bih.button.backtotop.text

คลินิกคุณภาพการนอนหลับ

การนอนหลับอย่างมีคุณภาพส่งผลดีต่อสุขภาพโดยรวม การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอช่วยฟื้นฟูซ่อมแซมร่างกายและปรับสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย จากสถิติของ sleep foundation ประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่าผู้ใหญ่ประมาณร้อยละ 10 ถึง 30 เป็นโรคนอนไม่หลับเรื้อรังและผู้สูงอายุประมาณร้อยละ 30 ถึง 48 ประสบปัญหาการนอนไม่หลับ ซึ่งผลวิจัยทางการแพทย์ได้พิสูจน์แล้วว่าการนอนไม่หลับหรือการนอนไม่เพียงพอทำให้เกิดโรคร้ายแรงต่างๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและโรคซึมเศร้า
 
การบริการ
คุณหรือคนที่คุณรักเป็นหนึ่งในผู้ที่กำลังประสบปัญหานอนไม่หลับหรือนอนไม่เพียงพอหรือไม่ การนอนหลับผิดปกติเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน คลินิกคุณภาพการนอนหลับของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ให้บริการครอบคลุมตั้งแต่การวินิจฉัยหาสาเหตุการนอนไม่หลับของแต่ละบุคคลและรักษาอาการนอนไม่หลับอย่างตรงจุด โดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางในสาขาที่เกี่ยวข้อง เช่น ระบบทางเดินหายใจ หู คอ จมูก ด้านระบบประสาทและจิตแพทย์
ทีมแพทย์ผู้ชำนาญการพร้อมให้คำปรึกษาและทำงานร่วมกันเพื่อวินิจฉัยและรักษาอาการนอนไม่หลับ

 
sleep-clinic-center.jpg
 
  • การตรวจทางหู คอ จมูก ช่องปากและเพดานปาก
  • การตรวจคุณภาพการนอนหลับ ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (polysomnography) เพื่อตรวจสอบและวิเคราะห์ความผิดปกติของการนอนหลับ เช่น นอนกรน นอนไม่หลับ นอนกัดฟัน นอนขากระตุกขณะหลับ โดยมีการตรวจทั้งหมด 3 ระดับตามความเหมาะสมและความสะดวกของผู้ป่วยแต่ละราย

    ระดับที่ 1 การตรวจสุขภาพการนอนแบบสมบูรณ์โดยมีเจ้าหน้าที่เฝ้าสังเกตอาการตลอดคืน (Comprehensive technician-attended polysomnography) เป็นวิธีมาตรฐาน (Gold Standard) มีข้อมูลที่ละเอียด มีความแม่นยำสูง และต้องทำในโรงพยาบาลที่มีมาตรฐาน
     
    sleep-clinic-center-01.JPG 

    ระดับที่ 2 การตรวจสุขภาพการนอนหลับแบบสมบูรณ์ โดยไม่มีเจ้าหน้าที่เผ้าตลอดทั้งคืน(Comprehensive- unattended portable polysomnography)  สามารถตรวจได้ในที่พักอาศัย
     
    sleep-clinic-center-02-(1).JPG
     
    ระดับที่ 3 การตรวจสุขภาพการนอนหลับแบบจำกัดข้อมูล (Limited channel portable sleep test) หรือเรียกว่า Mobile Sleep Test การตรวจนี้ จะมีการตรวจ ลมหายใจ การเคลื่อนไหวของหน้าอกและท้อง การวัดระดับออกซิเจนในเลือด การวัดระดับเสียงกรน บางครั้งรวมคลื่นหัวใจร่วมด้วย หรือการตรวจการนอนหลับจากระบบหลอดเลือดและประสาทอัตโนมัติ เป็นต้น เหมาะสำหรับทำที่บ้านหรือห้องพัก
     
    sleep-clinic-center-03-(1).JPG
  • การตรวจยีนที่อาจส่งผลต่อการนอนไม่หลับบางชนิด (Genes that might influence certain types of sleep disorder) [สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถส่งต่อเคสไปตรวจเพิ่มเติมได้ที่ VitalLife Scientific Wellness Center]
  • การนอนกรนและการหายใจผิดปกติระหว่างการนอนหลับ (Snoring and sleep related breathing disorders)
    • การรักษาด้วยเครื่องเป่าความดันลมบวกซีแพพ (CPAP) โดยต่ออากาศไหลเข้าสู่ลำคอเพื่อให้ผู้ป่วยมีอากาศหายใจเพียงพอ
    • อุปกรณ์รักษาการนอนกรนหรือภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับ (Oral appliances)
    • การรักษาด้วยคลื่นวิทยุเพื่อให้เพดานปากและลิ้นไก่หดตัวเล็กลง ทำให้ช่องเดินอากาศกว้างขึ้นและหายใจได้สะดวก
    • การผ่าตัดแบบปกติและการผ่าตัดด้วยเลเซอร์
      • การผ่าตัดลิ้นไก่
      • การผ่าตัดลำคอและเพดานปาก
    • การรักษาโดยการจัดท่านอน (Positioning therapy)
    • การประเมินพฤติกรรมการนอนที่ผิดปกติ (Behavioral measures for sleep disorders)
 
4.jpg
 
  • การนอนขาอยู่ไม่สุขและขากระตุกขณะหลับ (Restless leg syndrome and periodic limb movement disorder)
  • โรคนอนไม่หลับ (Insomnia)
    • การรักษาโดยการปรับความคิดและพฤติกรรม (Cognitive behavioral therapy for insomnia: CBTI)
    • การรักษาด้วยยา (Medications for insomnia)
  • โรคลมหลับและการนอนหลับมากกว่าปกติหรือง่วงนอนในช่วงกลางวันตลอด (Narcolepsy and other hypersomnias (excessive sleep))
    • การรักษาโรคลมหลับ (Treating narcolepsy)
    • การรักษาการง่วงในตอนกลางวันมากเกินไป (Treating idiopathic hypersomnia)
    • การรักษากลุ่มอาการเจ้าหญิงนิทราหรือนอนหลับเป็นเวลานาน (Kleine-Levin syndrome)
  • การนอนหลับผิดปกติจากการทำงานเป็นกะและนาฬิกาชีวิตแปรปรวน (Shift work and circadian rhythm disorders)
    • การบำบัดด้วยแสงสว่าง (Bright light therapy)
  • ภาวะนอนไม่หลับในเด็ก (Pediatric sleep disorder)
  • พฤติกรรมการนอนในช่วงกลางคืน (Nighttime sleep behaviors)
  • ห้องปฏิบัติการตรวจการนอนหลับที่มีเจ้าหน้าที่เผ้าตลอดทั้งคืน (Comprehensive technician-attended polysomnography)
  • เครื่องเป่าความดันลมบวกซีแพพ (CPAP – Continuous Positive-Airway Pressure)
  • การรักษาด้วยคลื่นความถี่วิทยุ
  • ศูนย์ศัลยกรรมเลเซอร์

ศ.นพ. ชัยรัตน์ นิรันตรัตน์

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

โสต ศอ นาสิกวิทยา
โสต ศอ นาสิกวิทยา - นาสิกวิทยาการนอนหลับ

ดูประวัติ

นพ. จักริน ลบล้ำเลิศ

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

ประสาทวิทยา - เวชศาสตร์การนอนหลับ

ดูประวัติ

รศ.นพ. วีระชัย ตันตินิกร

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

โสต ศอ นาสิกวิทยา
โสต ศอ นาสิกวิทยา - วิทยาเกี่ยวกับจมูกและโรคจมูก (ไซนัส)
โสต ศอ นาสิกวิทยา - เนื้องอกและมะเร็งศีรษะและคอ
โสต ศอ นาสิกวิทยา - โสต ศอ นาสิกวิทยาเด็ก

ดูประวัติ

นพ. ไพศาล วชาติมานนท์

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

ประสาทวิทยา

ดูประวัติ

พญ. จรรย์กนก เกื้อกูลวงศ์

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

อายุรศาสตร์ - ผู้ป่วยวิกฤต
อายุรศาสตร์ - อายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจ
อายุรศาสตร์ - เวชศาสตร์การนอนหลับ

ดูประวัติ

รศ.พญ. นฤชา จิรกาลวสาน

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

อายุรศาสตร์
อายุรศาสตร์ - ผู้ป่วยวิกฤต
อายุรศาสตร์ - อายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจ
อายุรศาสตร์ - เวชศาสตร์การนอนหลับ

ดูประวัติ

พญ. เบญจมาศ อินทรโภคา

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

อายุรศาสตร์
อายุรศาสตร์ - เวชศาสตร์การนอนหลับ

ดูประวัติ

Related Packages

Contact Information

  • บริการพบแพทย์ผ่าน VDO call (Tele-Consultation) คลิก

Service Hours

  • คลินิกคุณภาพการนอนหลับ
    ปรึกษาแพทย์ทุกวัน(เฉพาะผู้ป่วยที่นัดหมายไว้)
    การตรวจการนอนหลับผิดปกติ
    ผู้ป่วยต้องนอนที่โรงพยาบาล 1 คืน
    (เฉพาะผู้ป่วยที่นัดหมายไว้)

Location

  • คลินิกคุณภาพการนอนหลับ
    เคาน์เตอร์ 12A อาคาร A 
แก้ไขล่าสุด: 03 เมษายน 2566
คะแนนโหวต 9.82 of 10, จากจำนวนคนโหวต 110 คน

Related Health Blogs