bih.button.backtotop.text

การผ่าตัดชิ้นเนื้อออก

การผ่าตัดชิ้นเนื้อออก (Excision) เป็นการผ่าตัดเพื่อนำเอาชิ้นเนื้อหรือเนื้องอกที่มักมีขนาดเล็กที่อยู่บนบริเวณผิวหนังหรือบนตำแหน่งต่างๆ ของร่างกายออกไป เช่น ไฝ ซีสต์ เป็นต้น หรือเพื่อยืนยันชนิดของชิ้นเนื้อ การระบุระดับความรุนแรงของเนื้อเยื่อ (มะเร็ง) เป็นต้น

การผ่าตัดชิ้นเนื้อเพื่อวินิจฉัย (Biopsy) เป็นการผ่าตัดเอาชิ้นเนื้อออก เพื่อวัตถุประสงค์ในการยืนยันชนิดและระบุความรุนแรงของเนื้อเยื่อโดยการตรวจเพิ่มเติมด้วยกล้องจุลทรรศน์ เพื่อค้นหาความผิดปกติของชิ้นเนื้อนั้นๆ ซึ่งการตัดชิ้นเนื้อมาตรวจนี้มีหลายวิธี การจะเลือกวิธีใดขึ้นอยู่กับตำแหน่งของเนื้อเยื่อที่สงสัยว่าผิดปกติ แพทย์อาจใช้เครื่องมือเล็กๆ ตัดชิ้นเนื้อบางส่วนที่สงสัยขณะส่องกล้อง หรืออาจทำการตัดชิ้นเนื้อในห้องผ่าตัด เป็นต้น
 

ชนิดของการตัดชิ้นเนื้อ
  1. ตัดชิ้นเนื้อบางส่วน (incisional biopsy)
  2. ตัดชิ้นเนื้อออกทั้งหมดเพื่อนำไปตรวจ (excisional biopsy)
นอกจากนี้ การตรวจยังอาจใช้วิธีที่เรียกว่า fine needle aspiration (FNA) โดยการใช้เข็มแทงไปตรงกลางก้อนเนื้อเพื่อดูดเอาเซลล์ออกมาตรวจ
 
ทุกๆ การผ่าตัดมีความเสี่ยงและอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน ดังนี้
  • อาจมีการสร้างของเหลวใต้แผลและไหลออกมาระหว่างรอยแผลเป็น
  • อาการตึงแผลหรือเกิดแผลเป็นในช่วงที่แผลเริ่มสมานตัว
  • ขอบแผลอาจสมานปิดกันในแนวที่ไม่ดีนักหรือขอบแผลเหลื่อมกันได้ ซึ่งจะดีขึ้นได้เอง แต่อาจเกิดเป็นรอยแผลเป็นขึ้นได้
  • แผลผ่าตัดอาจเป็นรอยนูน ซึ่งอาจมีสีเปลี่ยนไปและมีอาการเจ็บ

 อาการที่ต้องมาพบแพทย์โดยทันที

  • แผลมีอาการบวม แดง ร้อน ปวดหรือกดเจ็บบริเวณแผล หรือมีหนอง
  • แผลผ่าตัดแยก
  • มีไข้
ควรปรึกษาแพทย์
 
หากไม่ทำหัตถการนี้จะเกิดอะไรขึ้น
ควรปรึกษาแพทย์
 
หากแพทย์ระบุการผ่าตัดชิ้นเนื้อมีความจำเป็น เช่น เพื่อวัตถุประสงค์ในการยืนยันชนิดและระบุความรุนแรงของเนื้อเยื่อนี้ การตัดชิ้นเนื้อยังมีความจำเป็นและหากไม่เลือกวิธีการผ่าตัด ติ่งเนื้อนั้นอาจโตเรื่อยๆ ภายหลัง หรือไปเพิ่มการกดเบียดอวัยวะข้างเคียงจนทำอันตรายได้

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์ศัลยกรรม

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs