bih.button.backtotop.text

มะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งในเพศหญิงที่พบได้บ่อยที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม (สถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ปี พ.ศ.2553) และมีผู้หญิงไทยเสียชีวิตจากโรคนี้เฉลี่ย 14 ราย/วัน

สิ่งสำคัญที่ควรทราบเกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก
  • สตรีที่แต่งงานหรือมีเพศสัมพันธ์แล้วมีโอกาสติดเชื้อไวรัสนี้ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต แต่การติดเชื้อส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 90 จะหายไปได้เอง ภายใน 1-2 ปีโดยไม่ก่ออาการหรือโรค
  • การใช้ถุงยางอนามัยช่วยป้องกันการติดเชื้อได้แต่ไม่ทั้งหมด
  • การมีคู่นอนเพียงคนเดียวก็มีโอกาสติดเชื้อได้ ดังนั้นการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำจึงเป็นสิ่งสำคัญ แม้ว่าจะมีคู่นอนเพียงคนเดียว
  • เชื้อ Human Papillomavirus หรือที่เรารู้จักกันดีว่า เชื้อ HPV เป็นต้นเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งปากมดลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายพันธุ์ชนิดก่อมะเร็ง
  • ปัจจุบันพบว่าเชื้อ HPV สายพันธุ์ 16 และสายพันธุ์ 18 เป็น 2 สายพันธุ์ที่พบได้บ่อยในมะเร็งปากมดลูก ซึ่งเชื้อ HPV สายพันธุ์ 16 พบมากเป็นอันดับ 1 โดยพบได้ประมาณร้อยละ 50-55 และเชื้อ HPV สายพันธุ์ 18 พบได้มากเป็นอันดับ 2 ประมาณร้อยละ 15-20
  • ข้อมูลทางการแพทย์ยังพบว่า เชื้อ HPV สายพันธุ์ 18 พบได้บ่อยที่สุดในมะเร็งปากมดลูกชนิดเซลล์ต่อม ซึ่งมีแนวโน้มที่จะพบมากขึ้น
  • มะเร็งชนิดเซลล์ต่อมเป็นมะเร็งที่มีโอกาสวินิจฉัยผิดพลาดได้สูงด้วยการตรวจแปปสเมียร์เพียงอย่างเดียว
  • ปัจจุบันสมาคมแพทย์ ASCCP (American Society of Colposcopy and Cervical Pathology) ในสหรัฐอเมริการับรองการใช้การตรวจหาเชื้อ HPV ร่วมกับแปปสเมียร์ เพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป ซึ่งจะช่วยเพิ่มความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น
  • การตรวจหาเชื้อ HPV ร่วมกับการตรวจแปปสเมียร์ในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมีความสำคัญในทางคลินิกมากขึ้น เนื่องจากมีข้อมูลงานวิจัยพบว่า การตรวจควบคู่กันจะเพิ่มความแม่นยำในการตรวจหาต้นเหตุของมะเร็งปากมดลูกได้ดีขึ้น
  • เพิ่มความมั่นใจมากขึ้นเกือบ 100% ถ้าตรวจไม่พบเชื้อ HPV สายพันธุ์ก่อมะเร็ง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายพันธุ์ 16 และสายพันธุ์ 18) และผลแปปสเมียร์ปกติด้วย โอกาสที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูกมีน้อยมากและมั่นใจได้ว่าสามารถเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกใหม่ได้ในอีก 3 ปี
  • เป็นข้อมูลให้กับแพทย์ในการประเมินความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้แม่นยำขึ้น เนื่องจากผลการตรวจระบุสายพันธุ์ของเชื้อ HPV ที่พบจะช่วยให้แพทย์วางแผนการรักษาและตรวจติดตามผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การเก็บสิ่งส่งตรวจเพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก แพทย์จะใช้วัสดุหรือแปรงขนอ่อนเก็บเซลล์จากปากมดลูกไปใส่ในขวดน้ำยารักษาสภาพเซลล์ แล้วนำส่งตรวจได้ทั้งการหาเชื้อ HPV และตรวจดูเซลล์ของปากมดลูก (แปปสเมียร์) ในขั้นตอนเดียว
ในกรณีที่ตรวจพบความผิดปกติ ผู้หญิงจะได้รับการวินิจฉัยโดยการส่องกล้องตรวจปากมดลูก (colposcopy) ซึ่งให้ภาพขยายของปากมดลูก 10-20 เท่า แพทย์จึงเห็นการเปลี่ยนแปลงของผิวปากมดลูกได้อย่างชัดเจน เช่น มีสีขาวขึ้นเป็นฝ้า หรือมีลักษณะของหลอดเลือดเปลี่ยนไป จากนั้นแพทย์จะเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อส่วนที่ผิดปกติส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจว่าความผิดปกติดังกล่าวอยู่ในระยะก่อนมะเร็งหรือเป็นมะเร็งแล้ว เพื่อวางแผนการรักษาต่อไป
  • ฉีดวัคซีน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับต่อต้านเชื้อ HPV โดยเฉพาะสายพันธุ์ 16 และสายพันธุ์ 18 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูงทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งได้มากถึงร้อยละ 70 และยังช่วยป้องกันเชื้อไวรัส HPV อีกสองสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคหูดที่อวัยวะเพศได้ถึงร้อยละ 90 โดยแพทย์แนะนำให้ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 9 - 26 ปี ฉีดวัคซีนก่อนมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก หรือฉีดในรายที่มีเพศสัมพันธ์แล้วแต่ยังไม่ติดเชื้อ HPV เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุด
  • การตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear หรือ Pap Test) โดยแพทย์จะเก็บเซลล์จากปากมดลูกแล้วนำส่งตรวจเพื่อหาเซลล์ผิดปกติที่อาจพัฒนาไปเป็นมะเร็งได้ อย่างไรก็ตาม การตรวจแปปสเมียร์อาจมีโอกาสพลาดถึงร้อยละ 40 ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงหลายคนพบว่าตัวเองเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกแม้จะตรวจแปปสเมียร์ทุกปี
  • ตรวจหาเชื้อไวรัส HPV เป็นการตรวจทางชีวโมเลกุลเพื่อหาเชื้อไวรัส HPV โดยตรง ซึ่งเป็นการตรวจที่มีความแม่นยำอย่างมากคือมีโอกาสพลาดเพียงร้อยละ 5-10 และส่วนใหญ่จะทำร่วมกับการตรวจ ThinPrep โดยแพทย์จะเก็บตัวอย่างเซลล์เพื่อส่งตรวจในคราวเดียว หากตรวจแล้วไม่พบความผิดปกติก็แสดงว่าโอกาสที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูกมีน้อยมาก และสามารถรอได้ถึง 3 ปี กว่าจะเข้ารับการตรวจคัดกรองอีกครั้ง
  • ระยะก่อนมะเร็ง เป็นการรักษาเฉพาะที่ เช่น จี้ทำลายเซลล์ที่ผิดปกติด้วยความเย็นหรือความร้อน การตัดปากมดลูกด้วยห่วงลวดไฟฟ้า ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เวลาครู่เดียวและเป็นหัตถกรรมสำหรับผู้ป่วยนอก
  • ระยะมะเร็งแล้ว (ระยะที่ 1 และ 2 ขั้นต้น) ผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดมะเร็งปากมดลูกนั้นต่างจากการผ่าตัดมดลูกทั่วไปนั่นคือเป็นการผ่าตัดแบบ "ถอนรากถอนโคน" หรือการผ่าตัดเอาปากมดลูก เนื้อเยื่อรอบๆ ปากมดลูก มดลูก ช่องคลอดส่วนต้นและต่อมน้ำเหลืองในบริเวณนั้นออกทั้งหมดเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีเซลล์มะเร็งหลงเหลืออยู่ การผ่าตัดนี้ทำได้ทั้งแบบเปิดหน้าท้องและผ่าตัดผ่านกล้องซึ่งต้องทำโดยแพทย์เฉพาะทางที่มีความชำนาญเท่านั้น
  • ระยะ 3 และ 4 เป็นระยะที่มะเร็งลุกลามออกนอกปากมดลูกแล้ว ดังนั้น การรักษาประกอบด้วยเคมีบำบัดร่วมกับรังสีรักษาในเวลาเดียวกัน เพื่อควบคุมไม่ให้มะเร็งลุกลามไปยังอวัยวะใกล้เคียงและเนื้อเยื่อชั้นในรอบๆ มดลูก และหากมะเร็งแพร่ลามไปที่ต่อมน้ำเหลืองและกระดูกเชิงกราน จะส่งผลให้ไต กระเพาะปัสสาวะผิดปกติ ยิ่งถ้ามีการแพร่กระจายไปอวัยวะที่ไกลออกไป เช่น ตับหรือปอด อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในที่สุด
แก้ไขล่าสุด: 24 มีนาคม 2565

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์มะเร็งฮอไรซัน

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์สูติ-นรีเวช

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 9.88 of 10, จากจำนวนคนโหวต 134 คน

Related Health Blogs