bih.button.backtotop.text

โรคมะเร็งในเด็ก

โรคมะเร็งในเด็ก หมายถึง มะเร็งที่พบในเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 18 ปี เป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อยนักและ 70% ของมะเร็งที่เกิดขึ้นในคนไข้ในวัยเด็กสามารถรักษาให้หายขาดได้ ชนิดของมะเร็งที่เกิดขึ้นในเด็กมีความแตกต่างจากมะเร็งที่เกิดขึ้นกับผู้ใหญ่

มะเร็งที่พบบ่อยในเด็ก
  • โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือลูคีเมีย เป็นมะเร็งที่พบได้มากที่สุด ประมาณ 50% ของมะเร็งในเด็กทั้งหมด
  • โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง พบบ่อยเป็นอันดับ 2 โดยเกิดขึ้นกับระบบน้ำเหลืองหรือเนื้อเยื่อน้ำเหลือง และยังส่งผลต่อไขกระดูกและอวัยวะส่วนอื่นด้วย 
  • โรคมะเร็งสมองและไขสันหลัง พบบ่อยเป็นอันดับ 3 แบ่งออกได้หลายชนิด ขึ้นอยู่กับบริเวณที่เกิดเนื้องอก
มะเร็งเกิดจากการกลายพันธุ์ของยีน  ทำให้เซลล์มีความผิดปกติ มะเร็งที่เกิดขึ้นกับผู้ใหญ่มักเกิดจากอายุที่มากขึ้น พฤติกรรมและการสัมผัสสารก่อมะเร็งต่างๆ แต่มะเร็งในเด็ก ยังไม่ทราบสาเหตุอย่างชัดเจน อาจเกิดจากปัจจัยเสี่ยงบางอย่าง เช่น สัมผัสกับสารกัมมันตภาพรังสีหรือสารรังสีประเภทแกมมาตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาหรือเมื่ออายุน้อยๆ หรือสัมผัสกับสารเคมี เช่น ยาฆ่าแมลงในปริมาณมากและเป็นเวลานาน รวมถึงเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมหรือระหว่างที่ตัวอ่อนกำลังพัฒนา (fetal development) หรือวัยแรกเกิด (early infancy)  ที่เซลล์แบ่งตัวอย่างรวดเร็ว จนเกิดยีนกลายพันธุ์และกลายเป็นมะเร็งในที่สุด
 

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ผู้ป่วยส่วนมากมีอาการดังนี้

  • ปวดข้อต่อและกระดูก
  • อ่อนแรง เหนื่อยล้า
  • ผิวซีด
  • มีไข้
  • มีจ้ำเลือดตามผิดหนังหรือฟกช้ำ
  • น้ำหนักตัวลดลง
  • ติดเชื้อบ่อยครั้ง
  • เลือดกำเดาไหลบ่อย
  • เหงื่อออกมากในตอนกลางคืน
 

โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง อาการของผู้ป่วยขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เกิดเนื้อร้ายดังนี้

  • เหนื่อยล้า อ่อนแรง
  • น้ำหนักตัวลดลง
  • บวมที่ต่อมน้ำเหลือง โดยเฉพาะบริเวณคอ รักแร้และขาหนีบ
 

โรคมะเร็งสมองและไขสันหลัง ผู้ป่วยมักมีอาการดังนี้

  • ปวดหัว  คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ
  • มองเห็นเป็นภาพซ้อนหรือภาพเบลอ
  • ชัก
  • มีปัญหาในการเดินหรือการหยิบจับสิ่งของต่างๆ
การรักษามะเร็งในเด็กมีความแตกต่างจากมะเร็งในผู้ใหญ่ กุมารแพทย์ผู้ชำนาญด้านมะเร็งในเด็กจะวางแผนการรักษาตาม ชนิดและระยะของมะเร็ง ผลข้างเคียงจากการรักษา รวมถึงอายุของเด็ก โดยทั่วไปรักษาได้ด้วยวิธีการดังนี้
  • การผ่าตัด
  • การใช้เคมีบำบัด
  • การฉายแสง
  • การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด
  • การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด
แก้ไขล่าสุด: 14 พฤษภาคม 2567

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์กุมารเวช

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์มะเร็งฮอไรซัน

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs