bih.button.backtotop.text

การตัดชิ้นเนื้อจากต่อมลูกหมากโดยใช้อัลตราซาวด์ผ่านทางทวารหนัก

การตัดชิ้นเนื้อจากต่อมลูกหมากโดยใช้อัลตราซาวด์ผ่านทางทวารหนัก เป็นวิธีการนำชิ้นเนื้อจากต่อมลูกหมากของผู้ป่วยมาทำการตรวจทางพยาธิวิทยา ในการตัดชิ้นเนื้อนั้นแพทย์จะใช้อุปกรณ์อัลตราซาวด์สอดเข้าไปทางทวารหนักเพื่อทำการสแกนและถ่ายภาพต่อมลูกหมาก โดยแพทย์จะสอดเข็มผ่านทางอุปกรณ์อัลตราซาวด์เพื่อหาตำแหน่งและทำการตัดชิ้นเนื้อจากต่อมลูกหมากของผู้ป่วยออกมา

จุดประสงค์/ประโยชน์ของการทำหัตถการ
การตัดชิ้นเนื้อจากต่อมลูกหมากโดยใช้อัลตราซาวด์ผ่านทางทวารหนักมักใช้เพื่อช่วยในการวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมากเมื่อมีระดับค่าพีเอสเอ (prostate-specific antigen: PSA) สูงกว่าปกติ หรือแพทย์คลำพบบริเวณที่ผิดปกติในระหว่างการตรวจต่อมลูกหมากทางทวารหนัก หรือพบความผิดปกติซึ่งสงสัยมะเร็งต่อมลูกหมากจากการทำ magnetic resonance imaging (MRI) - ultrasound fusion targeted biopsy หรือผู้ที่มีอาการเฉพาะเจาะจง เช่น ปัสสาวะติดขัด
การตัดชิ้นเนื้อจากต่อมลูกหมากโดยใช้อัลตราซาวด์ผ่านทางทวารหนักจะทำเพื่อ
  • ตรวจหาบริเวณที่ผิดปกติในต่อมลูกหมาก
  • นำทางเข็มในระหว่างการตัดชิ้นเนื้อเพื่อเก็บตัวอย่างจากต่อมลูกหมาก
  • ดูขนาดและรูปร่างของต่อมลูกหมาก
  • การติดเชื้อ (พบประมาณ 2 ใน 100 ราย) ความเสี่ยงจากการติดเชื้อ ณ ตำแหน่งที่ตัดชิ้นเนื้อมีสาเหตุมาจากการตัดชิ้นเนื้อผ่านลำไส้ใหญ่ซึ่งเป็นบริเวณที่ไม่สะอาดอาจมีการปนเปื้อน ดังนั้นแพทย์จะสั่งยาปฏิชีวนะให้รับประทานก่อนและหลังทำหัตถการเพื่อลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อ หากผู้ป่วยมีไข้สูงควรมาพบแพทย์
  • ภาวะเลือดออกในท่อทางเดินปัสสาวะหรือผนังกระเพาะปัสสาวะ (มักเรียกว่าภาวะที่มีลิ่มเลือดคั่งในทางเดินปัสสาวะ) พบประมาณ 5 ใน 100 รายที่เกิดภาวะเลือดคั่งซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดอาการปัสสาวะลำบากหรือปัสสาวะบ่อย ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถถ่ายปัสสาวะได้ ควรรีบมาพบแพทย์
  • ภาวะมีเลือดปนในปัสสาวะ ในระยะ 2-3 สัปดาห์หลังการตัดชิ้นเนื้อ ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาจพบภาวะมีเลือดปนออกมากับปัสสาวะได้ หากมีอาการดังกล่าวนานเกินกว่า 2-3 สัปดาห์ควรรีบมาพบแพทย์
  • ภาวะเลือดออกทางทวารหนัก เป็นความเสี่ยงที่พบได้บ่อย ประมาณ 8 ใน 10 รายมักพบภายใน 1-2 วันแรกหลังการตัดชิ้นเนื้อ อาการนี้ไม่ควรนานเกิน 2 สัปดาห์ ถ้าพบว่ามีเลือดออกปริมาณมากหรือมีเลือดปนลิ่มเลือดขนาดใหญ่ปนออกมาทางทวารหนักหลังทำหัตถการ ให้รีบมาพบแพทย์ทันที
  • ภาวะมีเลือดปนในน้ำอสุจิ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีเลือดปนออกมากับน้ำอสุจิเป็นเวลาประมาณ 6 สัปดาห์หลังทำหัตถการ หากอาการดังกล่าวปรากฏอยู่นานกว่าเวลาที่แพทย์อธิบายไว้ ให้รีบมาพบแพทย์
  • ก่อนการเดินทางมารักษา ถ้าผู้ป่วยรับประทานยาละลายลิ่มเลือด/ยาต้านการแข็งตัวของเลือดควรปรึกษาแพทย์เพื่อหยุดยา
  • ผู้ป่วยชาวต่างชาติควรอยู่ในประเทศไทยอย่างน้อย 1 สัปดาห์หรือตลอดระยะเวลาการรักษา
  • หากท่านมีแผนการเดินทางหลังทำหัตถการ โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนทำการจองการเดินทาง ผู้ป่วยสามารถเดินทางโดยสารโดยเครื่องบินได้ ไม่มีข้อจำกัดใดๆ
  • ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจร่างกายและดูแลแผลผ่าตัดในวันนัด และได้รับเอกสารสรุปประวัติการรักษา เอกสาร Fit to Fly (ถ้าผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้ก่อนขึ้นเครื่อง)
ความสำเร็จขึ้นกับปัจจัยหลายประการ หากมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์
 
หากไม่ทำหัตถการนี้จะเกิดอะไรขึ้น
การตัดชิ้นเนื้อจะช่วยในการวินิจฉัยและค้นหาภาวะของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก และช่วยในการวินิจฉัยภาวะต่างๆ เช่น ทั้งนี้จะช่วยให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้อง หากผู้ป่วยไม่ต้องการเข้ารับการรักษา ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
 
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการอื่นที่เป็นมาตรฐานในการวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมาก
 
แก้ไขล่าสุด: 30 พฤศจิกายน 2567

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์ศัลยกรรม

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์มะเร็งฮอไรซัน

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์ทางเดินปัสสาวะ

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 2.00 of 10, จากจำนวนคนโหวต 1 คน

Related Health Blogs