bih.button.backtotop.text

โรคง่วงนอนมากผิดปกติ (Hypersomnia disorders)

การนอนหลับอย่างเพียงพอ ทำให้ร่างกายได้พักผ่อนและจิตใจแจ่มใส ปราศจากความง่วงในเวลากลางวันซึ่งมีความสำคัญต่อการทำงาน การเรียน และการใช้ชีวิตในสังคมเป็นอย่างมาก ผู้ที่มีปัญหาในการตื่นตัว มีอาการง่วงนอนผิดปกติจึงส่งผลต่อคุณภาพชีวิต การทำงานหรืออาจทำให้เกิดอุบัติเหตุกับตัวคุณเองและคนรอบข้างได้

โรคง่วงนอนมากผิดปกติ คืออะไร
โรคง่วงนอนมากผิดปกติ (Hypersomnia) พบบ่อยในผู้หญิงมากกว่าชาย ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นหรือวัยเริ่มทำงาน ภาวะที่มีความง่วงนอนมากผิดปกติคือ มีอาการง่วงอย่างน้อย 3 วัน/สัปดาห์ ติดต่อกันเกิน 3 เดือน โดยไม่สามารถฝืนตัวเองให้ตื่นได้ ทั้งๆ ที่ได้นอนเพียงพอแล้ว (เกิน 9 ชั่วโมง) โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่จะนอนหลับเกิน 10 ชั่วโมง และมีการงีบหลับหลายครั้งในเวลากลางวัน มีอาการงัวเงียมากหลังตื่นนอนในตอนเช้า ตื่นยาก หรืองัวเงียมากแม้กระทั่งหลังตื่นจากการงีบหลับกลางวัน  ตื่นมารู้สึกไม่สดชื่น เพลีย ไม่มีแรง และอารมณ์หงุดหงิด

สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ

  1. เกิดจากพฤติกรรมการนอนหลับ การใช้ยา หรือโรคร่วมบางอย่าง เช่น
  2. เกิดจากกลุ่มโรคง่วงนอนมากผิดปกติ ไม่มีสาเหตุจากโรคร่วมอื่นๆหรือยาที่แน่ชัด  ส่วนหนึ่งพบว่าเป็นกรรมพันธุ์ หรือเกิดจากที่สารสื่อประสาทบางชนิดผิดปกติ เช่น hypocretin  dopamine หรือ GABA  
    โดยกลุ่มโรคง่วงนอนผิดปกติ มีดังนี้

    2.1 โรคลมหลับ ชนิดที่ 1 (Narcolepsy type 1) ผู้ป่วยมักมีอาการง่วงนอนมากผิดปกติและหลับในตอนกลางวันโดยไม่สามารถฝืนให้ตื่นได้ ส่วนมากพบในช่วงอายุ 10-25 ปี สาเหตุเกิดจากสารที่ทำให้การตื่นตัวลดลง สารนี้เรียกว่า hypocretin (หรือ orexin) ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการหลับไปกะทันหันโดยควบคุมไม่ได้ (sleep attacks) ร่วมกับอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงฉับพลัน (cataplexy) คือมีอาการคอพับ ขาอ่อน ส่วนใหญ่เกิดจากมีการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ เช่น ฟังเรื่องตลกแล้วหัวเราะ นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยมีอาการคล้ายผีอำ (sleep paralysis) บ่อยๆ อาการคือไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายหรือพูดได้เป็นระยะเวลาสั้นๆ มักพบร่วมกับอาการประสาทหลอน (Hypnagogic Hallucination) จะมีการเห็นภาพหลอนเป็นสิ่งที่น่ากลัว มักเกิดขณะเคลิ้มหลับหรือใกล้ตื่น

    2.2 โรคลมหลับ ชนิดที่ 2 (Narcolepsy type 2) คือไม่มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงฉับพลัน (cataplexy) และมีระดับสารที่ทำให้ตื่นตัว (hypocretin) เป็นปกติ

    2.3 กลุ่มอาการเจ้าหญิงนิทรา (Kleine-Levin syndrome) มักพบในผู้ชายอายุน้อยหรือช่วงวัยรุ่น เป็นภาวะง่วงนอนผิดปกติอย่างรุนแรงเป็นพักๆ บางรายอาจหลับนานถึง 20 ชั่วโมง/ วัน เป็นเวลาตั้งแต่ 10 วัน จนถึงหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน เกิดขึ้นหลายครั้งต่อปี มักพบร่วมกับโรคทางจิตเวชต่างๆ โดยช่วงที่ปกติจะไม่มีอาการใดๆเลย

    2.4 โรคง่วงนอนผิดปกติที่ไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด (Idiopathic hypersomnia)
  • แพทย์ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การนอนหลับ จะสอบถามประวัติเกี่ยวกับอาการ โรคประจำตัว ประวัติการนอน และประวัติยาประจำตัว
  • แพทย์อาจให้ทำแบบสอบถามที่เรียกว่า ESS (Epworth Sleepiness Scale) เพื่อวัดระดับการง่วงนอนผิดปกติระดับใด และทำ Sleep diary เพื่อดูวงจรการหลับและตื่น
  • หลังจากนั้นแพทย์จะทำการตรวจการนอนหลับ (PSG: Polysomnography) เป็นการตรวจการนอนหลับในเวลากลางคืน เพื่อหาโรคซ่อนอยู่ขณะหลับที่อาจทำให้ง่วงนอนผิดปกติ เช่นโรคกรนหยุดหายใจขณะหลับ หรือโรคขากระตุกขณะหลับ
  • หากไม่พบโรคใดๆ ที่ชัดเจน แพทย์จะทำการตรวจเพิ่มในเวลากลางวัน เรียกว่า MSLT (Multiple sleep latency test) ซึ่งเป็นการตรวจว่ามีความง่วงนอนผิดปกติ มีแนวโน้มจะง่วงหลับไปเร็วแค่ไหนในเวลากลางวัน และดูคลื่นสมองว่ามีการหลับฝันแทรกเข้ามาหรือไม่ เพื่อการวินิจฉัยแยกโรคต่างๆ
  • หลังจากได้ผลทั้งหมดแพทย์จะประมวลผลและวางแผนการรักษาต่อไป

ประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือการใช้ยาและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร่วมด้วย

  1. การใช้ยา
    • ยาที่ช่วยเรื่องการตื่น (Wakefulness-promoting agents) เช่น modafinil (Provigil), armodafinil (Nuvigil) กลุ่มนี้เป็นยากลุ่มแรกที่แพทย์จะพิจารณาให้
    • ยากระตุ้นให้ตื่น (Psychostimulants) เช่น methylphenidate (Ritalin, Concerta) ยากลุ่มนี้จะมีผลข้างเคียงที่มากกว่ากลุ่มแรก
    • ยากลุ่มต้านเศร้า (SSRI หรือ  SNRI) โดยใช้เพื่อลดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงฉับพลัน (cataplexy), อาการคล้ายผีอำ (sleep paralysis), และอาการประสาทหลอน (Hypnagogic Hallucination)
    • ยา Sodium oxybate (Xyrem) ช่วยเรื่องการนอนและลดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงฉับพลัน (Cataplexy)
  2. การปรับพฤติกรรม
    โดยปรับการนอนให้เป็นเวลา เตรียมห้องนอนที่น่านอน เงียบ มืด ไม่มีเสียงรบกวน อุณหภูมิห้องที่เหมาะสม เตียงนอนสบาย งดดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีนตอนบ่าย งดออกกำลังกายหนักหรือกินมื้อใหญ่ก่อนเวลาเข้านอน งดนอนกลางวันใกล้เวลานอน เป็นต้น
โดยโรคและอาการเหล่านี้ ไม่เพียงแพทย์ที่จะให้การดูแลรักษาผู้ป่วยเท่านั้น แต่การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคให้ผู้ป่วย ครอบครัว เพื่อนร่วมงาน โรงเรียน หรือที่ทำงานทราบ เพื่อให้เข้าใจและช่วยเหลือผู้ป่วยก็เป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน
 

ที่มา พญ. ดารกุล พรศรีนิยม แพทย์ชำนาญการด้านประสาทวิทยาและเวชศาสตร์การนอนหลับ

Doctors Related

Related Centers

คลินิกคุณภาพการนอนหลับ

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs