You're been inactive for a while. For security reason, we'll automatically sign you out from our website. Please Click "Login" to extend your session
ตรวจสอบข้อมูลผู้ป่วย ผลการตรวจ กำหนดการนัด และอื่นๆ
ขณะนี้ ไม่สามารถเข้าสู่ระบบด้วยเบอร์โทรศัพท์เป็นการชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก
ยังไม่มีบัญชี? Create Account
ติดตามข่าวสารล่าสุด และ นัดปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกได้ทันที
มีบัญชีอยู่แล้ว? Log In
โรคเก๊าท์
ค้นหาแพทย์
ติดต่อสอบถาม
นัดหมายแพทย์
โรคเก๊าท์เป็นหนึ่งในกลุ่มโรคข้ออักเสบที่เกิดจากการสะสมของผลึกกรดยูริกตามข้อต่างๆ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวด บวม แดงบริเวณข้ออย่างเฉียบพลัน โดยพบได้บ่อยในผู้ชายและผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน โรคเก๊าท์เป็นโรคที่สามารถรักษาและควบคุมไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำได้
โรคเก๊าท์เกิดจากภาวะกรดยูริก (uric acid) ในเลือดสูงติดต่อกันเป็นเวลานานจนเกิดเป็นผลึกสะสมอยู่ในข้อ ทำให้เกิดการอักเสบ ปวดบวมอย่างรุนแรง ทั้งนี้ กรดยูริกเปรียบเสมือนของเสียในร่างกายที่เหลือจากการกำจัดเซลล์ที่หมดอายุลง โดยร่างกายของแต่ละคนจะมีกรดยูริกอยู่ประมาณร้อยละ 80 ส่วนอีกร้อยละ 20 มักได้รับจากอาหารที่รับประทานเข้าไป
ปัจจัยที่กระตุ้นให้ระดับกรดยูริกในเลือดสูงจนตกตะกอนเป็นผลึก ได้แก่
นอกเหนือจากการตรวจร่างกายแล้ว แพทย์วินิจฉัยโรคเก๊าท์ได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
1. เจาะน้ำในข้อที่มีอาการออกมาตรวจว่ามีผลึกของกรดยูริกหรือไม่ ถือเป็นวิธีหลักในการตรวจวินิจฉัย โดยแพทย์จะพิจารณาช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเจาะ เพราะหากผู้ป่วยยังมีอาการปวดมาก อาจไม่สมควรเจาะในขณะนั้น แต่อาจให้รับประทานยาเพื่อให้หายอักเสบก่อน
2. เจาะเลือดดูระดับกรดยูริกว่าสูงมากน้อยเพียงใด เป็นการตรวจในกรณีที่ผู้ป่วยยังไม่พร้อมรับการเจาะน้ำในข้อ ทั้งนี้ระดับกรดยูริกสูงไม่ได้หมายความว่าเกิดการตกตะกอนเป็นผลึกในข้อเสมอไป
3. การตรวจ dual energy CT scan เป็นการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้แพทย์เห็นผลึกของกรดยูริกที่ตกตะกอนอยู่ในข้อได้โดยไม่จำเป็นต้องเจาะน้ำออกมาตรวจ แต่การตรวจแบบนี้เหมาะสำหรับกรณีที่ผลึกจับตัวเป็นก้อนใหญ่จนสามารถเอกซเรย์เห็นได้ ซึ่งแพทย์จะประเมินจากลักษณะข้อที่ผิดปกติ หรือระยะเวลาที่ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ เช่น เป็นๆ หายๆ มานาน 5-10 ปี
แนวทางการรักษาโรคเก๊าท์คือการลดกรดยูริกในเลือดให้ต่ำลง ซึ่งทำได้โดยการรับประทานยาละลายผลึกกรดยูริกแล้วให้ร่างกายขับออก เมื่อกรดยูริกลดต่ำลงก็จะเกิดการอักเสบน้อยลง
ทั้งนี้ ผู้ป่วยจำเป็นต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง เพราะนอกจากจะเป็นการรักษาอาการอักเสบเฉียบพลันแล้ว ยังเป็นการป้องกันการกลับมาสะสมใหม่และลดความเสี่ยงที่อาจเกิดจากภาวะแทรกซ้อนของโรค รวมถึงการเกิดปุ่มหรือก้อนผลึกกรดยูริกในเนื้อเยื่อที่เรียกว่าก้อนโทฟัส (tophus) ซึ่งทำให้ดูไม่สวยงาม
การป้องกันโรคเก๊าท์ที่สามารถทำได้ คือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคด้วยการไม่รับประทานอาหารที่มีกรดยูริกสูงต่อเนื่องเป็นเวลานาน ส่วนการดูแลตัวเองของผู้ป่วย ได้แก่
การรักษาที่เกี่ยวข้อง
แพทย์ที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง
โทรเพื่อทำการนัดหมาย
สาเหตุของอาการแพ้ยารักษาโรคเก๊าท์และแนวทางป้องกันด้วยการตรวจยีน
โรคเก๊าท์การตรวจยีน
โรคเก๊าท์เป็นหนึ่งในกลุ่มโรคข้ออักเสบที่เกิดจากการสะสมของผลึกกรดยูริกตามข้อต่างๆ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวด บวม
โรคเก๊าท์ออร์โธปิดิกส์
โรคเกาต์นับเป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่ง มารู้สาเหตุของโรคนี้เพื่อหาวิธีป้องกันอย่างถูกวิธี