ท้องอืด เป็นอาการที่พบได้บ่อย อาจทำให้รู้สึกแน่น จุกเสียด ปวดท้อง อิ่มเร็ว ท้องแข็ง รวมถึงมีอาการเรอ ผายลมและท้องร้องโครกครากหลังรับประทานอาหาร บางรายอาจมีท้องผูกหรือท้องเสียร่วมด้วย อาการนี้ส่วนใหญ่มักเป็นผลจากมีแก๊สหรือลมอยู่ในทางเดินอาหารเป็นจำนวนมาก สาเหตุอาจเกิดจากอาหารดูดซึมได้ไม่หมดหรือทางเดินอาหารบีบตัวผิดปกติ ในบางกรณีผู้ป่วยอาจไม่มีแก๊สหรือลมอยู่ในทางเดินอาหารมากเกินปกติแต่เกิดจากระบบประสาทที่ไวเกิน ทำให้รู้สึกแน่นท้องได้ง่ายมากกว่าคนทั่วไป
สาเหตุของท้องอืดมีอะไรบ้าง
อาการท้องอืดเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ มักมีเหตุกระตุ้นจากอาหารที่รับประทาน ความเครียด การใช้ชีวิตและอาจเป็นอาการหนึ่งของโรคต่าง ๆ ดังนี้
เมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์
บ่อยครั้งที่อาการท้องอืดเกิดจากการบริโภคอาหาร เช่น รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง อาหารที่ทำให้เกิดแก๊สมาก อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง ความเครียด แต่ควรรีบไปพบแพทย์เมื่อใดก็ตามที่มีอาการผิดปกติดังนี้
- อาเจียนบ่อยหรืออาเจียนเป็นเลือด
- ตัวเหลือง ตาเหลือง
- ปวดท้องรุนแรง
- ถ่ายเหลวเรื้อรัง ถ่ายเป็นเลือด
- น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
- ประจำเดือนผิดปกติ
จะรักษาและป้องกันท้องอืดได้อย่างไร
การป้องกันและรักษาอาการท้องอืดขึ้นอยู่กับสาเหตุ ทั้งนี้หากไม่ได้มีสาเหตุจากโรคที่รุนแรง ส่วนใหญ่มักเกิดจากมีแก๊สหรือลมอยู่ในทางเดินอาหาร ซึ่งสามารถป้องกันอาการท้องอืดได้ด้วยตัวเอง ดังนี้
- หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มรสหวานจัด โซดา น้ำอัดลม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์จากนมกรณีที่สังเกตได้ว่ามีอาการมากขึ้นหลังบริโภค และรับประทานอาหารผัก ผลไม้ ในปริมาณที่พอเหมาะ
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ไม่รับประทานอาหารครั้งละมาก ๆ หรือเร็วจนเกินไป หลีกเลี่ยงการนั่งเฉยๆ หรือนอนทันทีหลังรับประทานอาหารเสร็จ
- รับประทานอาหารสุก สะอาด ไม่มีไขมันสูงเกินไป
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวัน
- ออกกำลังกาย เพื่อช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหารและขับถ่าย
- จัดการกับความเครียด เช่น ทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย เช่น โยคะ ฝึกหายใจ ทำสมาธิ
- ไม่สูบบุหรี่ การสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคกระเพาะอาหาร
หากคุณมีปัญหาท้องอืดเรื้อรังหรือมีอาการอื่นๆที่ผิดปกติร่วมด้วย
ศูนย์เฉพาะทางด้านการทำงานระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ยินดีให้คำปรึกษา วินิจฉัยและรักษาโดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญเฉพาะทางที่มีประสบการณ์ในการรักษาโรคของระบบทางเดินอาหารอย่างครอบคลุม
ที่มา ผศ.พญ. ฐนิสา พัชรตระกูล
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
แก้ไขล่าสุด: 30 พฤศจิกายน 2567