bih.button.backtotop.text

การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง

การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง หมายถึง การบันทึกประจุไฟฟ้าจากจุดต่างๆ ของสมองผ่านออกมาทางหนังศีรษะ แล้วเครื่องจะแปลคลื่นไฟฟ้าสมองออกมาเป็นเส้นบนกระดาษบันทึกหรือจอภาพ มีความถี่และรูปร่างต่างๆ กันซึ่งจะแปลผลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางระบบประสาทวิทยาว่าปกติหรือผิดปกติแบบใดและที่บริเวณใดของสมอง การบันทึกคลื่นสมองนี้จะทำภายใต้ภาวะต่างๆ เช่น ขณะตื่น หลับ ระหว่างชัก ระหว่างกระตุ้นด้วยแสง หรืออื่นๆ 

ประโยชน์ของการตรวจ

การตรวจคลื่นสมองมีประโยชน์อย่างมากในผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นโรคลมชัก เพราะช่วยยืนยันการวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคลมชักจริงหรือไม่ (ในกรณีประวัติอาการชักไม่ชัดเจน) นอกจากนี้ยังช่วยจำแนกชนิดของโรคลมชัก ซึ่งมีผลต่อการเลือกยากันชักที่เหมาะสมกับโรคลมชักแต่ละประเภท การตรวจคลื่นสมองสามารถใช้ประเมินผลการรักษาได้นอกเหนือจากการติดตามอาการผู้ป่วย อีกทั้งยังใช้ในการตัดสินใจก่อนหยุดยากันชักกรณีที่ผู้ป่วยไม่มีอาการชักติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อยสองปี

  • การสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็กที่สามารถตรวจการทำงานของสมองโดยอาศัยความเปลี่ยนแปลงของอัตราการไหลของเลือด (functional magnetic resonance imaging: fMRI)
  • การถ่ายภาพรังสีระนาบด้วยการปล่อยโพซิตรอน (positron emission tomography: PET)
  • การบันทึกคลื่นแม่เหล็กสมอง (magnetoencephalography: MEG)
  • การวิเคราะห์สเปกตรัมด้วยเรโซแนนท์แม่เหล็กนิวเคลียร์ (nuclear magnetic resonance: NMR)
  • การบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมองจากสมองโดยตรง (electrocorticography: ECoG)
  • การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ด้วยการปล่อยโฟตอนเชิงเดี่ยว (single photon emission tomography: SPET)
  • การวิเคราะห์สเปกตรัมช่วงใกล้รังสีอินฟราเรด (near-infrared spectroscopy: NIRS)

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์โรคระบบประสาท

ดูเพิ่มเติม

แผนกผู้ป่วยวิกฤตระบบประสาทและไขสันหลัง

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 10.00 of 10, จากจำนวนคนโหวต 2 คน

Related Health Blogs