bih.button.backtotop.text

เพท/ซีที (PET/CT)

การตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ที่ใช้เทคโนโลยีร่วมระหว่างเครื่องเพท (PET: Positron emission tomography) และซีทีหรือเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT: Computed tomography) เรียกรวมว่าเพท/ซีที (PET/CT) เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะในระดับโมเลกุลอย่างถูกต้องและแม่นยำ

ในการตรวจเพท/ซีทีจำเป็นต้องฉีดสารเภสัชรังสีเข้าสู่ร่างกายทางหลอดเลือดดำ โดยสารเภสัชรังสีที่ใช้นั้นเกิดจากการนำสารกัมมันตภาพรังสีจับกับยาหรือสารสังเคราะห์ที่มีความจำเพาะกับโรคที่ต้องการตรวจ ซึ่งสารเภสัชรังสีดังกล่าวนี้จะเข้าไปจับบริเวณของรอยโรคที่มีความผิดปกติ และปลดปล่อยอนุภาคโพสิตรอนมาทำปฏิกิริยากับอิเล็กตรอนในร่างกาย เกิดเป็นโฟตอนพลังงานสูงซึ่งนำมาใช้ในการถ่ายภาพ สารเภสัชรังสีที่ใช้ในการตรวจเพท/ซีทีมีด้วยกันหลายชนิด สารเภสัชรังสีที่นิยมใช้ในการตรวจเพท/ซีทีคือ F-18 FDG (Fluorine-18 fluorodeoxyglucose) ซึ่งเป็นสารกัมมันตภาพรังสีที่จับกับน้ำตาลสังเคราะห์ สามารถนำมาใช้ในการตรวจหาเนื้องอก การอักเสบติดเชื้อ และตรวจดูเนื้อสมอง นอกจากนี้ยังมีสารเภสัชรังสีชนิดอื่น เช่น F-18 PSMA (Fluorine-18 prostate-specific membrane antigen) และ Ga-68 PSMA (Gallium-68 prostate-specific membrane antigen) ใช้ตรวจหาความผิดปกติของมะเร็งต่อมลูกหมาก Ga-68 DOTATATE (Gallium-68 DOTATATE) ใช้ตรวจหาเนื้องอกของกลุ่มเซลล์นิวโรเอนโดคริน (Neuroendocrine tumor: NETs) F-18 DOPA ใช้เพื่อการตรวจเนื้องอกของกลุ่มเซลล์นิวโรเอนโดคริน (Neuroendocrine tumor: NETs) และโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) หรือกลุ่มอาการพาร์กินโซนิซึม (Parkinsonism)

ประโยชน์ของการตรวจ
  • ใช้ในการตรวจหาโรคมะเร็ง และ/หรือใช้ในการวินิจฉัยโรคมะเร็ง
  • ใช้ดูการกระจายของโรคมะเร็งในร่างกาย
  • ใช้ประเมินประสิทธิภาพของการรักษา
  • ใช้ในการตรวจดูการกลับมาเป็นซ้ำของโรคหลังการรักษา
  • ใช้ประเมินการพยากรณ์ของโรค
  • ใช้ประเมินการเผาผลาญและการอยู่รอดของเนื้อเยื่อ (tissue metabolism and viability)
  • ใช้ดูภาวะหัวใจวายจากการที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
  • ใช้ประเมินความผิดปกติของเนื้อเยื่อสมอง เช่น เนื้องอกในสมอง ความจำเสื่อม การชัก และความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง
อาจเกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำจากการงดอาหารหรือจากการคุมระดับน้ำตาลในเลือดด้วยอินซูลิน เนื่องจากการตรวจเพท/ซีทีเป็นการตรวจที่ใช้เวลานาน (ในบางกรณีที่มีการใช้สารทึบรังสีร่วมด้วยอาจก่อให้เกิดการแพ้ได้)
 
ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างการพักฟื้นหลังการตรวจ
ไม่มี
 
  1. ท่านสามารถเดินทางมาตรวจโดยรถสาธารณะหรือรถส่วนตัวก็ได้ แต่ไม่ควรนำเด็กหรือสตรีตั้งครรภ์มาด้วย
  2. ในกรณีที่ต้องเดินทางด้วยรถสาธารณะ ท่านไม่ควรอยู่ใกล้ชิดเด็กและสตรีตั้งครรภ์หลังทำการตรวจ
  1. การตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์
  2. การตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed tomography (CT) scan)
  3. การตรวจด้วยเครื่องกำทอนแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic resonance imaging: MRI)
  4. การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound)
  5. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
  6. การตรวจชิ้นเนื้อ
แก้ไขล่าสุด: 01 กุมภาพันธ์ 2564

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์วินิจฉัยและบำบัดรักษา

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 10.00 of 10, จากจำนวนคนโหวต 1 คน

Related Health Blogs