bih.button.backtotop.text

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมโดยใช้แขนกลหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด (MAKOplasty)

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม ( Total Hip Replacement) เป็นการผ่าตัดเพื่อนำเอาส่วนของข้อสะโพกหรือกระดูกที่เสื่อมสภาพออก ทั้งส่วนเบ้าสะโพกและหัวกระดูกต้นขา แล้วทดแทนส่วนนั้นด้วยข้อสะโพกเทียม

ผู้ที่เหมาะสมสำหรับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม
  • ผู้ที่มีข้อสะโพกเสื่อมที่มีอาการปวดมากหรือผิดรูป จนเป็นอุปสรรคต่อการใช้งานในชีวิตประจำวัน
  • ผู้ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาทั่วไปที่ไม่ใช่การผ่าตัด เช่น การลดน้ำหนัก การรับประทานยา การทำกายภาพบำบัด เป็นต้น
MAKOplasty เป็นเทคโนโลยีที่ใช้แขนกลหุ่นยนต์ มาช่วยในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม (Robotic Arm Assisted Joint Replacement Surgery) โดยสามารถใช้ในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบเฉพาะบางส่วน และการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม

ปัญหาที่มักพบในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม การวางตำแหน่งของข้อเทียมที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้อายุการใช้งานของข้อเทียมสั้นกว่าที่ควรจะเป็น นอกจากนั้น อาจเกิดความเสี่ยงจากการเคลื่อนหลุดของข้อเทียม ขาสองข้างไม่เท่ากัน ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ป่วยต้องเข้ารับการผ่าตัดซ้ำ และอาจไม่ได้ผลดีเท่ากับการผ่าตัดครั้งแรก

การใช้แขนกลหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด ซึ่งประกอบด้วย แขนกลหุ่นยนต์ กล้องจับสัญญาณภาพ 3 มิติ และเครื่องประมวลผลที่คอยควบคุมการทำงานทั้งหมดให้สอดคล้องกัน โดยก่อนผ่าตัดผู้ป่วยจะต้องทำเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยให้ศัลยแพทย์สามารถวางแผนก่อนการรักษาได้อย่างละเอียด และระหว่างผ่าตัดแขนกลหุ่นยนต์ ก็จะช่วยให้ศัลยแพทย์วางตำแหน่งข้อเทียมอย่างถูกต้องตามที่วางแผนไว้ ทำให้การผ่าตัดมีความแม่นยำและเที่ยงตรงมาก ลดโอกาสเกิดความผิดพลาดจากการผ่าตัด

  • สามารถวางตำแหน่งข้อสะโพกเทียมได้อย่างแม่นยำ ทำให้ลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการวางข้อสะโพกเทียมผิดตำแหน่ง เช่น ข้อสะโพกเทียมเคลื่อนหลุด ส่งผลให้ข้อสะโพกเทียมที่ได้รับการผ่าตัดไปมีอายุการใช้งานยืนยาวอย่างที่ควรจะเป็น
  • ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (90%) เริ่มเดินได้โดยใช้อุปกรณ์ช่วยประคองภายใน 24 ชั่วโมงหลังการผ่าตัด
  • แผลผ่าตัดเล็ก เสียเลือดน้อย ฟื้นตัวเร็ว ใช้เวลาพักรักษาอยู่ในโรงพยาบาลประมาณ 3 วัน
แก้ไขล่าสุด: 12 มกราคม 2567

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์เวชศาสตร์การกีฬาและข้อ

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 9.85 of 10, จากจำนวนคนโหวต 53 คน

Related Health Blogs