bih.button.backtotop.text

เอสแอลอี

โรค Systemic Lupus Erythematosus (SLE) หรือลูปัส เป็นโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายซึ่งก่อให้เกิดการอักเสบและทำลายอวัยวะต่างๆ โดยเกิดขึ้นได้ทุกส่วนของร่างกาย เช่น ข้ออักเสบ ผิวหนังอักเสบ ผื่นแดงตามผิวหนัง การอักเสบของเนื้อเยื่อ การอักเสบของไต และเส้นประสาทอักเสบ เป็นต้น

สาเหตุ
สาเหตุของโรคนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่นักวิจัยเชื่อว่าเกิดจากสาเหตุหลายประการรวมกัน เช่น
  • พันธุกรรม
  • ปัจจัยทางสภาวะแวดล้อม เช่น แสงแดด (รังสีอัลตราไวโอเลต) ความเครียด
  • การติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อโรคอื่นๆ
  • การใช้ยาบางตัว เช่น methyldopa, procainamide, hydralazine, isoniazid, chlorpromazine เป็นต้น
อาการของโรคนี้จะแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละรายตั้งแต่ไม่รุนแรงจนกระทั่งรุนแรงมาก ในผู้ป่วยบางรายจะได้รับผลกระทบเพียงบางส่วนของร่างกาย เช่น ผิวหนัง แต่ในอีกหลายๆ รายอาจได้รับผลกระทบทุกส่วน ทั้งนี้แม้อาการของโรคนี้อาจเป็นอาการเรื้อรัง แต่การกำเริบอาจเกิดขึ้นเป็นบางช่วงเท่านั้น
อาการทั่วไป เช่น
  • ข้อบวม และ/หรือปวด
  • มีไข้
  • มีผื่นขึ้นบริเวณผิวหนังที่ได้รับแสงแดด โดยเฉพาะบริเวณจมูกและแก้ม
  • อ่อนแรงมาก
  • ผมร่วง
  • เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก มีอาการเจ็บที่ชายโครงเวลาหายใจเข้า
  • ไตอักเสบ ปัสสาวะมีเลือดปนหรือมีฟองมากผิดปกติ
  • ความดันโลหิตสูง
  • ภาวะเลือดจางหรือมีความผิดปกติของเม็ดเลือดขาวหรือเกล็ดเลือด
  • ไวต่อแสงแดด
  • แผลเปื่อยบริเวณจมูกหรือปาก
  • ต่อมน้ำเหลืองบวมโต
  • ปวดศีรษะ สับสน ลมชัก
  • กล้ามเนื้ออักเสบ มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • เยื่อบุรอบปอดอักเสบ หัวใจอักเสบ
  • ตาแห้ง ปากแห้งเรื้อรัง
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาใดที่ทำให้หายขาดได้ แต่การปฏิบัติตัวที่ดี การเลือกใช้ยาที่ถูกต้องทั้งชนิด ขนาด และช่วงเวลาที่เหมาะสม จะสามารถควบคุมอาการของโรคนี้ได้

การรักษาขึ้นกับความรุนแรงของโรค หากอาการไม่รุนแรงอาจใช้ยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการ แต่หากรุนแรงมากมีผลกระทบต่ออวัยวะสำคัญจำเป็นต้องใช้ยากดภูมิต้านทานเพื่อช่วยควบคุมโรคให้สงบ เนื่องจากเป็นโรคเรื้อรังจึงต้องได้รับการรักษาระยะยาวและต้องรับประทานยาสม่ำเสมอถึงแม้จะเป็นช่วงที่ไม่มีอาการก็ตาม
 
ยังไม่มีแนวทางการป้องกันโรคนี้เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ส่วนการป้องกันการกำเริบของอาการนั้นสามารถทำได้โดย
  • ตรวจร่างกายกับแพทย์เป็นประจำ รับประทานยาสม่ำเสมอ
  • เมื่อได้รับการติดเชื้อควรรักษาโดยด่วนและจริงจัง
  • หลีกเลี่ยงการถูกแสงแดด หรือสวมใส่เสื้อผ้าและอุปกรณ์ป้องกันแดดเมื่อต้องออกข้างนอกและใช้ครีมกันแดด (SPF มากกว่า 55)
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รวมถึงต้องงดอาหารดิบเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ
  • ควบคุมความเครียด
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกาย (เท่าที่สภาพร่างกายจะอำนวย) โดยได้รับอนุญาตจากแพทย์แล้ว
  • ปรึกษาแพทย์หากรู้สึกว่าอาการกำลังจะกำเริบ
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานยาคุมกำเนิดหรือการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน เพราะอาจกระตุ้นทำให้โรคกำเริบได้
แก้ไขล่าสุด: 17 มกราคม 2564

Related Treatments

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์ภูมิแพ้

ครอบคลุมทุกการแก้ปัญหาของภูมิแพ้เด็กและผู้ใหญ่

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์กุมารเวช

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs