bih.button.backtotop.text

ศูนย์เวชศาสตร์มารดาและทารกปริกำเนิด

Layout-Women-Center-Element_ศนยสต-นรเวช.png Layout-Women-Center-Element_สขภาพผหญง.png Layout-Women-Center-Element_สขภาพวยทอง.png Layout-Women-Center-Element_สขภาพเตานม.png
Layout-Women-Center-Element_มะเรงในผหญง.png Layout-Women-Center-Element_วางแผนตงครรภ-และคลอดบตร.png Layout-Women-Center-Element_คลนกนมแม.png Layout-Women-Center-Element_แผนกบำบดพเศษทารกแรกเกด.png
การบริการ

ศูนย์เวชศาสตร์มารดาและทารกปริกำเนิด โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ให้บริการด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกปริกำเนิด โดยมีศักยภาพในการตรวจวินิจฉัยและรักษาความผิดปกติของทั้งมารดาและทารกในครรภ์ ให้คำปรึกษาทางพันธุกรรม ตรวจวินิจฉัยทารกผิดปกติก่อนคลอด โดยให้การดูแลรักษาและให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ ร่วมกับกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขากุมารเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดและปริกำเนิดตั้งแต่ก่อนคลอดจนถึงหลังคลอด

 


การดูแลมารดาภาวะครรภ์เสี่ยง


NICU-1-1200x630.jpg


ให้การดูแลมารดาที่มีภาวะครรภ์เสี่ยงสูง เช่น เป็นโรคเบาหวาน  ความดันโลหิตสูง โรคไต ครรภ์เป็นพิษ มีประวัติเคยคลอดบุตรก่อนกำหนด  มีประวัติเคยคลอดบุตรน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ปกติ เป็นต้น โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมารดาและทารกในครรภ์ (maternal fetal medicine) ร่วมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทารกแรกเกิด (neonatologist)

การดูแลทารกแรกเกิดที่มีความผิดปกติ

 
nicu1.jpg
 
แผนกบำบัดพิเศษทารกแรกเกิด (Neonatal Intensive Unit: NICU) ภายใต้ศูนย์เวชศาสตร์มารดาและทารกปริกำเนิด โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ มีความพร้อมสูงทั้งทางด้านบุคลากรทางการแพทย์ เทคโนโลยีที่ทันสมัย เครื่องมือที่ใช้ และการผ่าตัดที่ซับซ้อนตามมาตรฐานสากลระดับ IV โดยให้บริการทารกที่ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดมากกว่าทารกปกติ เช่น

การบริการอื่นๆ


NICU-2-1200x638.jpg
ทีมเคลื่อนย้ายทารกแรกเกิด 
(neonatal transfer team)
 
  • รับย้ายทารกอายุไม่เกิน 1 เดือนที่ย้ายมาจากโรงพยาบาลอื่น ร่วมกับแผนกห้องฉุกเฉิน (neonatal transfer)
  • รับย้ายมารดาที่มีภาวะเสี่ยงสูงต่อการตั้งครรภ์ (maternal transfer)
  • โปรแกรมติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง (follow-up program)

 

ศูนย์เวชศาสตร์มารดาและทารกปริกำเนิด โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ มีแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ในทุกสาขาที่เกี่ยวข้องที่พร้อมทำงานร่วมกันเพื่อกำหนดแผนการรักษา และจะประสานกับคุณพ่อคุณแม่อย่างใกล้ชิด เพื่อวางแผนการดูแลรักษาทารกให้ปลอดภัยที่สุด ดังนี้

NICU-1200x347.jpg
  • ทีมแพทย์
    • สูติแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ (maternal-fetal medicine specialist)
    • กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขากุมารเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดและปริกำเนิด (neonatologist) หมายถึง แพทย์เฉพาะทางการดูแลรักษาทารกที่มีภาวะผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอด
    • วิสัญญีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสำหรับการดูแลหญิงตั้งครรภ์ (obstetric anesthesiologist) และทารกหลังคลอด (pediatric anesthesiologist)
    • แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคพันธุกรรม
    • แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพยาธิวิทยาและห้องปฏิบัติการ
    • แพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคต่อมไร้ท่อ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโลหิตวิทยา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคข้อและกระดูก แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจเด็ก เป็นต้น 
  • ทีมพยาบาล ประกอบด้วยพยาบาลที่ได้รับการฝึกเกี่ยวกับเรื่องการดูแลครรภ์ การคลอด และดูแลทารกหลังคลอดโดยตรง
    • พยาบาลผู้เชี่ยวชาญการดูแลระหว่างการผ่าตัดคลอด
    • พยาบาลผู้เชี่ยวชาญการดูแลทารกแรกเกิด
    • พยาบาลผู้ประสานงานมารดาและทารกปริกำเนิด
    • พยาบาลผู้ประสานงานการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  • บุคลากรทางการแพทย์อื่น
    • เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญทางห้องปฏิบัติการ
    • เภสัชกรที่ได้รับการอบรมด้านเด็กและทารกแรกเกิดโดยเฉพาะ
    • โภชนากร

นอกจากอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ที่เกี่ยวกับมารดาและอุปกรณ์ที่ใช้ในการดูแลทารกแรกเกิดโดยทั่วไป เช่น เครื่องช่วยหายใจ ตู้อบสำหรับทารกแรกเกิด เครื่องเฝ้าติดตามการทำงานของสัญญาณชีพ แล้ว ศูนย์เวชศาสตร์มารดาและทารกปริกำเนิด โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ยังพร้อมด้วยอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงสำหรับการดูแลทารกอาการวิกฤติโดยเฉพาะ เช่น

NICU-1200x694.jpgLab แบบ Micro Technique ที่ใช้เลือดน้อยมาก
 

  • เทคโนโลยีในการตรวจวัดผลเลือดสำหรับทารก ซึ่งสามารถตรวจวินิจฉัยเลือดของทารกโดยใช้เลือดเพียงเล็กน้อยและสามารถรับทราบผลได้เร็ว
  • เครื่องพยุงการทำงานของหัวใจและปอด (extracorporeal membrane oxygenation: ECMO) เพื่อทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซและหมุนเวียนเลือด
  • เครื่องช่วยหายใจชนิดความถี่สูง (high frequency oscillator ventilation: HFOV) ใช้สำหรับทารกแรกเกิดที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เพื่อให้การแลกเปลี่ยนก๊าซในทางเดินหายใจดีขึ้น
ด้วยความชำนาญการของทีมกุมารแพทย์เฉพาะทางด้านทารกแรกเกิดและปริกำเนิด และทีมสหสาขาวิชาชีพ พร้อมด้วยห้องปฏิบัติการที่ทันสมัย ได้มาตราฐาน เราจึงสามารถให้การดูแลทารกแรกเกิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีอัตราการเสียชีวิตทารกแรกเกิดต่ำเพียง 0.12% และมีอัตราการรอดชีวิตของทารกแรกเกิดที่น้ำหนักตัวน้อยกว่า 1,000 กรัม สูงถึง 88%

Layout-Woman-Center-Campaign-infographic_EN-05.jpg
Layout-Woman-Center-Campaign-infographic_EN-06.jpg
Layout-Woman-Center-Campaign-infographic_EN-08.jpg
 

รศ.นพ. บุญชัย เอื้อไพโรจน์กิจ

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

สูติศาสตร์ นรีเวชวิทยา
สูติศาสตร์ นรีเวชวิทยา - เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์

ดูประวัติ

รศ.นพ. นพดล สโรบล

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

สูติศาสตร์ นรีเวชวิทยา
สูติศาสตร์ นรีเวชวิทยา - เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์

ดูประวัติ

รศ.นพ. รสิก รังสิปราการ

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

สูติศาสตร์ นรีเวชวิทยา
สูติศาสตร์ นรีเวชวิทยา - เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
สูติศาสตร์ นรีเวชวิทยา - Ultrasound

ดูประวัติ

รศ.นพ. ศักนัน มะโนทัย

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

สูติศาสตร์ นรีเวชวิทยา
สูติศาสตร์ นรีเวชวิทยา - เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์

ดูประวัติ

รศ.พญ. สมศรี พิทักษ์กิจรณกร

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

สูติศาสตร์ นรีเวชวิทยา
สูติศาสตร์ นรีเวชวิทยา - เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์

ดูประวัติ

รศ.นพ. ตวงสิทธิ์ วัฒกนารา

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

สูติศาสตร์ นรีเวชวิทยา
สูติศาสตร์ นรีเวชวิทยา - การผ่าตัดด้วยกล้อง
สูติศาสตร์ นรีเวชวิทยา - เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์

ดูประวัติ

พญ. อัมพร ไทยสมบูรณ์

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

สูติศาสตร์ นรีเวชวิทยา
สูติศาสตร์ นรีเวชวิทยา - เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์

ดูประวัติ

พญ. ภาสินี เตชะวิจิตร์

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

กุมารเวชศาสตร์ - กุมารเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดและปริกำเนิด

ดูประวัติ

นพ. คีริศวร์ วงศ์สุขเกษม

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

กุมารเวชศาสตร์ - กุมารเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดและปริกำเนิด

ดูประวัติ

Related Packages

Contact Information

  • บริการพบแพทย์ผ่าน VDO call (Tele-Consultation) คลิก

Service Hours

  • ศูนย์เวชศาสตร์มารดาและทารกปริกำเนิด
    ให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง
    เวลาทำการสำหรับติดต่อสอบถาม
    วันจันทร์-ศุกร์
    08.00-16.00น.

Location

  • ศูนย์เวชศาสตร์มารดาและทารกปริกำเนิด
    อาคาร B ชั้น 3 ด้านเหนือ (หน้าห้องบำบัดพิเศษทารกแรกเกิด ติดกับห้องคลอด)
แก้ไขล่าสุด: 09 มกราคม 2567
คะแนนโหวต 9.79 of 10, จากจำนวนคนโหวต 103 คน

Related Health Blogs