bih.button.backtotop.text

การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัด (TAVI)

การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัด (transcatheter aortic valve implantation หรือ TAVI) เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบอย่างรุนแรง (ลิ้นหัวใจเอออร์ติก คือ ลิ้นหัวใจที่กั้นระหว่างหัวใจห้องล่างซ้ายกับหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ตา) ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โดยแพทย์จะใช้การรักษาวิธีนี้เมื่อพิจารณาแล้วว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการผ่าตัดแบบเปิดช่องอก

ขั้นตอนการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัด

แพทย์จะทำการใส่ลิ้นหัวใจเทียมผ่านสายสวนเข้าไปทางหลอดเลือดแดงใหญ่บริเวณขาหนีบ หรือเจาะผ่านผิวหนังส่วนยอดหัวใจ เมื่อสายสวนไปถึงตำแหน่งของลิ้นหัวใจเอออร์ติก แพทย์จะใช้เครื่องมือพิเศษเพื่อใส่ลิ้นหัวใจเทียม โดยจะทำการขยายบอลลูนเพื่อไปดันลิ้นหัวใจเทียมให้กางออก กลายเป็นลิ้นหัวใจใหม่แทนของเดิมที่เสื่อมสภาพ โดยทั่วไปการรักษาวิธีนี้จะใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง

tavi การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัด

การรักษาด้วยวิธีการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัดช่วยลดภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อ เนื่องจากไม่ต้องผ่าตัดใหญ่เพื่อเปิดช่องอก ผู้ป่วยจึงฟื้นตัวได้เร็ว มีแผลเล็กๆ เฉพาะบริเวณที่เจาะสายสวนเท่านั้น ใช้เวลาในการพักฟื้นในโรงพยาบาลประมาณ 5-7 วัน ซึ่งต่างกับการผ่าตัดเปิดช่องอกที่ต้องใช้เวลาในการพักฟื้นนานกว่า (ประมาณ 7-10 วัน)
  • ผู้ป่วยที่มีภาวะโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบรุนแรง
  • ผู้ป่วยสูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงสูงจากการผ่าตัด ซึ่งแพทย์ผู้ให้การรักษาจะมีมาตรฐานในการประเมินปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว
  • เป็นผู้ป่วยที่คาดว่าจะมีชีวิตยืนยาวเกิน 1 ปีหรือไม่ได้อยู่ในภาวะของโรคมะเร็งระยะลุกลาม
  • ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคปอด มีภาวะหลอดเลือดแดงเอออร์ตาแข็ง หรือเคยผ่าตัดหัวใจมาก่อน

ทั้งนี้ แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย

ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้จากการใส่ลิ้นหัวใจเทียมด้วยเทคนิคการใช้สายสวน ได้แก่

  • มีเลือดออก หรือมีก้อนเลือดที่เกิดจากการมีเลือดออกและคั่งอยู่ใต้ผิวหนัง หรือติดเชื้อบริเวณที่ใส่สายสวน
  • หลอดเลือดได้รับความเสียหาย
  • ไตมีปัญหาจากการขับสารทึบรังสีออกจากร่างกาย
  • เกิดลิ่มเลือดอุดตัน ทำให้เส้นเลือดในสมองตีบ
  • ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย
  • ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • ปัญหาลิ้นหัวใจเทียมเลื่อนออกจากตำแหน่ง
  • เสียชีวิต
แก้ไขล่าสุด: 30 กันยายน 2564

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์ลิ้นหัวใจ บำรุงราษฎร์

ดูเพิ่มเติม

สถาบันโรคหัวใจ (Heart Institute)

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 9.87 of 10, จากจำนวนคนโหวต 104 คน

Related Health Blogs