เพราะมุ่งมั่นที่จะมอบการดูแลที่ดีที่สุดให้แก่ผู้ป่วย โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์จึงไม่เคยหยุด พัฒนาตัวเอง โดยมีเป้าหมายเพื่อดำรงและสร้างสรรค์ความเป็นเลิศในการให้บริการ ด้านการแพทย์ Better Health ขอแนะนำให้รู้จักกับแพทย์ที่มากด้วยทักษะและประสบการณ์ ซึ่งมาเสริมทีมแพทย์ของเราให้มีความแข็งแกร่ง พร้อมดูแลผู้ป่วยได้อย่างรอบด้านยิ่งขึ้น
นพ. สุริยะ จักกะพาก ศัลยแพทย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
นอกจากจะเป็นศัลยแพทย์ทั่วไปแล้ว นพ. สุริยะยังมีความเชี่ยวชาญด้านโรคระบบทางเดินอาหาร โดยเป็นหนึ่งในแพทย์ผู้ริเริ่มการศึกษาด้านประสาททางเดินอาหารและการเคลื่อนไหว และ เริ่มทำ Gastrointestinal Motility Lab เป็นคนแรก ๆ ของประเทศ
Q: เรื่องของกรดไหลย้อนมีความน่าสนใจอย่างไร
A: เมื่อประมาณ 20 กว่าปีที่แล้ว ในประเทศไทยยังไม่มีผู้ศึกษาด้านนี้อย่าง จริงจัง จากการที่ได้ไปศึกษาในสหรัฐอเมริกาก็พบว่าความผิดปกติของ หลอดอาหารมีหลายแง่มุมมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคกรดไหลย้อนและโรคหลอดอาหารทำงานผิดปกติ เมื่อผมกลับมาก็อยากขยายให้เรื่องนี้ได้รับ ความสนใจมากขึ้น จึงได้จัดตั้งแล็บเพื่อดูการทำงานของหลอดอาหาร กรดไหลย้อนและหูรูดทวารหนักเพื่อศึกษาและให้การรักษาผู้ป่วยให้มี ประสิทธิภาพดีขึ้น ในตอนนันมีความเชื่อกันว่าคนไทยไม่เป็นโรคกรดไหลย้อน จนกระทั่งมีการพูดถึงและให้ความรู้เกี่ยวกับโรคระบบทางเดินอาหารอย่าง จริงจัง และมีการตรวจวินิจฉัยเป็นการเฉพาะจึงพบว่าในประเทศไทยเรามี ผู้ป่วยโรคนี้จำนวนไม่น้อย
Q: แนวคิดหลักในการทำงาน
A: เราต้องให้การรักษาโดยคิดว่าผู้ป่วยทุกคนเปรียบเสมือนญาติของเรา ดังนั้น ต้องปฏิบัติกับทุกคนภายใต้มาตรฐานเดียวกัน เพราะเคยดูแลผู้ป่วยทั้งใน ฐานะที่เป็นข้าราชการและแพทย์โรงพยาบาลเอกชน จึงได้เจอผู้ป่วยหลากหลาย ทั้งจากชนบทห่างไกลและคนมีฐานะ ไม่ได้เน้นดูแลผู้ป่วยรายใดเป็นพิเศษแต่ ต้องรักษาทุกรายให้ดีที่สุดเท่าที่เราจะทำได้
นพ. วรกิจ เฉลิมสกุลรัตน์ อายุรแพทย์ด้านเวชบำบัดวิกฤติและโรคปอด
จบการศึกษาเฉพาะทางด้านอายุรศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ นครชิคาโก ก่อนจะศึกษา ต่อเฉพาะทางพิเศษด้านเวชบำบัดวิกฤติ โรคปอดและการปลูกถ่ายปอดและในภายหลังรับหน้าที่ เป็นอาจารย์แพทย์ที่มหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา สหรัฐอเมริกา นพ.วรกิจเลือกกลับมาร่วมงาน กับบำรุงราษฎร์ โดยดูแลผู้ป่วยด้านเวชบำบัดวิกฤติเป็นหลัก
Q: แพทย์เฉพาะทางด้านการดูแลผู้ป่วยเวชบำบัดวิกฤติ ควรมีคุณสมบัติอย่างไร
A: เวชบำบัดวิกฤติ หรือ ICU เป็นยูนิตเฉพาะที่ดูแลผู้ป่วยที่มีอาการหนัก เป็นพิเศษ มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตสูง แพทย์ต้องนำความรู้ที่มีทั้งหมดมา ใช้ทำงานแข่งกับเวลา ดังนั้น นอกจากแม่นยำ รวดเร็ว แล้วต้องตัดสินใจได้ ดีภายใต้สถานการณ์คับขันด้วย เนื่องจากเวชบำบัดวิกฤติรักษาผู้ป่วยหลาก หลายโรค แพทย์ ICU จึงต้องสามารถทำงานสอดประสานกับแพทย์จาก สาขาอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญที่สุดคือต้องมีจริยธรรมเพราะผู้ป่วย ICU ส่วนใหญ่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เราต้องทำทุกอย่างให้เต็มที่และ ดีที่สุด จะได้ไม่เสียใจภายหลัง
Q: เพราะเหตุใดถึงเลือกมาร่วมงานกับบำรุงราษฎร์
A: คิดว่าบำรุงราษฎร์เป็นโรงพยาบาลที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย ขณะนั้นโรงพยาบาลมีนโยบายที่จะบุกเบิกเพื่อเป็นผู้นำด้านเวชบำบัดวิกฤติ ซึ่งเป็นแขนงวิชาแพทย์ที่ใหม่มากสำหรับประเทศไทย และการที่มีแพทย์ที่ สำเร็จการศึกษาจากอเมริกาหลายท่านหลายสาขาทำงานที่นี่ รูปแบบการ ทำงานจึงคล้ายคลึงกับในต่างประเทศ ทำให้เป็นประโยชน์ต่อการดูแลรักษา คนไข้และส่งเสริมการทำงานนี้เป็นอย่างมากครับ
พญ. ลิลลี่ ชัยสมพงษ์ อายุรแพทย์ด้านเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ, อายุรศาสตร์ทั่วไป
อายุรแพทย์ท่านแรก ๆ ของบำรุงราษฎร์ที่ดูแลให้การรักษาผู้ป่วยสูงอายุอย่างเป็นทางการโดย ให้การรักษาและวินิจฉัยโรคแบบองค์รวมก่อนส่งต่อยังแพทย์เฉพาะทางเพื่อรับการรักษาที่ตรง จุดต่อไป ด้วยประสบการณ์ด้านเวชศาสตร์ผู้สูงอายุกว่า 10 ปี จาก Charing Cross and Westminster Medical School ในสหราชอาณาจักร
Q: เพราะเหตุใดถึงสนใจศึกษาด้านเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ
A: ความต้องการแรกคืออยากให้การดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม เมื่อไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษซึ่งสังคมที่นั่นเป็นสังคมผู้สูงอายุในระดับ หนึ่งจึงทำให้เราได้เห็นภาพรวมของการดูแลผู้ป่วยที่ครอบคลุมไปถึงการ ดูแลผู้สูงอายุ ยิ่งพบว่าเวชศาสตร์ผู้สูงอายุถือเป็นศาสตร์เฉพาะทางด้าน หนึ่งในประเทศอังกฤษ ก็เลยคิดว่าศาสตร์ด้านนี้เหมาะกับตัวเองมาก ที่สุดแล้ว
Q: จากการดูแลผู้ป่วย มีเรื่องใดที่รู้สึกลำบากใจ/ ท้าทายบ้าง
A: ในกรณีผู้สูงอายุมักจะพบว่าผู้ป่วยมีโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ หลายโรค ซึ่งเราไม่เพียงต้องทำให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงปัญหาเท่านั้น แต่ญาติก็ต้องเข้าใจ ด้วย เรามีการสื่อสารอย่างต่อเนื่องซึ่งมีหลายกรณีที่ญาติของผู้ป่วย มีความต้องการที่แตกต่างออกไป ความท้าทายอีกประการหนึ่งคือ ความ จริงที่ว่า ผู้ป่วยอยู่ในช่วงบั้นปลายของชีวิต การตัดสินใจแต่ละขั้นก็ยิ่ง ยากขึ้น รวมถึงอาการแทรกซ้อนจากโรคต่าง ๆ ของผู้ป่วยก็มีความ ละเอียดอ่อน เราก็ต้องให้สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยและญาติเสมอ ต้อง รับฟังความเห็นจากหลาย ๆ ฝ่ายในการดำเนินการรักษาให้ดีที่สุด
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
แก้ไขล่าสุด: 31 มีนาคม 2565