bih.button.backtotop.text

โรคลิ้นหัวใจตีบ

ในอดีตมักพบว่าโรคลิ้นหัวใจตีบเกิดจากโรครูมาติก ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอายุไม่มาก แต่ในปัจจุบันโรคนี้มักเกิดจากการเสื่อมสภาพของลิ้นหัวใจ ยิ่งผู้ป่วยมีอายุมากขึ้นเท่าไร อุบัติการณ์ของโรคลิ้นหัวใจตีบก็จะสูงขึ้นเท่านั้น

ลิ้นหัวใจเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของหัวใจ ในขณะที่หัวใจกำลังบีบตัวเมื่อเลือดไหลผ่านออกไป ลิ้นหัวใจจะปิดไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับมา จึงทำหน้าที่เสมือนประตูปิด/เปิดควบคุมให้เลือดในหัวใจไหลไปทิศทางเดียวสู่ปอดเพื่อฟอกออกซิเจน แล้วไหลกลับสู่ระบบหมุนเวียนโลหิตอีกครั้ง เมื่อมีปัญหาของลิ้นหัวใจรั่วเลือดจะไหลย้อนกลับมา แต่ถ้าลิ้นหัวใจตีบเลือดจะไหลผ่านลิ้นหัวใจได้ลำบาก

สาเหตุ/ปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้เกิดโรค
  • การติดเชื้อในวัยเด็ก (โรคหัวใจรูมาติก) หรือติดเชื้อแบคทีเรีย
  • ความเสื่อมของร่างกาย เนื่องจากลิ้นหัวใจเป็นอวัยวะที่เคลื่อนไหวและรับแรงดันจากเลือดตลอดเวลา ดังนั้นจึงเกิดการเสื่อมขึ้น อาจมีหินปูนเกาะที่ลิ้นหัวใจ ทำให้ลิ้นหัวใจหนาขึ้นและเปิดได้น้อยลง

ลิ้นหัวใจตีบสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนถึงระดับรุนแรง ผู้ป่วยที่มีลิ้นหัวใจตีบเล็กน้อยอาจไม่มีอาการ แต่เมื่อลิ้นหัวใจตีบมากขึ้นอาจมีอาการต่างๆ ดังนี้

  • มีอาการเหนื่อยแม้เป็นการทำกิจกรรมทั่วไปในชีวิตประจำวัน
  • เจ็บหน้าอก ใจสั่น ขาบวม
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • มีอาการวูบ เป็นลมหมดสติ
  • มีอาการแน่นหน้าอกเหมือนน้ำท่วมปอด นอนราบไม่ได้
  • การรักษาโดยใช้ยาตามอาการ
  • ​การซ่อมลิ้นหัวใจและการเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ซึ่งจะทำเมื่อมีความรุนแรงของโรคมากขึ้น
    • การเปลี่ยนลิ้นหัวใจโดยการผ่าตัด เป็นวิธีมาตรฐานในการรักษา โดยเป็นการผ่าตัดเปิดหน้าอกเพื่อตัดลิ้นหัวใจเก่าออกและเย็บลิ้นหัวใจเทียมเข้าไปแทนที
    • การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบผ่านสายสวน เป็นการเปลี่ยนลิ้นหัวใจโดยไม่ต้องผ่าตัด (transcatheter aortic valve implantation หรือ TAVI) เป็นการใส่ลิ้นหัวใจเทียมผ่านสายสวนเข้าไปทางหลอดเลือดแดงใหญ่บริเวณขาหนีบหรือเจาะผ่านผิวหนังส่วนยอดหัวใจ เมื่อสายสวนไปถึงตำแหน่งของลิ้นหัวใจเอออร์ติก แพทย์จะทำการปล่อยลิ้นหัวใจที่ม้วนพับอยู่ออกจากระบบนำส่ง (delivery system) เพื่อให้กางออกกลายเป็นลิ้นหัวใจใหม่แทนของเดิมที่เสื่อมสภาพ
  • งดสูบบุหรี่และงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ให้ออกกำลังอย่างพอดี ไม่มากหรือน้อยเกินไป และอย่าหักโหม
  • รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
  • เน้นรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารประเภทที่มีน้ำตาล ไขมัน และเกลือโซเดียมสูง
  • หมั่นตรวจสุขภาพหรือไปพบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามอาการ
  • เมื่อเกิดอาการแน่นหน้าอกหรือความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจให้รีบไปพบแพทย์ทันที

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์ลิ้นหัวใจ บำรุงราษฎร์

ดูเพิ่มเติม

สถาบันโรคหัวใจ (Heart Institute)

ดูเพิ่มเติม

Related Packages

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs