bih.button.backtotop.text

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)

การตรวจคัดกรองโรคหัวใจ ด้วยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ Electrocardiography (ECG or EKG) เป็นการตรวจเบื้องต้น แสดงอัตราการเต้นของหัวใจ จังหวะการเต้นของหัวใจ เพื่อตรวจหาความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้น หรือได้เกิดขึ้นไปแล้ว เป็นส่วนหนึ่งในการวินิจฉัยโรคต่าง ๆที่มีผลต่อหัวใจ สามารถตรวจหาความเสี่ยงต่อโรคที่มีผลกับการทำงานของหัวใจได้

หัตถการและความหมาย
โรคหัวใจ เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนไทย เนื่องจากมีปัจจัยเสริมที่ทำให้พฤติกรรมการดำรงชีพเสี่ยงกันมากขึ้น เช่น  อาหาร พันธุกรรม รวมถึงการละเลยการตรวจสุขภาพประจำปี

ประเภทของโรคหัวใจที่สำคัญ

  • โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของการทำงานของหลอดเลือดหัวใจ หรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ปัจจุบันเป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุด
  • โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นภาวะที่กระแสไฟฟ้าในหัวใจไม่สามารถผ่านทั่วหัวใจได้อย่างปกติทำให้หัวใจเต้นเร็ว หรือช้ากว่าปกติ บางราย ไม่มีอาการแต่เป็นอันตรายถึงชีวิต
  • โรคลิ้นหัวใจ เกิดจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจที่มี พยาธิสภาพผิดปกติ เป็นผลทำให้การทำงานเสื่อมสภาพลง 
เพื่อตรวจหาความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้น หรือได้เกิดขึ้นไปแล้ว เป็นส่วนหนึ่งในการวินิจฉัยโรคต่าง ๆที่มีผลต่อหัวใจ สามารถตรวจหาความเสี่ยงต่อโรคที่มีผลกับการทำงานของหัวใจได้

ข้อมูลที่ได้รับจากการตรวจ
  • อัตราการเต้นของหัวใจ
  • จังหวะการเต้นของหัวใจ
  • การนำกระแสไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ เช่น หัวใจเต้นก่อนจังหวะ (PAC/PVC),ภาวะสัญญาณไฟฟ้าถูกขัดขวาง (Heart Block) นำไปสู่การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pacemaker)
  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดในอดีต
  • เส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจตีบตัน
  • กล้ามเนื้อหัวใจหนา/โต ห้องหัวใจโต
  • โรคหัวใจที่ซ่อนเร้นทางพันธุกรรม เช่น โรคไหลตาย (Brugada Syndrome)
ผู้ป่วยไม่ต้องมีการเตรียมตัวพิเศษใดๆ
 
ขั้นตอนในการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
  • ผู้ตรวจนอนหงายบนเตียง ติดสติ๊กเกอร์ซึ่งเป็นจุดรับกระแสไฟฟ้า บริเวณหน้าอกจำนวน 6 จุด แขนและขารวมกัน 4 จุด โดยอุปกรณ์ทั้งหมดไม่มีผลข้างเคียงใดต่อร่างกาย รวมถึงความเจ็บปวดด้วย
  • ผู้ตรวจควรอยู่ในท่านอนนิ่งที่สุด จากนั้นผลลัพธ์จะปรากฏบนจอ และแพทย์จะทำการวิเคราะห์ผล ใช้เวลาประมาณ5-10นาที
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจสามารถแสดงอัตราการเต้นของหัวใจ จังหวะการเต้นของหัวใจ ขณะทำการตรวจเท่านั้นดังนั้นความผิดปกติที่เกิดขึ้นบางชนิดที่เป็นแค่บางช่วงเวลาการตรวจชนิดนี้อาจจะไม่สามารถตรวจพบได้
  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจตีบตันหรือความผิดปกติของหัวใจอื่นๆ อาจจะพบคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นปกติได้
  • เมื่อพบว่าคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติไม่ได้แปลว่าผู้ป่วยมีความผิดปกติของหัวใจจริง จนกว่าจะได้รับการตรวจทางหัวใจชนิดอื่นๆ เพิ่มเติมโดยชนิดการตรวจเพิ่มเติมที่แพทย์ส่งตรวจนั้นขึ้นกับความผิดปกติที่ตรวจพบได้จากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
แก้ไขล่าสุด: 30 กันยายน 2564

Doctors Related

Related Centers

สถาบันโรคหัวใจ (Heart Institute)

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 10.00 of 10, จากจำนวนคนโหวต 2 คน

Related Health Blogs