เอ็นร้อยหวายอักเสบเกิดจากการใช้งานซ้ำๆจากการออกกำลังกายหรือการเดินที่มากเกินไป ทำให้เกิดแรงดึงซ้ำๆ บริเวณเอ็นหรือที่เกาะของเอ็นที่กระดูกหลังส้นเท้าจนเกินขีดจำกัดของเอ็นร้อยหวาย ก่อให้เกิดการอักเสบขึ้น
สาเหตุ
- การวิ่งออกกำลังหรือเดินเร็วในการทำงานประจำวันที่นานเกินไป หรือเพิ่มความเร็วมากๆเป็นเวลานานๆ โดยไม่เพิ่มอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อให้คุณภาพของเอ็นของร่างกายค่อยๆได้รับการปรับตัวในการทนต่อการใช้งาน
- การไม่ได้ทำการยืดเหยียดอย่างเพียงพอ ( warm up and down )
- การเล่นกีฬาที่ต้องมีการหยุดกระทันหัน ( jump stop ) หรือต้องเปลี่ยนทิศทางอย่างรวดเร็วเช่น แบดหรือเทนนิส
- การกระโดดจากที่สูงซ้ำๆ
- การใส่รองเท้าส้นสูงและเดินเป็นเวลานานๆ หรือรองเท้าเก่าชำรุดที่มีการสึกเสื่อมของพื้นรองเท้ามาก
- ความเสื่อมสภาพของเนื้อเอ็นเนื่องจากวัยและการใช้งานหนักมาจากการทำงาน เป็นเวลานาน
ปัจจัยเสี่ยง
- อายุที่มากขึ้น เพศชายพบบ่อยกว่า
- ภาวะโรคประจำตัวเช่น เก๊าท์หรือเรื้อนกวาง ความดันโลหิตสูง
- การมีภาวะเท้าแบนหรือเท้าผิดรูป หรือมีภาวะเอ็นร้อยหวายสั้นกระดกข้อเท้าได้น้อย ความอ้วน
- ยาบางกลุ่มเช่น ฟลูออโรควิโนโลน การทานยาเสตียรอยด์นานๆ
- เทคนิคการวิ่งที่ไม่เหมาะสม การวิ่งขึ้นลงเขา หรือสภาวะอากาศหนาวเย็นกว่าปกติ
อาการ
ปวดบวมบริเวณเอ็นหลังน้นเท้าอาจค่อยๆเป็นน้อยๆหรืออาจปวดบวมแดงเฉียบพลันจนเดินไม่ไหว มักปวดมากเวลาเริ่มเดินและดีขึ้นเมื่อเดินไปได้สักพัก เมื่อเป็นนานจนเรื้อรังอาจทำให้เอ็นร้อยหวายฉีกได้ เมื่อมีการลงน้ำหนักส้นเท้าผิดจังหวะ
การรักษา
- ประคบเย็นเมื่อปวดบวมแดงร้อนเฉียบพลัน หยุดเดินพักการใช้ พันผ้าหรือสนับข้อเท้า การยกขาสูง จนดีขึ้น
- การเดินที่ไม่ลงน้ำหนักยันปลายเท้าเพื่อไม่ให้เกิดแรงดึงต่อเอ็นร้อยหวาย
- พักการเดินยืนให้น้อยที่สุดจนกว่าตื่นนอนตอนเริ่มลุกเดินหายปวด
- การทานยา การรักษาด้วยคลื่นกระแทก( shockwave therapy )
- การผ่าตัดเมื่อมีความเจ็บปวดเรื้อรังแย่ลงจนรบกวนการใช้งานและมีกการตรวจพบมีความเสื่อมเรื้อรังฉีกขาดภายใน ดังนั้นจึงควรรับการตรวจรักษาแต่แรกและหายโดยเร็วและหลีกเลี่ยงไม่ให้กลับเป็นซ้ำบ่อยๆจนเรื้อรัง
เรียบเรียงโดย นพ.วิทูร บุญถนอมวงศ์ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ, การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ: