สาเหตุของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
ความสำคัญคือเป็นโรคทางกระดูกสันหลังที่พบได้บ่อย เจอ 1-3% ของคนทั่วไป มักเจอในมักเกิดกับคนไข้วัยกลางคน อายุ 40 ปี เจอในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง 60%/40% สาเหตุเกิดจาก หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมตามอายุ ตามกรรมพันธุ์ ตามการใช้งาน หลังจากเสื่อมก็มีรูปริของหมอนรองกระดูก ทำให้หมอนรองกระดูกที่อยู่ข้างในเคลื่อนออกมากดทับเส้นประสาท
ลักษณะอาการ
1. อาการที่คนไข้เป็นส่วนใหญ่จะมีอาการปวดหลัง หรือปวดสะโพก ร้าวลงขา อาจจะมีอาการชา หรือ อ่อนแรงร่วมด้วย
2. มี
อาการปวดหลังร้าวลงขา ค่อนข้างฉับพลัน อาจจะเกิดหลังจากการยกของหนัก ก้มตัว หรือ การล้มกระแทกได้
การวินิจฉัย
อาศัยจากประวัติ ตรวจร่างกาย และการตรวจ x-ray ธรรมดา ร่วมกับการส่ง
ตรวจภาพคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
วิธีการรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
คนไข้ส่วนหนึ่ง สามารถรักษาได้โดยไม่ต้องผ่าตัด ซึ่งทำได้โดย
- นอนพัก ในช่วงสั้นๆ หลีกเลี่ยง การยกของหนัก ก้มเงยเยอะๆ บิดหมุนตัวรุนแรง นั่งนานๆ
- ใช้ยา ลดการอักเสบ และลดการปวดเส้นประสาท
- การทำกายภาพมีส่วนช่วยได้ด้วย
- ในกรณีที่หมอนรองกระดูกมีขนาดเล็ก อาการปวดไม่รุนแรงมาก สามารถฉีดยาเข้าโพรงประสาทเพื่อลดการอักเสบ และอาการปวดได้
มีคนไข้ส่วนหนึ่งไม่ดีขึ้นจากการรักษาแบบไม่ผ่าตัด ในกลุ่มนี้มีประมาณ 1/3 ของคนไข้ที่ต้องผ่าตัด
- การผ่าตัด ก็คือการไปเอาหมอนรองกระดูกที่เคลื่อนออกมาออก ปัจจุบัน ก็จะเป็นการผ่าตัดแบบส่องกล้อง ซึ่งมี 2 แบบผ่าตัดโดยใช้กล้อง endoscope คือการเจาะรูเข้าไป มีแผลประมาณ 1 ซม. แล้วใช้กล้อง endoscope ช่วยในการผ่าตัด
- ผ่าตัดโดยใช้กล้อง microscope คือเปิดแผลเข้าไปแล้วใช้กล้อง microscope ช่วยในการผ่าตัด
วิธีการป้องกัน
- หลีกเลี่ยงยกของหนักก้มเงยเยอะๆ บิดหมุนตัวรุนแรง
- หลีกเลี่ยงการนั่งนานๆ เกิน 30-60 นาที
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
แก้ไขล่าสุด: 15 กรกฎาคม 2567