bih.button.backtotop.text

โรคสุกใส

สาเหตุ
     เกิดจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า Varicella Virus ซึ่งเป็นเชื้อตัวเดียวกับที่ทำให้เกิดงูสวัด

การติดต่อ
     1. การไอ จาม หรือหายใจรดกัน
     2. การสัมผัสและการใช้ของร่วมกับผู้ที่เป็นโรคสุกใสหรืองูสวัด เช่น ผ้าปูที่นอน ผ้าห่ม

ระยะฟักตัว
      เมื่อเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายแล้วจะใช้เวลาประมาณ 10 - 20 วัน จึงจะเริ่มมีอาการ
 
     1. มีไข้
     2. อ่อนเพลีย
     3. เบื่ออาหาร
     4. ปวดเมื่อยตามตัว
     5. มีผื่นขึ้น ซึ่งจะขึ้นพร้อม ๆ กันกับวันที่เริ่มมีไข้ หรือ 1 วันหลังจากมีไข้ เริ่มแรกจะขึ้นเป็นผื่นแดงราบก่อน ต่อมาจะกลายเป็นตุ่มนูน มีน้ำใส ๆ อยู่ข้างในและมีอาการคัน ต่อมาจะกลายเป็นหนอง หลังจากนั้น 2 - 4 วันก็จะตกสะเก็ด ผื่นตุ่มของโรคนี้จะค่อย ๆ ออกมาทีละระลอก ขึ้นไม่พร้อมกันทั่วร่างกาย ดังนั้นจะพบว่าบางที่ขึ้นเป็นผื่นแดงราบ บางที่เป็นตุ่มใส บางที่เป็นตุ่มกลัดหนอง และบางที่เริ่มตกสะเก็ด ด้วยลักษณะนี้ชาวบ้านจึงเรียกว่า "สุกใส"

อาการแทรกซ้อน
     พบได้น้อยในเด็ก แต่ถ้าเป็นผู้ใหญ่อาจพบภาวะแทรกซ้อนมากขึ้น ที่พบได้บ่อยคือ การติดเชื้อแบคทีเรียทำให้ตุ่มน้ำกลายเป็นหนอง พุพอง และกลายเป็นแผลเป็นได้ ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง แต่พบได้น้อยคือ ปอดอักเสบและสมองอักเสบ
     ถ้ามีการติดเชื้อสุกใสในหญิงตั้งครรภ์ระยะไตรมาสแรกหรือไตรมาสที่ 2 อาจทำให้ทารกในครรภ์พิการได้ นอกจากนั้น
หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นสุกใสในระยะ 7 วันก่อนคลอดถึง 7 วันหลังคลอด ทารกที่เกิดมาอาจเป็นสุกใสชนิดรุนแรงได้
 
ผู้ที่เป็นโรคสุกใสส่วนมากจะหายเองได้ แต่ต้องระวังอย่าให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยจึงควรปฏิบัติตัวดังนี้

     1. ควรพักผ่อนและดื่มน้ำมาก ๆ
     2. ถ้ามีไข้ ควรเช็ดตัวลดไข้ และรับประทานยา paracetamol เพื่อบรรเทาไข้                                  
     3. หลีกเลี่ยงการรับประทานยาในกลุ่ม aspirin เนื่องจากทำให้ตับอักเสบรุนแรงได้
     4. ควรอาบน้ำและใช้สบู่ทำความสะอาดผิวหนังให้สะอาด
     5. ควรตัดเล็บสั้น ไม่แกะหรือเกาตุ่ม เพราะนอกจากจะกลายเป็นแผลเป็นที่รักษายากแล้วยังทำให้ติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้
     6. ถ้ามีอาการคัน สามารถรับประทานยาแก้แพ้และทายา Calamine lotion ได้
     7. ไม่ควรใช้ยา steroid ทั้งยารับประทานและยาทา เพราะอาจทำให้โรคลุกลามได้
     8. ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารพวกโปรตีน (เช่น เนื้อ นม ไข่ ถั่วต่าง ๆ )เพื่อให้มีภูมิต้านทานโรค ไม่มีของแสลงสำหรับโรคนี้
      9. ควรแยกผู้ป่วยออกต่างหาก โดยระยะแพร่เชื้อที่ติดต่อให้ผู้อื่นได้ คือ ตั้งแต่ระยะ 24 ชั่วโมงก่อนมีผื่นขึ้น จนกระทั่งระยะ 6 วัน หลังผื่น ตุ่มขึ้น
    10. ในปัจจุบันมียาต้านไวรัส (Acyclovir) ควรให้ทันทีหลังมีอาการภายใน 24 ชั่วโมงจะช่วยลดความรุนแรงและระยะของโรคลงได้ แต่แพทย์จะพิจารณาใช้ในรายที่จำเป็น เช่น มีภาวะภูมิต้านทานต่ำ เป็นปอดอักเสบจากเชื้อสุกใส
 
    1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยโรคสุกใสโดยตรง
     2. ไม่ควรใช้ของใช้ร่วมกับผู้ป่วยโรคสุกใส เช่น ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ จาน ชาม
     3. ควรทำร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ ด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมาก ๆ ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ
     4. ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคสุกใส
  • เด็กที่ไม่เคยเป็นโรคสุกใสมาก่อนควรได้รับวัคซีนโรคสุกใส 2 เข็ม โดยเข็มแรกเมื่ออายุ 12-15 เดือน เข็มที่สองเมื่ออายุ 4 - 6 ปี (อาจให้เมื่ออายุน้อยกว่านี้ แต่ต้องห่างจากเข็มแรกอย่างน้อย 3 เดือน)
  • ผู้ที่อายุ 13 ปีขึ้นไปที่ไม่เคยเป็นโรคสุกใสมาก่อนควรฉีด 2 เข็มห่างกันอย่างน้อย 28 วัน
  • ผู้ที่ได้รับวัคซีนไม่ครบและไม่เคยเป็นโรคสุกใส ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์
แก้ไขล่าสุด: 24 มีนาคม 2565

Related Treatments

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์กุมารเวช

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 10.00 of 10, จากจำนวนคนโหวต 1 คน

Related Health Blogs