1. วางแผนก่อนการตั้งครรภ์
2. รณรงค์ให้มารดารับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ รวมถึงผักและผลไม้ และมีน้ำหนักตัวที่เหมาะสม
3. หลีกเลี่ยงสารต่าง ๆ ที่มีผลต่อการพัฒนาตัวเด็กในครรภ์ โดยเฉพาะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ และยาเสพติด
4. หลีกเลี่ยงการเดินทางไปประเทศหรือสถานที่ที่มีการระบาดของการติดเชื้อที่สัมพันธ์ต่อความผิดปกติโดยกำเนิด
5. หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือการรับสารต่าง ๆ ที่มีผลต่อทารกในครรภ์ เช่น โลหะหนัก ยาฆ่าแมลง
6. ดูแลสุขภาพของมารดาตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ ภาวะหรือโรคต่าง ๆ ในมารดาหลายอย่างมีผลกระทบต่อการพัฒนาการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
7. การให้วัคซีน โดยเฉพราะวัคซีนป้องกันหัดเยอรมันในเด็กและหญิงวัยเจริญพันธ์ก่อนการตั้งครรภ์
8. การตรวจคัดกรองการติดเชื้อต่าง ๆ เช่น
อีสุกอีใส , หัดเยอรมัน , ซิฟิลิส รวมถึงการพิจารณาให้การรักษาการติดเชื้อ
ความผิดปกติโดยกำเนิดมาจากสาเหตุหลายอย่าง การดูแลป้องกันมีหลายวิธีตามสาเหตุต่าง ๆ ที่สำคัญ คือต้องเริ่มการดูแลสุขภาพของมารดาตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์อย่างน้อย 3-4 สัปดาห์ เนื่องจากกว่าผู้หญิงจะรู้ว่าตนเองตั้งครรภ์ ก็ตั้งครรภ์ไปประมาณเกือบ 3- 4 สัปดาห์แล้ว และการพัฒนาเป็นอวัยวะต่าง ๆ เกิดขึ้นไตรมาสแรก ฉะนั้นสารหรือภาวะต่าง ๆ ที่มีผลต่อการพัฒนาตัวของเด็กทารกในครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์จะขัดขวางการพัฒนาและทำให้เกิดความผิดปกติโดยกำเนิด