bih.button.backtotop.text

การฉีดโบทูลินัมท็อกซินรักษาโรคทางระบบประสาท

โบทูลินัมท็อกซิน (Botulinum toxin) เป็นสารพิษที่สกัดมาจากแบคทีเรียคลอสตริเดียมโบทูลินัม (Clostridium botulinum) เพื่อนำมาใช้ในการรักษาโรคในระบบต่างๆ ของร่างกาย รวมทั้งโรคทางระบบประสาท

ข้อบ่งชี้ของการฉีดโบทูลินัมท็อกซินรักษาโรคทางระบบประสาท
โบทูลินัมท็อกซินจะออกฤทธิ์โดยไปสกัดกั้นการส่งผ่านกระแสประสาทบริเวณกล้ามเนื้อด้วยการลดการหลั่งสารอะเซติลโคลีน (acetylcholine) ทำให้การหดตัวของกล้ามเนื้อลดลง ระงับความเจ็บปวด และลดการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ
  • สตรีตั้งครรภ์ จากการศึกษาพบความผิดปกติของตัวอ่อนในสัตว์ทดลอง แต่ยังไม่มีรายงานการศึกษาในคน
  • สตรีให้นมบุตร ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลด้านความปลอดภัยที่เพียงพอ
  • ผู้ที่ใช้ยาที่มีผลต่อการสกัดกั้นกระแสประสาทกล้ามเนื้อ เช่น aminoglycosides, chloroquine, D-penicillamine หรือ neuromuscular blocking agents
  • โรคกล้ามเนื้อประสาทอ่อนแรง
  • การฉีดบริเวณใบหน้า อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงดังนี้
    • รอยช้ำ บวม
    • หนังตาตก มักดีขึ้นภายใน 2-3 สัปดาห์
    • ตาพร่า เห็นภาพซ้อน
    • ปากเบี้ยว
    • ปากแห้ง
  • การฉีดที่บริเวณคอ อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงดังนี้
    • ปวดบริเวณตำแหน่งที่ฉีด
    • กล้ามเนื้อที่ถูกฉีดอ่อนแรง
    • กลืนลำบาก
    • ปากแห้ง
    • เสียงแหบ
  • การฉีดที่แขน ขา และลำตัว อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงดังนี้
    • กล้ามเนื้อที่ถูกฉีดอ่อนแรง
  • การกระจายของยาไปบริเวณอื่น อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงดังนี้
    • กลืนลำบากหรือหายใจไม่สะดวก มักเกิดในเด็กเล็ก และในกรณีที่ใช้ยาในขนาดสูงและฉีดกล้ามเนื้อที่ไม่ถูกต้อง
  • ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเข้ารับการรักษา
  • หากมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นควรแจ้งให้แพทย์ทราบทันที

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์โรคระบบประสาท

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 7.74 of 10, จากจำนวนคนโหวต 54 คน

บทความที่เกี่ยวข้อง