โรคไทฟอยด์ (หรือไข้รากสาดน้อย) คือ โรคติดเชื้อชนิดรุนแรงที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
Salmonella typhi โดยเชื้ออาจปนเปื้อนอยู่ในอาหารหรือน้ำดื่ม และเข้าสู่ร่างกายโดยการรับประทาน ผู้ที่ได้รับเชื้อไทฟอยด์บางรายอาจไม่มีอาการเจ็บป่วยใดๆ แต่จะเป็นพาหะแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
อาการของโรคไทฟอยด์
ไข้สูง อ่อนเพลีย ปวดท้อง ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร และบางรายอาจมีผื่นเป็นจุดแดง ในรายที่เป็นรุนแรงและไม่ได้รับการรักษาอาจมีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ติดเชื้อในกระแสโลหิต ลำไส้อักเสบ หรือมีเลือดออกที่ทางเดินอาหาร ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อนได้ถึงร้อยละ 30
ใครควรได้รับวัคซีนป้องกันไทฟอยด์
- ผู้ที่จะเดินทางไปในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไทฟอยด์ เช่น เอเชียใต้ (ประเทศอินเดีย เนปาล ปากีสถาน บังกลาเทศ) แอฟริกา และอเมริกาใต้
- ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่เป็นพาหะเชื้อไทฟอยด์
- เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการที่มีโอกาสสัมผัสกับเชื้อไทฟอยด์
อย่างไรก็ตามวัคซีนไม่สามารถป้องกันเชื้อได้ 100% ดังนั้นผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงในการได้รับเชื้อไทฟอยด์จึงยังควรระมัดระวังการบริโภคน้ำและอาหาร
ชนิดของวัคซีนป้องกันไทฟอยด์
วัคซีนป้องกันไทฟอยด์มี 2 ชนิด คือ วัคซีนชนิดฉีดและวัคซีนชนิดรับประทาน โดยมีรายละเอียดดังนี้
ประเภทของวัคซีน
|
วัคซีนป้องกันไทฟอยด์ชนิดฉีด
|
วัคซีนป้องกันไทฟอยด์ชนิดรับประทาน
|
ประเภทเชื้อไทฟอยด์
|
เชื้อตาย
|
เชื้อเป็น
|
อายุ
|
ใช้ได้ในผู้ใหญ่และเด็กอายุมากกว่า 2 ปี
|
ใช้ได้ในผู้ใหญ่และเด็กอายุมากกว่า 6 ปี
|
วิธีใช้
|
- ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 1 เข็ม อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนเดินทาง
- ฉีดกระตุ้นทุก 2 ปีหากยังมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไทฟอยด์
|
- รับประทานครั้งละ 1 แคปซูล วันเว้นวัน ก่อนอาหาร จำนวนทั้งหมด 4 แคปซูล
- ควรรับวัคซีนให้ครบอย่างน้อย 1 สัปดาห์ก่อนเดินทาง
- โดยต้องรับประทานยาชนิดแคปซูลทั้งเม็ด ห้ามเคี้ยว ก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง
- ให้วัคซีนซ้ำทุก 5 ปีหากยังมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไทฟอยด์
|
ผู้ที่ไม่ควรได้รับวัคซีนป้องกันไทฟอยด์หรือควรชะลอไว้ก่อน
|
- ผู้ที่เคยแพ้วัคซีนไทฟอยด์มาก่อน
- ผู้ที่ป่วยอาการปานกลางถึงรุนแรงควรรอให้อาการหายดีก่อนเข้ารับวัคซีน
|
- ผู้ที่เคยแพ้วัคซีนไทฟอยด์มาก่อน
- ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยมะเร็ง
- ผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน เช่น สเตียรอยด์ มานานกว่า 2 สัปดาห์
- ผู้ที่ป่วยอาการปานกลางถึงรุนแรงควรรอให้อาการหายดีก่อนเข้ารับวัคซีน
|
อาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นได้
|
- บวมแดงบริเวณที่ฉีด (97-98%)
- ปวดศีรษะ (16-20%)
- ไข้ (2-32%)
|
- ปวดศีรษะ (5%)
- ไข้ (3%)
- เป็นผื่น (1%)
- ปวดท้อง คลื่นไส้ (6%)
|
อาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงจากวัคซีนป้องกันไทฟอยด์พบได้น้อยมาก อย่างไรก็ตามหากเกิดอาการไข้สูงหรือมีอาการแพ้ยาที่รุนแรง เช่น หายใจลำบาก ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
|
หากลืมรับประทานวัคซีนควรทำอย่างไร
|
|
หากลืมรับประทานวัคซีนป้องกันไทฟอยด์
1 แคปซูล ให้รับประทานทันทีที่นึกได้ แต่หากใกล้เวลารับประทานวัคซีนมื้อต่อไป ให้ข้ามมื้อที่ลืมและรับประทานวัคซีนมื้อต่อไปตามเวลาปกติ และรับประทานต่อจนครบทั้ง 4 แคปซูล ในกรณีที่ลืมรับประทานวัคซีนมากกว่า 1 แคปซูล ให้ปรึกษาแพทย์
|
อันตรกิริยากับยาอื่น
|
|
ไม่ควรรับประทานพร้อมยาปฏิชีวนะ ควรเริ่มให้วัคซีนหลังจากรับประทานยาปฏิชีวนะมื้อสุดท้ายแล้วอย่างน้อย 3 วัน
|
ข้อมูลอ้างอิง
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
แก้ไขล่าสุด: 18 มีนาคม 2568