bih.button.backtotop.text

การผ่าตัดเต้านม

การผ่าตัดเต้านม (mastectomy) เป็นวิธีหนึ่งในการรักษามะเร็งเต้านม โดยผ่าตัดเอาเต้านม ต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้และกล้ามเนื้อที่หน้าอกออก ในขณะที่การผ่าตัดแบบสงวนเต้านม (partial mastectomy) จะเป็นการผ่าตัดเอาเฉพาะส่วนที่เป็นก้อนเนื้อร้ายออก ไม่ได้ตัดเต้านมออกทั้งหมด ทั้งนี้พบว่าอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะเริ่มต้นที่รับการผ่าตัดเต้านมแบบตัดออกทั้งเต้าจะเท่ากับอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดเต้านมออกบางส่วนร่วมกับการฉายรังสี การรักษาด้วยวิธีทั้งสองต่างมีข้อดีและข้อเสียในตัวเอง จึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจรายละเอียดก่อนตัดสินใจรักษาวิธีใดวิธีหนึ่ง

  1. การตัดเต้านมบางส่วน (partial or segmental mastectomy) คือ การตัดก้อนมะเร็งและเนื้อเยื่อเต้านมบางส่วนที่อยู่รอบๆ ก้อนเนื้องอก และที่อยู่ด้านบนของกล้ามเนื้อหน้าอก โดยปกติแล้วแพทย์จะนำต่อมน้ำเหลืองใต้แขนบางส่วนออกไปด้วยเพื่อทำการตรวจหาการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งต่อไป
  2. การตัดเต้านมทั้งหมด (total or simple mastectomy) คือ การตัดเต้านมออกไปทั้งหมด บางครั้งแพทย์จะพิจารณาตัดต่อมน้ำเหลืองใต้แขนเพิ่มเติมเพื่อทำการตรวจหาการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งต่อไป
  3. การตัดเต้านมทั้งหมดและตัดต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้ (modified radical mastectomy) คือ การตัดเต้านม ต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้และบนกล้ามเนื้อหน้าอกบางส่วน บางครั้งแพทย์อาจตัดกล้ามเนื้อผนังหน้าอกบางส่วนออกด้วย
  4. การตัดเต้านมรวมถึงผนังหน้าอกทั้งหมด (radical mastectomy) คือ การตัดเต้านม กล้ามเนื้อหน้าอก และต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้ทั้งหมดออก โดยปกติแล้วแพทย์ใช้วิธีนี้ในกรณีที่ก้อนเนื้องอกขยายตัวไปยังกล้ามเนื้อหน้าอกแล้ว
เนื่องจากการผ่าตัดนี้มีการใช้ยาสลบภายใต้การดูแลของวิสัญญีแพทย์ ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการตรวจสุขภาพก่อนการผ่าตัด ซึ่งรวมถึงการตรวจเลือด การเอกซเรย์ช่องอก และการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ผู้ป่วยอาจได้รับการตรวจเต้านมด้วยวิธี
แมมโมแกรม
อัลตราซาวนด์ หรือตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (magnetic resonance imaging: MRI) กรุณางดรับประทานอาหารและเครื่องดื่มอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัดหรือตามคำแนะนำของแพทย์ โปรดแจ้งแพทย์ให้ทราบถึงชนิดของยาที่ผู้ป่วยรับประทานอยู่ ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องหยุดใช้ยาบางชนิดก่อนการผ่าตัด
 
ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับขั้นตอนการผ่าตัด เนื่องจากแพทย์แต่ละท่านอาจมีเทคนิคและขั้นตอนของการผ่าตัดไม่เหมือนกัน
 
ผู้ป่วยจะถูกพาไปยังห้องพักฟื้นหลังจากผู้ป่วยรู้สึกตัวจากยาสลบ และต้องพักฟื้นในโรงพยาบาลจนกว่าร่างกายจะสมบูรณ์พร้อมกลับบ้าน ตามปกติแล้วใช้เวลาประมาณ 2 วันในกรณีที่ผ่าตัดเต้านมบางส่วน และ 2-3 วันในกรณีผ่าตัดเต้านมทั้งหมด หากผู้ป่วยยังมีอาการข้างเคียงจากยาสลบ เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน พยาบาลจะนำยามาให้ผู้ป่วยรับประทานเพื่อระงับอาการดังกล่าว
  • การดูแลแผลผ่าตัด: ในการผ่าตัดแพทย์อาจเย็บแผลด้วยไหมธรรมดาหรือไหมละลายหรือใช้ไหมทั้งสองแบบรวมกัน และมีท่อระบายเล็กๆ จากแผลผ่าตัด ซึ่งจะเอาออกใน 3-4 วัน หลังผ่าตัดผู้ป่วยควรรักษาความสะอาดของแผลจนกว่าแผลจะแห้งและหายสนิท
  • การออกกำลังกาย: ผู้ป่วยอาจรู้สึกเพลียเป็นบางครั้งหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยไม่ควรเครียดและค่อยๆ เริ่มทำกิจกรรมต่างๆ ทีละน้อย ผู้ป่วยไม่ควรขับรถในช่วงหนึ่งถึงสองสัปดาห์แรกจนกว่าผู้ป่วยจะสามารถเคลื่อนไหวหัวไหล่ได้อย่างปกติ แพทย์จะแนะนำการออกกำลังกายช่วงแขน ผู้ป่วยควรปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้การเคลื่อนไหวของหัวไหล่กลับสู่สภาพปกติ
  • ในกรณีที่ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดและ/หรือการฉายรังสีบริเวณรักแร้: ผู้ป่วยต้องระมัดระวังแขนข้างที่รับการผ่าตัดและฉายรังสีเป็นพิเศษเพื่อป้องกันการบวมของต่อมน้ำเหลือง ผู้ป่วยไม่ควรให้เลือดหรือวัดความดันโลหิตที่แขนข้างนั้น ควรหลีกเลี่ยงการยกของหนัก สวมเสื้อผ้าหรือเครื่องประดับที่รัดเกินไป รวมถึงหลีกเลี่ยงการเกิดแผลไหม้และแมลงกัดต่อยที่แขนข้างนั้นด้วย
  • การมีเพศสัมพันธ์และการสร้างความมั่นใจในตัวเอง: ผู้ป่วยหลายรายมีปัญหาเรื่องการมีเพศสัมพันธ์และความมั่นใจในตัวเองหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยอาจต้องได้รับการปรึกษาด้านจิตเวชทั้งก่อนและหลังการผ่าตัดเพื่อที่ผู้ป่วยและสามีของผู้ป่วยจะช่วยกันแก้ปัญหาดังกล่าว
  • การติดเชื้อ การติดเชื้อจากการผ่าตัดทำให้ผู้ป่วยเจ็บเต้านม เกิดอาการอักเสบบวมแดง และมีของเหลวไหลออก
  • เกิดการสะสมของน้ำเหลืองหรือเลือดใต้ผิวหนัง บริเวณที่ได้รับการผ่าตัดใต้รักแร้เริ่มมีการสะสมของเหลวบริเวณด้านใต้ของแผลผ่าตัด
  • แผลหายช้า ขอบแผลอาจขาดเลือดมาหล่อเลี้ยงและเปลี่ยนสี
  • อาการชาและอ่อนแรงที่แขนและหน้าอก ผู้ป่วยอาจมีอาการชาและอ่อนแรงที่แขนและหน้าอกเนื่องมาจากเส้นประสาทบางส่วนถูกตัดขาดระหว่างการผ่าตัด โดยอาการดังกล่าวเกิดขึ้นชั่วคราวหรือถาวร
  • หัวไหล่ติดยกแขนได้ไม่สุด ผู้ป่วยอาจมีปัญหาในการเคลื่อนไหวแขนหลังการผ่าตัด ตามปกติแล้วอาการดังกล่าวจะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวหากผู้ป่วยได้รับการทำกายภาพบำบัดและการออกกำลังกายอย่างถูกวิธี
  • แผลไม่หายเป็นปกติ แผลเป็นอาจหนาตัวขึ้น แดง และเจ็บ อาการดังกล่าวมักเกิดขึ้นอย่างถาวร
  • แขนบวม หนึ่งในสี่ของผู้ป่วยอาจมีอาการแขนบวมข้างที่รับการผ่าตัด เนื่องจากแพทย์ตัดต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้บางส่วนออก อัตราเสี่ยงต่ออาการดังกล่าวอาจเพิ่มขึ้นหากผู้ป่วยมีอาการบาดเจ็บที่แขน บริจาคเลือด เกิดการติดเชื้อ หรือน้ำหนักตัวขึ้น ตามปกติแล้วอาการต่อมน้ำเหลืองที่แขนโตจะเกิดขึ้นประมาณ 20 เดือนหลังเข้ารับการผ่าตัด ผู้ป่วยอาจต้องสวมผ้าชนิดทอพิเศษที่รัดบริเวณแขนเพื่อป้องกันการก่อตัวของของเหลวและต้องนวดแขนอย่างสม่ำเสมอ
  • เซลล์มะเร็งก่อตัวขึ้นอีกครั้ง เซลล์มะเร็งหรือก้อนเนื้ออาจก่อตัวขึ้นอีกบริเวณแผล ผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการรักษาเพิ่มเติมโดยการศัลยกรรม เคมีบำบัด ฉายรังสี หรือทั้งสามวิธีรวมกัน
  • เกิดอาการปวดหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยสองในสามรายในช่วงอายุ 30-49 ปี และหนึ่งในสี่รายในช่วงอายุ 70 ปีขึ้นไปอาจมีอาการปวดเรื้อรังบริเวณที่ได้รับการผ่าตัด อาการปวดขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละราย ผู้ป่วยต้องรับประทานยาเพื่อระงับอาการปวดดังกล่าว
  • ความกังวลและซึมเศร้า หนึ่งในสามของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดเต้านมอาจมีอาการซึมเศร้าและกังวล เนื่องจากเต้านมได้ถูกตัดออก ผู้ป่วยอาจต้องรับการปรึกษาทางจิตเวชก่อนและหลังการผ่าตัด
  • ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในผู้ป่วยโรคอ้วนและสูบบุหรี่ ผู้ป่วยโรคอ้วนและสูบบุหรี่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดการติดเชื้อที่แผล การติดเชื้อที่ปอด อาการแทรกซ้อนที่หัวใจและปอด และอาการลิ่มเลือดอุดตัน
  • ก่อนการเดินทางมารักษา ถ้าผู้ป่วยรับประทานยาละลายลิ่มเลือด/ยาต้านการแข็งตัวของเลือดควรปรึกษาแพทย์เพื่อหยุดยา
  • ผู้ป่วยชาวต่างชาติควรอยู่ในประเทศไทยอย่างน้อย 2 สัปดาห์ตลอดระยะเวลาการรักษา
  • หากท่านมีแผนการเดินทางหลังทำหัตถการ โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนทำการจองการเดินทาง ผู้ป่วยสามารถเดินทางโดยสารโดยเครื่องบินได้ ไม่มีข้อจำกัดใดๆ
  • ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจร่างกายและดูแลแผลผ่าตัดในวันนัด และได้รับเอกสารสรุปประวัติการรักษา เอกสาร Fit to Fly (ถ้าต้องมี)
ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ควรปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษา
 
หากไม่ทำหัตถการนี้จะเกิดอะไรขึ้น
ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นมะเร็งอาจทำให้มะเร็งลุกลามจนถึงแก่ชีวิตได้
 
 
ควรปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษาถึงแนวทางในการรักษาอื่นๆ
 

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์ศัลยกรรม

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 10.00 of 10, จากจำนวนคนโหวต 1 คน

Related Health Blogs