bih.button.backtotop.text

วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอ

โรคโควิด-19 เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากไวรัสซาร์สโควี-2 (SARS-CoV-2) ซึ่งติดต่อจากการสัมผัสกับละอองฝอยของน้ำลาย เสมหะ น้ำมูกของผู้ติดเชื้อ ระยะเวลาตั้งแต่ได้รับเชื้อจนถึงเริ่มมีอาการป่วยประมาณ 2-14 วัน อาการของโรคมีได้ตั้งแต่ไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ มีน้ำมูก เจ็บคอ ไอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส และอาจรุนแรงจนปอดอักเสบและอาจเสียชีวิตได้
 

วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19

วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 มีหลากหลายชนิดขึ้นกับเทคโนโลยีในการผลิตวัคซีน วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่เป็นชนิด
เอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA) ผลิตโดยการใช้สารพันธุกรรมสังเคราะห์ที่จำลองมาจากสารพันธุกรรมของไวรัส เมื่อฉีดกระตุ้นเข้าไปในร่างกายจะไปกำกับให้เซลล์ผลิตสารโปรตีนสไปค์ เพื่อกระตุ้นทำให้เซลล์ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสร้างภูมิต่อต้านเชื้อซาร์สโควี-2 โดยไม่เป็นอันตรายต่อเซลล์ร่างกายมนุษย์ ปัจจุบันในประเทศไทยมี 2 ชนิดคือ
  • วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19: โคเมอร์เนตี COMIRNATYTM (Pfizer-BioNTech)
  • วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19: SPIKEVAXTM (Moderna)
 

ข้อมูลประสิทธิภาพของวัคซีนเป็นอย่างไร

 

วัคซีน

ข้อมูลผลการศึกษาด้านประสิทธิภาพของวัคซีนในการป้องกันโรคโควิด-19

COMIRNATYTM (Pfizer-BioNTech)

·        ประสิทธิภาพโดยรวมในการป้องกันการติดเชื้อได้ร้อยละ 93 ถึง 95

·        ป้องกันโรคที่มีอาการรุนแรงร้อยละ 95 ถึง 100

SPIKEVAXTM (Moderna)

·        ประสิทธิภาพโดยรวมในการป้องกันการติดเชื้อได้ร้อยละ 82 ถึง 94



** ประสิทธิภาพของวัคซีนอาจมีความแตกต่างกันในแต่ละประเทศและช่วงการระบาดที่ทำการศึกษา**
 

ใครควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19

บุคคลทั่วไป โดยเฉพาะบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีความเสี่ยงต่อการสัมผัสโรค และผู้ที่มีโอกาสเป็นโรครุนแรง ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภาวะอ้วน โรคปอด โรคหัวใจ เบาหวาน ภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง เป็นต้น
 
วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA มีข้อบ่งใช้ในกลุ่มบุคคลที่แตกต่างกันดังนี้

 

กลุ่มอายุ

ชนิดของวัคซีน

เด็กที่มีอายุ 6 เดือน ถึง 4 ปี

COMIRNATYTM (Pfizer-BioNTech) ขนาด 3 ไมโครกรัม/โดส

เด็กที่มีอายุ 5 ถึง 11 ปี

 

สำหรับ SPIKEVAXTM (Moderna)

แนะนำในเด็กที่มีอายุ 6 ถึง 11 ปี

COMIRNATYTM (Pfizer-BioNTech) ขนาด 10 ไมโครกรัม/โดส

 

SPIKEVAXTM (Moderna) ขนาด 50 ไมโครกรัม/โดส

บุคคลที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไป

COMIRNATYTM (Pfizer-BioNTech) ขนาด 30 ไมโครกรัม/โดส

SPIKEVAXTM (Moderna) ขนาด 100 ไมโครกรัม/โดส



หญิงให้นมบุตร หญิงตั้งครรภ์ยังไม่มีข้อมูลการศึกษาที่แน่ชัดในกลุ่มนี้ แต่อย่างไรก็ตาม หญิงให้นมบุตรและหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 12 สัปดาห์ สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนได้ และควรได้รับคำปรึกษาถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนโดยละเอียดก่อนการตัดสินใจ  

 

วัคซีนมีวิธีการฉีดอย่างไร

ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ตามกำหนดการฉีดดังตาราง
 

วัคซีน

ขนาดวัคซีนและวิธีการใช้วัคซีนสำหรับวัคซีนชุดแรก

ขนาดต่อครั้ง

จำนวนเข็มที่แนะนำ

ระยะห่างระหว่างเข็ม 1 กับ เข็ม 2

ระยะห่างระหว่างเข็ม 2 กับ เข็ม 3

COMIRNATYTM (Pfizer-BioNTech)

 

 

 

 

ขนาด 3 ไมโครกรัม/โดส

0.2 มิลลิลิตร

3 เข็ม

3-8 สัปดาห์

8 สัปดาห์

ขนาด 10 ไมโครกรัม/โดส

0.2 มิลลิลิตร

2 เข็ม

3-12 สัปดาห์

*

ขนาด 30 ไมโครกรัม/โดส

0.3 มิลลิลิตร

2 เข็ม

3 สัปดาห์

*

SPIKEVAXTM (Moderna)

     

 

ขนาด 50 ไมโครกรัม/โดส

0.25 มิลลิลิตร

2 เข็ม

4-12 สัปดาห์

*

ขนาด 100 ไมโครกรัม/โดส

0.5 มิลลิลิตร

2 เข็ม

4 สัปดาห์

*



*ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องอย่างรุนแรงอาจพิจารณาฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 (เป็นส่วนหนึ่งของวัคซีนชุดแรก) หลังจากได้รับเข็มที่ 2 ไปแล้วอย่างน้อย 28 วัน
สำหรับวัคซีนเข็มกระตุ้นอาจพิจารณาให้ตามคำแนะนำ ขึ้นกับชนิดของวัคซีนในแต่ละกลุ่มอายุ โดยมีระยะห่างตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป
 

ควรทำอย่างไรหากไม่สามารถมาฉีดวัคซีนตามกำหนดนัด

กรณีที่ไม่สามารถมารับวัคซีนได้ตามกำหนดนัด ให้ปรึกษาแพทย์ เภสัชกร หรือพยาบาลในการมารับวัคซีนที่ไม่ตรงตามนัด
 
 

ผู้ที่ไม่ควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19

  • ผู้ที่มีปฏิกิริยาการแพ้อย่างรุนแรงต่อวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 หรือส่วนประกอบอื่นๆ ของวัคซีน
  • ผู้ที่มีไข้หรือเจ็บป่วยควรเลื่อนการรับวัคซีนไปก่อน กรณีเป็นหวัดเล็กน้อยไม่มีไข้สามารถรับวัคซีนได้
 

ผู้ที่ควรระมัดระวังเป็นพิเศษในการรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19

  • ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกัน เช่น ยากลุ่ม
    สเตียรอยด์ขนาดสูงหรือยาเคมีบำบัด เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลในผู้ป่วยกลุ่มนี้และอาจตอบสนองไม่ดีต่อวัคซีน จึงต้องประเมินเปรียบเทียบประโยชน์และความเสี่ยงที่อาจเกิดการติดเชื้อ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนฉีด
  • ผู้ที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ผู้ที่มีภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ ผู้ที่รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการฉีดวัคซีนเนื่องจากเป็นการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ อาจมีเลือดออกหรือจ้ำเลือดเกิดขึ้นหลังฉีดได้
 

อาการไม่พึงประสงค์จากการรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 มีอะไรบ้าง

โดยทั่วไปอาจมีอาการปวด บวม คัน แดงบริเวณที่ฉีด อาการอื่นๆ ที่อาจพบได้ เช่น อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดหัว หรือมีไข้ ส่วนมากอาการไม่รุนแรงและหายไปได้เองใน 1-3 วัน ทั้งนี้ยังไม่มีข้อมูลอาการไม่พึงประสงค์ในระยะยาวเนื่องจากเป็นวัคซีนใหม่


ข้อมูลเพิ่มเติมด้านอาการไม่พึงประสงค์เฉพาะวัคซีน
 
  • COMIRNATYTM (Pfizer-BioNTech) พบอาการไม่พึงประสงค์แบ่งตามความถี่ที่พบดังตาราง
 

ความถี่

อาการไม่พึงประสงค์ที่พบ

พบบ่อยมาก (≥1/10)

มากกว่า 1 ใน 10 ราย

บริเวณที่ฉีดยา: ปวด บวม

ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ท้องเสีย อ่อนล้า หนาวสั่น มีไข้ หงุดหงิดง่าย (พบในเด็กอายุ 6-23 เดือน)

พบบ่อย (≥1/100, <1/10)

มากกว่า 1 ใน 100 ถึงน้อยกว่า 1 ใน 10 ราย

บริเวณที่ฉีดยา: แดง

คลื่นไส้ อาเจียน

พบไม่บ่อย (≥1/1,000, <1/100)

มากกว่า 1 ใน 1,000 ถึงน้อยกว่า 1 ใน 100 ราย

บริเวณที่ฉีดยา: คัน ความรู้สึกไม่สบาย

ต่อมน้ำเหลืองโต  

ปฏิกิริยาภูมิไวเกิน (ผื่น คัน ลมพิษ)

พบได้น้อย (≥1/10,000, <1/1,000)

มากกว่า 1 ใน 10,000 ถึงน้อยกว่า 1 ใน 1,000 ราย

อัมพาตเฉียบพลันที่ใบหน้า

ไม่ทราบความถี่

อาการแพ้แบบ Anaphylaxis

กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ**

 
  • SPIKEVAXTM (Moderna) พบอาการไม่พึงประสงค์แบ่งตามความถี่ที่พบดังตาราง
 

ความถี่

อาการไม่พึงประสงค์ที่พบ

พบบ่อยมาก (≥1/10)

มากกว่า 1 ใน 10 ราย

บริเวณที่ฉีดยา: ปวด บวม เจ็บ

ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ต่อมน้ำเหลืองโต คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย หนาวสั่น มีไข้ 

พบบ่อย (≥1/100, <1/10)

มากกว่า 1 ใน 100 ถึงน้อยกว่า 1 ใน 10 ราย

บริเวณที่ฉีดยา: ผื่นแดง ผื่นลมพิษ

พบไม่บ่อย (≥1/1,000, <1/100)

มากกว่า 1 ใน 1,000 ถึงน้อยกว่า 1 ใน 100 ราย

บริเวณที่ฉีดยา: คัน

 

พบได้น้อย (≥1/10,000, <1/1,000)

มากกว่า 1 ใน 10,000 ถึงน้อยกว่า 1 ใน 1,000 ราย

มีอาการอัมพาตของกล้ามเนื้อส่วนปลายบริเวณใบหน้าแบบเฉียบพลัน

อาการหน้าบวม

ไม่ทราบความถี่

อาการแพ้ชนิดรุนแรง ภาวะภูมิไวเกิน Anaphylaxis

กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ**



**ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ พบรายงานการเกิดน้อยมาก มักพบภายใน 14 วันหลังจากได้รับวัคซีน รายงานส่วนใหญ่พบในเพศชายวัยหนุ่ม โดยเกิดภายหลังการฉีดวัคซีนครั้งที่ 2 ซึ่งการดำเนินไปของโรคของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบจากการฉีดวัคซีนนั้นไม่แตกต่างจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบโดยทั่วไป

ผู้ที่รับการฉีดวัคซีน (รวมถึงผู้ปกครองหรือผู้ดูแล) ควรสังเกตอาการเพื่อสามารถแจ้งแพทย์ได้ทันท่วงที หากมี อาการที่อาจบ่งชี้ถึงภาวะนี้ เช่น การเจ็บหน้าอก (แบบเฉียบพลันและอาการคงอยู่) หายใจสั้น หรือใจสั่นภายหลังจากการฉีดวัคซีน
 

ทำอย่างไรหากเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงหลังจากรับวัคซีน    

หากฉีดวัคซีนแล้วมีปฏิกิริยาแพ้รุนแรง เช่น มีผื่นทั้งตัว หน้าบวม คอบวม หายใจลำบาก เจ็บแน่นหน้าอก ใจสั่น วิงเวียนหรือ   อ่อนแรง หรือมีอาการแขนขาอ่อนแรง ควรรีบมาโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด    
 

อันตรกิริยาระหว่างวัคซีนป้องกันโควิด-19 กับยาอื่นที่ให้ร่วมกัน    

ข้อมูลเกี่ยวกับการให้วัคซีน mRNA COVID-19 ควบคู่กับวัคซีนอื่นยังคงมีจำกัด อย่างไรก็ตามการให้วัคซีนโควิด-19 ที่เป็นชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA) สามารถให้พร้อมกับวัคซีนอื่นๆ ในวันเดียวกัน หรือห่างกันเท่าใดก็ได้
 
 

ข้อควรปฏิบัติอื่นๆ

  • ควรสังเกตอาการที่สถานพยาบาลหลังได้วัคซีนอย่างน้อย 15 นาที และควรสังเกตอาการต่อที่บ้าน
  • หากมีอาการข้างเคียงควรปรึกษาแพทย์ เภสัชกร หรือบุคลากรทางการแพทย์ทราบก่อนการรับวัคซีนครั้งต่อไป
  • วัคซีนอาจไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ทั้งหมด แต่ป้องกันโรครุนแรงได้เกือบทั้งหมด ดังนั้นผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้วอาจติดเชื้อแบบไม่มีอาการหรือมีอาการน้อยมากได้ จึงยังจำเป็นต้องรักษามาตรการในการป้องกันเชื้อในชุมชน ได้แก่ การสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่างทางกายภาพ และล้างมือบ่อยๆ ต่อไป
  • ควรรับวัคซีนตามกำหนดและเก็บบันทึกการรับวัคซีนไว้เพื่อเป็นหลักฐาน
  • หากมีข้อสงสัยใดเกี่ยวกับวัคซีนควรปรึกษาแพทย์ เภสัชกร หรือบุคลากรทางการแพทย์ที่ให้การดูแลท่าน


เอกสารอ้างอิง
  • Comirnaty [package insert]. Bangkok: Pfizer; 2022.
  • Spikevax COVID-19 Vaccine Moderna [package insert]. Bangkok: Zuellig Pharma Ltd.; 2022.
  • Centers for Disease Control and Prevention. Pfizer-BioNTech COVID-19 Vaccine Overview and Safety. Available from: https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/vaccines/different-vaccines/Pfizer-BioNTech.html. [Accessed 8 October 2022].
  • Centers for Disease Control and Prevention. Moderna COVID-19 Vaccine Overview and Safety. Available from: https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/vaccines/different-vaccines/Moderna.html [Accessed 8 October 2022].
  • กรมควบคุมโรค. แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์การระบาดปี 64 ของประเทศไทย ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/vaccine-covid19/getFiles/11/1628849610213.pdf [เข้าถึงเมื่อ 8 ตุลาคม 2565].
  • Thompson MJ, Burgess JL, Naleway AL, Tyner H, Yoon SK, Meece, J. et al. Prevention and Attenuation of Covid-19 with the BNT162b2 and mRNA-1273 Vaccines. N Engl J Med 2021;385:320-329.




รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แก้ไขล่าสุด: 25 มีนาคม 2568

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs