bih.button.backtotop.text

การผ่าตัดถุงน้ำที่รังไข่

การผ่าตัดถุงน้ำที่รังไข่ คือ การตัดเอาถุงน้ำออกจากรังไข่และการผ่าตัดรังไข่ออก เพื่อเป็นการรักษาภาวะถุงน้ำที่รังไข่และช่วยในการวินิจฉัยโรค

การผ่าตัดจะพิจารณาทำในกรณีต่อไปนี้
1.    ก้อนที่เป็นถุงน้ำไม่ยุบไปภายหลังการตรวจติดตามดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น 
2.    วินิจฉัยว่าก้อนที่รังไข่นั้นเป็นเนื้องอก ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งหรือไม่ก็ตาม 
3.    เกิดภาวะแทรกซ้อน/ผลข้างเคียงของก้อนเนื้องอก เช่น ปวดท้องรุนแรงเฉียบพลัน ซึ่งเกิดจากการบิดหมุนของก้อน การแตกของก้อน การมีเลือดออกจากก้อน 

กรณีเป็นเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็ง 

การผ่าตัดรังไข่มักจะทำให้โรคหายอย่างเด็ดขาด ยกเว้นกรณีที่เป็นช็อกโกแลตซีสต์หรือถุงน้ำที่มีของเหลวที่มีลักษณะคล้ายช็อกโกแลตอยู่ข้างใน เกิดจากการที่มีเยื่อบุโพรงมดลูกไปเจริญอยู่ที่รังไข่ อาจมีการกลับเป็นซ้ำได้ ถึงแม้จะไม่ใช่มะเร็งก็ตาม

กรณีที่เป็นมะเร็งรังไข่ 

หากเป็นในระยะเริ่มต้น การผ่าตัดรักษาร่วมกับการรักษาด้วยวิธีอื่น เช่น การให้ยาเคมีบำบัด 
 
  1. การผ่าตัดนำเอาซีสต์ออกจากรังไข่ (ovarian cystectomy)/การผ่าตัดนำเอารังไข่ออก (oophorectomy) ทางหน้าท้อง แพทย์จะผ่าตัดภายใต้ยาสลบโดยการผ่าบริเวณท้องน้อยเพื่อเอาชิ้นเนื้อออกทางหน้าท้องคล้ายการผ่าตัดคลอด ในบางกรณีแพทย์จะเก็บรังไข่ไว้หากสามารถเก็บไว้ได้ ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาและแจ้งให้ท่านทราบก่อนเข้ารับการผ่าตัด
  2. การผ่าตัดก้อนเนื้อที่รังไข่ด้วยวิธีส่องกล้อง (laparoscopic ovarian cystectomy) เป็นการผ่าตัดก้อนเนื้อที่รังไข่โดยการเจาะผ่านช่องท้องหรือผิวหนังใกล้บริเวณที่ต้องการจะทำการผ่าตัด เพื่อสอดอุปกรณ์ผ่าตัดและกล้องขนาดเล็กเพื่อบันทึกภาพและส่งมายังจอรับภาพ ซึ่งทำหน้าที่แทนตาของศัลยแพทย์รวมถึงอุปกรณ์อื่นๆ กรณีที่ก้อนเนื้อมีขนาดใหญ่ มีก้อนเนื้อมากกว่าหนึ่งก้อน ก้อนเนื้อที่แตกหรือมีลักษณะซับซ้อน ซึ่งอาจจะเป็นก้อนเนื้อที่เป็นมะเร็ง หากการผ่าตัดแบบส่องกล้องไม่ประสบความสำเร็จ แพทย์จะพิจารณาทำการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้องแทน
  1. อาจพบเลือดออกมาก อาจเกิดการตกเลือดระหว่างและหลังการผ่าตัด
  2. อาจเกิดแผลติดเชื้อที่แผลผ่าตัด กระเพาะปัสสาวะ และในกระแสเลือด
  3. การบาดเจ็บต่ออวัยวะข้างเคียง เช่น กระเพาะปัสสาวะ และลำไส้
  4. ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากยาสลบ
  5. อาจเกิดอาการลิ่มเลือดอุดตัน
  6. มีปัญหาที่แผลหรือเกิดแผลเป็น
  1. มาพบแพทย์ตามนัดหรือมาพบแพทย์ก่อนวันนัดเมื่อพบว่ามีอาการที่อาจเกิดการอักเสบติดเชื้อของแผลตรงบริเวณที่ผ่าตัด เช่น แผลบวม แดง ร้อน แผลมีเลือดซึม มีไข้ เป็นต้น
  2. เริ่มกิจกรรมเบาๆ งดยกของหนักโดยเฉพาะในช่วง 4-6 สัปดาห์
  3. สามารถกลับไปทำงานหลังจากผ่าตัด 6-8 สัปดาห์
  4. งดการสวนล้างช่องคลอดและงดมีเพศสัมพันธ์หลังทำผ่าตัดเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์
  5. หากท้องผูก ควรรับประทานผลไม้ ผัก และควรดื่มน้ำผลไม้มากๆ หรือรับประทานยาระบายตามแพทย์สั่ง
  1. มีไข้สูง
  2. แผลผ่าตัดบวม แดง หรือมีเลือดออก
  3. อาการปวดที่ไม่ทุเลาลงด้วยการรับประทานยาแก้ปวด
  4. มีเลือดออกทางช่องคลอด
  5. คลื่นไส้อาเจียน
มีอัตราร้อยละ 90-95% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น สภาวะร่างกายของผู้ป่วย สภาวะของโรคประจำตัวของผู้ป่วยในรายที่มีโรคประจำตัว เป็นต้น
 

หากไม่ทำการรักษา

  1. ผู้ป่วยจะยังคงมีอาการผิดปกติต่อเนื่องไม่หายขาด เช่น อาการเลือดออกอย่างต่อเนื่อง อาการเลือดออกผิดปกติ อาการปวดเรื้อรัง
  2. เนื้องอกอาจโตขึ้นและเกิดการแพร่กระจายของมะเร็งได้


ทางเลือกอื่นในการรักษา

  1. ในกรณีที่เป็นถุงน้ำรังไข่ที่มีขนาดเล็ก โดยส่วนใหญ่คือประมาณ 5-7 เซนติเมตรหรือน้อยกว่า แพทย์มักจะนัดติดตามดูว่าถุงน้ำนั้นจะสามารถยุบหายไปได้เองหรือไม่ ซึ่งใช้เวลาในการติดตามประมาณ 2 สัปดาห์ถึง 3 เดือน แล้วแต่กรณี หรืออาจให้ยาเม็ดคุมกำเนิดรับประทานเป็นเวลาประมาณ 1 เดือน แล้วนัดตรวจติดตามผลว่าเนื้องอกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
  2. ในกรณีที่เป็นถุงน้ำรังไข่ที่มีขนาดใหญ่ คือมากกว่า 5-7 เซนติเมตร แพทย์มักแนะนำการผ่าตัดรังไข่
  3. ในสตรีวัยหมดประจำเดือน/วัยทองที่มีถุงน้ำที่รังไข่ขนาดเล็กกว่า 5 เซนติเมตร ควรได้รับการตรวจเลือดเพื่อดูระดับของ CA 125 หากมีค่าที่ปกติอาจไม่จำเป็นต้องรักษาโดยการผ่าตัด อาจใช้การตรวจติดตามด้วย
    อัลตราซาวนด์เป็นระยะๆ


ข้อมูลที่ควรทราบ

  1. อาการที่บ่งชี้ว่าก้อนที่พบที่รังไข่นั้นน่าจะเป็นมะเร็ง ได้แก่ มีอาการเบื่ออาหารและน้ำหนักลด ก้อนโตเร็ว ท้องโตขึ้นเร็ว และอาจมีอาการอื่นที่แสดงถึงการกระจายของมะเร็งไปที่อวัยวะอื่นๆ (เช่น ปวดหลัง)
  2. จากการตรวจร่างกายและอัลตราซาวนด์หรือการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (computerized tomography scan: CT scan) หากพบว่ามีน้ำในช่องท้อง/ท้องมาน มีก้อนที่รังไข่ทั้งสองข้าง ก้อนที่พบมีส่วนที่เป็นเนื้อตัน มีต่อมน้ำเหลืองในช่องท้องโต หรือพบการกระจายของก้อนไปที่อวัยวะอื่นๆ เป็นต้น การตรวจเลือดอาจพบระดับของสารมะเร็งรังไข่ในเลือดที่สูงขึ้นได้
  3. การพบลักษณะดังกล่าวข้างต้นไม่ได้บ่งชี้ว่าจะต้องเป็นมะเร็งอย่างแน่นอน การวินิจฉัยขึ้นอยู่กับสิ่งที่แพทย์ตรวจพบขณะผ่าตัด และผลการตรวจชิ้นเนื้อจากก้อนเนื้อหลังผ่าตัด
  4. ภาวะแทรกซ้อนของเนื้องอกรังไข่ ได้แก่ การบิดหมุนของก้อน ซึ่งมักพบได้บ่อยในกรณีที่ก้อนมีขนาดประมาณ 6 เซนติเมตรขึ้นไป นอกจากนี้อาจพบว่ามีเลือดออกในก้อน การแตกของก้อน และการติดเชื้อที่ก้อน เป็นต้น หากเกิดภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้จะก่อให้เกิดอาการปวดท้องอย่างเฉียบพลันและรุนแรง และ/หรือมีไข้ร่วมด้วยได้ และหากท่านมีอาการดังกล่าวควรรีบปรึกษาแพทย์/ไปโรงพยาบาลทันที
แก้ไขล่าสุด: 03 กุมภาพันธ์ 2565

Related conditions

Doctors Related

Related Centers

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs