bih.button.backtotop.text

ตรวจสุขภาพทวารหนัก ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

ตรวจสุขภาพทวารหนัก ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด
ทวารหนัก อวัยวะในจุดซ่อนเร้นที่มีความสำคัญไม่แพ้อวัยวะอื่นแต่หลายคนละเลยมองข้ามไปจนกระทั่งเกิดโรคภัยไข้เจ็บในบริเวณนั้นขึ้นมา ทำให้ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาโรคที่หากตรวจคัดกรองและพบตั้งแต่ระยะก่อนเกิดโรคก็อาจป้องกันไม่ให้โรคลุกลามมากขึ้นได้

ใครบ้างที่ควรตรวจคัดกรองโรคทางทวารหนัก
ผู้ที่มีความเสี่ยงในการโรคมะเร็งทวารหนัก ได้แก่

  • มีประวัติมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก
  • มีประวัติเป็นหูดที่ทวารหนัก (Anal wart)
  • ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) หรือเอชพีวี (HPV)
  • ผู้ที่มีประวัติมะเร็งปากมดลูกหรือมะเร็งช่องคลอด
  • ผู้ที่มีประวัติปลูกถ่ายอวัยวะเนื่องจากได้รับยากดภูมิต้านทาน
  • บุคคลทั่วไปที่ไม่มีประวัติความเสี่ยง แต่ต้องการทราบว่ามีโรคทางทวารหนักหรือไม่

สัญญาณอันตรายที่บอกว่าควรมาพบแพทย์มีอะไรบ้าง
เมื่อมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับทวารหนัก เช่น ถ่ายเป็นเลือด คลำเจอก้อนหรือมีอาการเจ็บบริเวณทวารหนัก ไม่ควรนิ่งนอนใจและคิดว่าเป็นริดสีดวง เพราะอาการจะคล้ายกันกับโรคร้ายแรง เช่น มะเร็ง ควรมาพบแพทย์เพื่อได้รับการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้อง

การตรวจคัดกรองโรคทางทวารหนักทำได้อย่างไร
การตรวจคัดกรองโรคทางทวารหนักทำได้โดยการตรวจดังนี้

  • Anal pap smear ซึ่งคล้ายคลึงกับการตรวจ pap smear เพื่อคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในเพศหญิงเพื่อคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพียงแต่การตรวจ Anal pap smear เป็นการตรวจเพื่อเก็บเซลล์ที่อยู่บริเวณทวารหนักเพื่อตรวจหาเซลล์ที่ผิดปกติที่อาจกลายเป็นมะเร็งปากทวารหนัก การตรวจใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีและสามารถทราบผลการตรวจภายในเวลา 2-3 วัน ในผู้ที่มีความเสี่ยง หากตรวจไม่พบความผิดปกติ ควรตรวจซ้ำทุกปี
  • High Resolution Anoscopy หากแพทย์ตรวจทวารหนักด้วย anal pap smear และสงสัยว่ามีความผิดปกติ แพทย์จะทำการตรวจทวารหนักเพิ่มเติมด้วยกล้องตรวจทวารหนักที่มีกำลังขยาย โดยการใส่อุปกรณ์เข้าไปดูในทวารหนักและใช้กล้องที่มีกำลังซูมขยายเพื่อดูตำแหน่งที่ปากทวารหนักว่ามีความผิดปกติที่บริเวณใด หากพบความผิดปกติ แพทย์จะนำตัวอย่างชิ้นเนื้อไปตรวจ การตรวจใช้เวลาประมาณ 15 นาที หากมีการตรวจชิ้นเนื้อ จะทราบผลการตรวจภายในเวลา 5 วัน

การตรวจคัดกรองโรคทางทวารหนักทั้งสองประเภทนี้ ไม่ทำให้รู้สึกเจ็บปวดแต่อย่างใด โดยการตรวจ High Resolution Anoscopy แพทย์จะให้ยาชาเฉพาะที่ก่อนการตรวจ โดยระหว่างการตรวจ ผู้ป่วยอาจรู้สึกอึดอัดเพียงเล็กน้อย

High Resolution Anoscopy สามารถตรวจโรคใดได้บ้าง
สามารถวินิจฉัยโรคทางทวารหนักได้หลายชนิด ได้แก่

เตรียมตัวก่อนการตรวจ High Resolution Anoscopy อย่างไร
ไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวเป็นพิเศษ ควรปรึกษาแพทย์หากรับประทานยาหรืออาหารเสริมที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดออก เช่น แอสไพริน วิตามินอี และสมุนไพรบางชนิด ก่อนการตรวจ 24 ชั่วโมงให้หลีกเลี่ยงการสวนล้างทวารหนัก การใช้ครีมในรูทวารหนักและการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก

ควรปฏิบัติตัวอย่างไรหลังการตรวจ High Resolution Anoscopy
หากมีการตรวจชิ้นเนื้อร่วมด้วย อาจมีเลือดออกหลังการตรวจประมาณ 1-2 วัน ควรปฏิบัติภายหลังการตรวจ 3 วันดังนี้
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนักๆ
  • ไม่นั่งหรือยืนนานๆ
  • ใส่เสื้อผ้าที่หลวมไม่รัดรึง
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อป้องกันท้องผูก
  • อาบน้ำได้แต่ไม่ควรว่ายน้ำหรือแช่น้ำ
  • ไม่สูบบุหรี่

ที่มา นพ. ณวรา ดุสิตานนท์ ศัลยแพทย์ชำนาญการด้านลำไส้ใหญ่และทวารหนัก


 
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs