bih.button.backtotop.text

โรคต่อมลูกหมากโต

โรคต่อมลูกหมากโต (BPH - Benign Prostatic Hyperplasia) คือ ภาวะที่ต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่ผิดปกติ ซึ่งชาวตะวันตกมักเปรียบเทียบขนาดปกติของต่อมลูกหมากว่าเท่ากับขนาดของผลวอลนัท (walnut-size) ตำแหน่งของต่อมลูกหมากจะอยู่ในบริเวณใต้กระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมากทำหน้าที่สร้างสารที่เป็นของเหลวประมาณ 30% ของน้ำอสุจิ


คุณเสี่ยงเป็นโรคต่อลูกหมากโตหรือไม่?
Risk-Assessment_Hyperplasia_hyperplasia-TH.png

โรคต่อมลูกหมากโตคืออะไร
โรคต่อมลูกหมากโต (BPH - Benign Prostatic Hyperplasia) คือ ภาวะที่ต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่ผิดปกติ ซึ่งชาวตะวันตกมักเปรียบเทียบขนาดปกติของต่อมลูกหมากว่าเท่ากับขนาดของผลวอลนัท (walnut-size) ตำแหน่งของต่อมลูกหมากจะอยู่ในบริเวณใต้กระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมากทำหน้าที่สร้างสารที่เป็นของเหลวประมาณ 30% ของน้ำอสุจิ

ด้วยเหตุที่ต่อมลูกหมากจะห่อหุ้มท่อปัสสาวะส่วนต้นไว้ ดังนั้นเมื่อต่อมลูกหมากโตขึ้นก็อาจกดทับท่อปัสสาวะให้ตีบเล็กลง ส่งผลให้คนไข้มีอาการปัสสาวะติดขัด นอกจากนี้ต่อมลูกหมากโตอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผนังกล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะหนาขึ้น เนื่องจากต้องบีบตัวแรงขึ้นเพื่อขับน้ำปัสสาวะให้ผ่านท่อแคบๆ และเมื่อผนังกระเพาะปัสสาวะหนาตัวขึ้นก็จะส่งผลต่อความสามารถในการกักเก็บน้ำปัสสาวะลดลง คนไข้จึงต้องปัสสาวะบ่อย และอาจได้รับการกระตุ้นให้ปวดปัสสาวะขึ้นมาอย่างกะทันหันได้

โรคต่อมลูกหมากโตเป็นโรคที่พบได้เป็นปกติ และการเกิดขึ้นมักจะสัมพันธ์กับอายุ มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่า 50% ของผู้ชายที่เป็นโรคต่อมลูกหมากนั้นมีอายุประมาณ 60 ปี

ที่ผ่านมายังไม่มีหลักฐานที่แสดงชัดว่าโรคต่อมลูกหมากโตจะนำไปสู่โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก แต่อย่างไรก็ตามอาการของความผิดปกติทั้งในต่อมลูกหมากโตและมะเร็งต่อมลูกหมากนั้นมีความคล้ายกัน และอาจเป็นไปได้ว่าภาวะต่อมลูกหมากโตและมะเร็งต่อมลูกหมากจะเกิดขึ้นในขณะเดียวกันได้ โรคต่อมลูกหมากโตนี้สามารถรักษาได้
 


Layout-Enlarged-Prostate-infographic-01.jpg
  • ยังไม่มีหลักฐานยืนยันถึงสาเหตุที่แน่ชัด
  • อาจสัมพันธ์กับระดับฮอร์โมนเพศชาย
  • ปัสสาวะบ่อยหรือต้องการปัสสาวะทันที
  • ปัสสาวะนาน ปัสสาวะอ่อน ปัสสาวะสะดุด (ขัดเบา) ปัสสาวะเป็นหยดๆ
  • รู้สึกปวดขณะถ่ายปัสสาวะ
  • ปัสสาวะหลายครั้งในตอนกลางคืน
  • มีเลือดปนออกมาในปัสสาวะ
  • การตรวจสอบร่างกายและซักประวัติคนไข้โดยละเอียด ซึ่งรวมไปถึงการตรวจต่อมลูกหมากทางทวารหนัก(Digital Rectal Examination) ซึ่งแพทย์จะใช้นิ้วสวมถุงมือสอดเข้าไปในทวารหนักและกดลงบนต่อมลูกหมากเพื่อตรวจและประเมินขนาดของต่อมลูกหมากว่าผิดปกติหรือไม่
  • ทำการทดสอบเพื่อวัดอัตราการไหลของปัสสาวะ
  • ตรวจเพาะเชื้อจากปัสสาวะ
  • วัดปริมาณปัสสาวะที่เก็บอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ
  • หากมีอาการเพียงเล็กน้อย ก็ไม่จำเป็นต้องรักษา
  • ควรงดดื่มของเหลวหรือแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเกินไปโดยเฉพาะในเวลากลางคืน
  • แพทย์อาจะสั่งยาบางชนิดให้ เช่น Proscar (finasteride) ซึ่งช่วยให้ต่อมลูกหมากมีขนาดเล็กลง หรือยาคลายกล้ามเนื้อเรียบในต่อมลูกหมากให้อ่อนตัวลง (alpha-blockers)
  • การรักษาด้วยการผ่าตัด หากรับประทานยาแล้วอาการไม่ดีขึ้นหรือมีอาการข้างเคียงจากยามากหรือยังมีอาการแทรกซ้อนที่ทางเดินปัสสาวะซ้ำๆ เช่น การอักเสบติดเชื้อ ปัสสาวะเหลือค้างในกระเพาะปัสสาวะเยอะมากหลังจากปัสสาวะสุดไปแล้ว ทำให้การทำงานของไตแย่ลงหรือมีเลือดออกปนในปัสสาวะ แพทย์จะพิจารณาเลือกวิธีการผ่าตัดรักษาซึ่งมีหลายวิธีด้วยกัน เช่น
  • การรักษาโรคต่อมลูกหมากโตด้วยไอน้ำ
  • การรักษาต่อมลูกหมากโตด้วยเทคนิคยูโรลิฟท์ (UROLIFT)
  • ในกรณีที่ต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่มากผิดปกติ แพทย์อาจจำเป็นต้องใช้วิธีการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้องเพื่อนำเอาเนื้อเยื่อส่วนเกินออกมา
  • ยังไม่มีทางป้องกันภาวะการเกิดต่อมลูกหมากโต
แก้ไขล่าสุด: 10 มิถุนายน 2567

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์ทางเดินปัสสาวะ

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 8.86 of 10, จากจำนวนคนโหวต 154 คน

Related Health Blogs