bih.button.backtotop.text

ภาวะปากมดลูกตีบ

ปากมดลูก (uterine cervix) จะมีรูเปิดเพื่อเป็นทางผ่านของสารคัดหลั่งและประจำเดือนที่ออกมาจากโพรงมดลูก ภาวะปากมดลูกตีบ ( Cervical stenosis ) เป็นความผิดปกติทางระบบสืบพันธุ์ ซึ่งมีการตีบของปากมดลูกทำให้ของเหลวเหล่านั้นคั่งค้างภายในโพรงมดลูก หญิงบางคนอาจไม่มีอาการผิดปกติ แต่บางคนก็อาจเกิดอาการรุนแรงได้

อาการของโรค
  • ปวดท้องน้อยเรื้อรัง
  • มีประจำเดือนมาน้อย เลือดออกกะปริบกะปรอย แต่หากปากมดลูกปิดสนิท ก็จะไม่มีประจำเดือนเลย
  • เมื่อมีประจำเดือนจะปวดท้องมาก เนื่องจากเลือดประจำเดือนไหลออกมาไม่สะดวก
  • อาจคลำพบก้อนที่ท้องน้อย
  • อาจมีไข้หนาวสั่น เนื่องจากเกิดการอักเสบในโพรงมดลูก
  • มีเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ เนื่องจากเลือดประจำเดือนไหลเข้าไปในช่องท้องและท่อนำไข่ จึงอาจมีเยื่อบุมดลูกเจริญในรังไข่หรืออุ้งเชิงกรานได้
  • มีบุตรยากเนื่องจากอสุจิจะเข้าผสมกับไข่ในโพรงมดลูกได้ลำบาก
  • คลอดบุตรยาก เพราะปากมดลูกไม่สามารถขยายตัวได้
  1. เป็นความผิดปกติแต่กำเนิด (Congenital cervical stenosis)
  2. เกิดขึ้นภายหลังจากปัจจัยต่างๆ (Acquire cervical stenosis) ซึ่งปัจจัยที่ว่า ได้แก่
  • ปากมดลูกอักเสบ ทำให้เกิดพังผืดขึ้นบริเวณปากมดลูก และทำให้รูปากมดลูกตีบแคบลง
  • ปากมดลูกฉีกขาด ซึ่งอาจเกิดระหว่างการขูดมดลูก ทำให้ปากมดลูกผิดรูป และเกิดพังผืดมาปิดกั้นบริเวณรูเปิดได้
  • มะเร็งปากมดลูก ทำให้เซลล์เยื่อบุมดลูกเจริญมากกว่าปกติ และปิดทับรูเปิดปากมดลูก นอกจากนี้ การรักษามะเร็งปากมดลูกโดยการฉายรังสีก็มีโอกาสทำให้ปากมดลูกตีบได้
  • อยู่ในช่วงวัยทอง เมื่อร่างกายมีฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ปากมดลูกจะขาดความยืดหยุ่นและชุ่มชื้น จนอาจเกิดการตีบแคบลงได้
ขึ้นอยู่กับสาเหตุ ความรุนแรง และลักษณะการตีบของปากมดลูก
  • การถ่างขยายรูเปิดปากมดลูก เป็นวิธีโดยทั่วไปที่ใช้รักษาปากมดลูกตีบแต่กำเนิด
  • ในกรณีที่เกิดพังผืดปิดกั้นปากมดลูก อาจต้องใช้เลเซอร์หรือไฟฟ้า จี้ตัดพังผืดส่วนนั้นออก
  • หากเป็นมะเร็งปากมดลูก หรือเนื้องอกขนาดใหญ่ จะต้องทำการผ่าตัดออก หรือฉายรังสีเพื่อบำบัด
  • ถ้ามีการอักเสบและติดเชื้อที่ปากมดลูกหรือในโพรงมดลูก อาจต้องทานยาปฏิชีวนะ
  • หากภาวะปากมดลูกตีบมีความรุนแรง สร้างความทรมาน และไม่สามารถใช้วิธีถ่างขยายรูเปิดได้ อาจต้องตัดมดลูกออก
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
  • ดูแลความสะอาดของอวัยวะเพศให้ดี
  • หลีกเลี่ยงการสวนล้างช่องคลอด เพื่อป้องกันการอักเสบและติดเชื้อเพิ่มเติม
  • หากมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ปวดท้องน้อยอย่างรุนแรง ก็ควรรีบมาพบแพทย์
หลีกเลี่ยงการสวนล้างช่องคลอด และดูแลความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์ให้ดีเพื่อป้องกันการติดเชื้ออักเสบที่ปากมดลูก โดย
หลีกเลี่ยงการทำหัตถกรรมบริเวณปากมดลูกซ้ำๆ โดยไม่จำเป็น เช่น การขูดมดลูก ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก
 

Related Treatments

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์สูติ-นรีเวช

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs