bih.button.backtotop.text

ตับอักเสบเรื้อรัง

โรคตับอักเสบเป็นคำรวมๆ หมายถึงโรคอะไรก็ตามที่ทำให้การทำงานของตับผิดปกติจนนำไปสู่การเกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรังและภาวะตับแข็ง ทำให้ไม่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีการอื่น นอกจากการปลูกถ่ายตับ

สาเหตุที่ทำให้ต้องปลูกถ่ายตับมีอะไรบ้าง
สาเหตุที่ทำให้ต้องปลูกถ่ายตับ อาจแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่มได้ดังนี้
  • กลุ่มเด็ก ส่วนใหญ่มักเกิดจากโรคทางพันธุกรรม ซึ่งรักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ จำเป็นต้องปลูกถ่ายตับเพื่อให้อวัยวะอื่นสามารถดำรงชีพได้
  • กลุ่มผู้ใหญ่ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น
    • ภาวะตับวายเฉียบพลัน มักเกิดกับผู้ป่วยที่ไม่ได้เป็นโรคตับมาก่อน ส่วนใหญ่เกิดจากการใช้ยาเกินขนาดหรือเกิดจากเชื้อไวรัสตับอักเสบ
    • โรคทางพันธุกรรม เช่น โรคที่ทำให้มีการสะสมสารบางอย่างในตับผิดปกติ ส่งผลต่อการทำงานของตับและอวัยวะอื่นๆ 
    • ภาวะตับอักเสบเรื้อรังจนทำให้เป็นตับแข็งระยะท้ายที่มีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยยาหรือเทคนิคการรักษาอื่นๆ ซึ่งเกิดหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบและเชื้อไวรัสอื่นๆ การดื่มสุรามากเกินไปเป็นระยะเวลานานและโรคไขมันพอกตับ
    • โรคมะเร็งตับ ขึ้นอยู่กับขนาดของก้อนและสภาพของตับว่าเหมาะสมกับการปลูกถ่ายตับหรือไม่ หากเป็นในระยะแรกเริ่ม แพทย์สามารถรักษาได้ด้วยวิธีการอื่น
ผู้ได้รับการปลูกถ่ายตับต้องได้รับการประเมินถึงความพร้อมและความเหมาะสม ดังนั้นแพทย์จะตรวจสภาพการทำงานของร่างกายหลายขั้นตอน เช่น ตรวจเลือด ตรวจการทำงานของหัวใจ ปอดและไต ประเมินสภาพจิตใจของผู้ป่วย ตรวจคัดกรองมะเร็งชนิดอื่นในร่างกายว่ามีการกระจายออกไปนอกตับหรือไม่ รวมถึงโรคดั้งเดิมของผู้ป่วยต้องได้รับการแก้ไขหรือควบคุมได้ดีแล้ว เช่น หากผู้ป่วยเป็นโรคตับแข็งเพราะดื่มสุรา ผู้ป่วยจำเป็นต้องหยุดดื่มสุราอย่างน้อย 6 เดือนก่อนการผ่าตัดยกเว้นกรณีภาวะตับวายเฉียบพลัน
การเปลี่ยนตับเป็นการผ่าตัดใหญ่และมีความเสี่ยงสูง จึงเป็นวิธีการรักษาเมื่อไม่มีทางเลือกอื่นแล้ว นอกจากนี้หลังการผ่าตัด ผู้ป่วยจำเป็นต้องดูแลตนเองและดำรงชีวิตเปลี่ยนไป ต้องกินยากดภูมิต้านทานซึ่งยาเหล่านี้อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นหลังการปลูกถ่ายตับ เช่น การติดเชื้อ ร่างกายปฏิเสธตับใหม่ ท่อนำน้ำดีตีบตันหรือรั่ว รวมถึงภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากยากดภูมิคุ้มกัน เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงไขมันในเลือดสูงและโรคมะเร็ง
การดูแลหลังการปลูกถ่ายตับมีความสำคัญต่ออัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วย ผู้ป่วยต้องพบแพทย์ตามนัดหมายเพื่อตรวจค่าการทำงานของตับและระดับของยากดภูมิ การดูแลผู้ป่วยสามารถแบ่งออกเป็นช่วงๆ ในช่วง 6 เดือนแรก แพทย์จะติดตามอาการทุก 1-2 สัปดาห์ และห่างออกไปเป็นทุก 1 เดือนและทุก 3 เดือน และมีการติดตามอย่างต่อเนื่องไปตลอด หลังการปลูกถ่ายตับแล้ว 5 ปีจึงถือเป็นช่วงที่คงที่ขึ้น
การป้องกันไม่ให้เป็นโรคตับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด สำหรับผู้ที่ไม่เป็นโรคตับ ควรตรวจคัดกรองโรคตับเป็นระยะเพื่อให้พบปัญหาได้เร็ว สำหรับผู้ที่เป็นโรคตับแล้ว ควรพยายามดูแลรักษาตับเดิมให้อยู่ได้นานที่สุด ด้วยการพบแพทย์เพื่อติดตามอาการอย่างสม่ำเสมอ ภาวะตับแข็ง ตับวายหรือมะเร็งตับไม่ได้เกิดขึ้นเร็ว หากติดตามรักษาอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้แพทย์พบปัญหาเร็วและแก้ปัญหาได้ทันท่วงที

Related Treatments

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์ทางเดินอาหาร-ตับ

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs