยาบาลวิชาชีพที่ได้รับการอบรมเฉพาะทาง ซึ่งมีความชำนาญในการให้การดูแลรักษาและพยาบาลทารกคลอดก่อนกำหนดและทารกแรกเกิดที่มีความผิดปกติ รวมถึงมีเครื่องมือที่ทันสมัย เพื่อให้มั่นใจว่าการดูแลทารกที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษได้มาตรฐานสูงสุด เพื่อความปลอดภัยสูงสุดตลอด 24 ชั่วโมง 

ทารกที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ
NICU คือ แผนกบำบัดพิเศษทารกแรกเกิด
IMG
 

ทารกแรกเกิดที่ต้องเข้ารับการดูแลในแผนกบำบัดพิเศษทารกแรกเกิดจะเป็นทารกที่ต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิดมากกว่าทารกปกติ ได้แก่

  • ทารกคลอดก่อนกำหนด (น้อยกว่าหรือเท่ากับ 34 สัปดาห์)
  • ทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ปกติ (น้อยกว่าหรือเท่ากับ 2,200 กรัม)
  • ทารกแฝดสอง แฝดสาม หรือแฝดสี่
  • ทารกแรกเกิดที่ตรวจพบมีอาการผิดปกติ เช่น
    • มีปัญหาระบบการหายใจ
    • มีปัญหาระบบหัวใจและหลอดเลือด
    • มีปัญหาระบบทางเดินอาหาร
    • มีปัญหาระบบประสาทวิทยา
    • มีปัญหาระบบขับถ่าย
    • มีความผิดปกติแต่กำเนิด
    • มีปัญหาการติดเชื้อ
    • มีภาวะน้ำตาลต่ำ
    • มีอาการอยู่ในระยะวิกฤติ

แพทย์ NICU ที่ดีที่สุด ทีมระดับโลก

 

 

การดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดและทารกที่มีความผิดปกติต้องการผู้เชี่ยวชาญที่มีความชำนาญสูงสุด แผนกบำบัดทารกแรกเกิด โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ประกอบด้วยบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการอบรมเฉพาะทางที่พร้อมให้การดูแล ดังนี้

 

  • แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านทารกแรกเกิด ซึ่งเป็นแพทย์เฉพาะทางการดูแลรักษาทารกที่มีภาวะผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอด
  • สูติแพทย์
  • กุมารแพทย์
  • พยาบาลวิชาชีพและพยาบาลที่ได้รับการฝึกอบรมหลักสูตรเวชปฏิบัติทารกแรกเกิด
  • พยาบาลและเจ้าหน้าที่ประสานงานศูนย์เวชศาสตร์มารดาและทารกปริกำเนิด
  • พยาบาลประสานงานเกี่ยวกับนมแม่
  • เภสัชกร 

ทั้งนี้ ทีมบุคลากรทางการแพทย์ของแผนกบำบัดทารกแรกเกิดจะทำงานร่วมกัน และร่วมกับคุณพ่อคุณแม่อย่างใกล้ชิด เพื่อวางแผนการดูแลรักษาทารกอย่างดีที่สุด 

NICU-1200x694.jpg

Lab แบบ Micro Technique ที่ใช้เลือดน้อยมาก
 

แผนกบำบัดพิเศษทารกแรกเกิด โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ครบครันด้วยอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์เพื่อการดูแลทารกแรกเกิดที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษโดยเฉพาะ เพื่อให้การดูแลทารกมีความเหมาะสมและปลอดภัยมากที่สุด อาทิเช่น

  • เครื่องช่วยหายใจ
  • เครื่องช่วยหายใจชนิดความถี่สูง สำหรับทารกแรกเกิดที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ช่วยให้มีการแลกเปลี่ยนก๊าซในทางเดินหายใจดีขึ้น
  • การใช้ไนตริกออกไซด์ในผู้ป่วยที่มีปัญหาความดันเลือดในปอดสูง
  • เครื่องเฝ้าติดตามการทำงานของสัญญาณชีพ
  • ตู้อบสำหรับทารกแรกเกิด เพื่อให้ความอบอุ่นแก่ทารกและปรับอุณหภูมิร่างกาย
  • ตู้อบสำหรับเคลื่อนย้ายทารกและเครื่องช่วยหายใจ
  • ชุดอุปกรณ์กู้ชีพสำหรับทารก
  • เครื่องควบคุมการให้สารละลายทางหลอดเลือด
  • เครื่องส่องไฟรักษาภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด
NICU-2-1200x638.jpg
ทีมเคลื่อนย้ายทารกแรกเกิด 
(neonatal transfer team)
 
  • ให้บริการดูแลทารกแรกคลอดที่รับจากห้องคลอด
  • รับย้ายทารกอายุไม่เกิน 1 เดือนที่ย้ายมาจากโรงพยาบาลอื่น ร่วมกับแผนกห้องฉุกเฉิน
  • ให้คำแนะนำและคำปรึกษาคุณพ่อคุณแม่เกี่ยวกับการดูแลทารกและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
แก้ไขล่าสุด: 05 ตุลาคม 2567

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์เวชศาสตร์มารดาและทารกปริกำเนิด

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 9.37 of 10, จากจำนวนคนโหวต 83 คน

บทความที่เกี่ยวข้อง