bih.button.backtotop.text

การย้ายตัวอ่อน (Embryo Transfer)

การย้ายตัวอ่อน (ET) เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการทำ IVF เป็นการนำตัวอ่อนที่มีการปฏิสนธิแล้วย้ายไปยังโพรงมดลูกเพื่อรอการฝังตัว

การย้ายตัวอ่อนทำได้กี่วิธี มีความแตกต่างกันอย่างไร
การย้ายตัวอ่อนทำได้ 2 วิธีคือการย้ายตัวอ่อนรอบสดและการย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็ง ทั้ง 2 วิธีมีขั้นตอนที่เหมือนกัน ต่างกันที่วิธีการเตรียมโพรงมดลูกก่อนการย้ายตัวอ่อน โดยแพทย์จะใช้เครื่องอัลตร้าซาวด์ช่วยกำหนดตำแหน่งในการใส่ตัวอ่อนแล้วจึงย้ายตัวอ่อนผ่านสายที่มีขนาดเล็กยาวโค้งงอได้ผ่านทางช่องคลอดและปากมดลูกเพื่อไปยังโพรงมดลูก หากการย้ายตัวอ่อนประสบความสำเร็จ ตัวอ่อนจะฝังตัวที่โพรงมดลูกภายในระยะเวลา 6-10 วัน
 
  • การย้ายตัวอ่อนรอบสด (Fresh ET) สามารถทำได้ตั้งแต่วันที่ 2 ถึงวันที่ 5 หลังจากที่ไข่ปฏิสนธิกับสเปิร์มเรียบร้อยแล้ว
  • การย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็ง (Frozen-thawed ET) สำหรับผู้ที่ไม่สามารถย้ายตัวอ่อนในรอบสดได้ เช่น ไม่สะดวกในการย้ายตัวอ่อนรอบสด มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป (OHSS) ตัวอ่อนได้รับการตรวจโครโมโซม การย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็งไม่มีผลต่ออัตราการฝังตัวของตัวอ่อน (Implantation Rate) อัตราการตั้งครรภ์ (Clinical Pregnancy Rate) และอัตราการคลอดมีชีพ (Live Birth Rate) หรือเพิ่มอัตราการแท้ง (Miscarriage Rate) ปัจจุบันพบว่าอัตราการตั้งครรภ์ในการย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็งมีมากกว่าตัวอ่อนรอบสด

การเตรียมโพรงมดลูกเพื่อย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็งทำได้ 2 วิธีดังนี้
 
  • การเตรียมโพรงมดลูกแบบธรรมชาติ (Natural Frozen-thawed Embryo Transfer) โดยใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนจากรังไข่ในการเตรียมมดลูก แพทย์จะตรวจเลือดเพื่อวัดระดับฮอร์โมนและตรวจอัลตร้าซาวด์ทางช่องคลอดเพื่อคาดคะเนวันไข่ตก
  • การเตรียมโพรงมดลูกด้วยยา (Artificial or Medicated Embryo Transfer) โดยใช้ยาฮอร์โมนเอสโตรเจนจากภายนอกและอาจมียาฉีดเพื่อลดการทำงานของรังไข่ชั่วคราวในบางราย

การย้ายตัวอ่อนรอบสด (Fresh ET)

ข้อดี
  • เหมาะกับคนไข้ที่ไม่สามารถใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนหรือร่างกายไม่สามารถตอบสนองฮอร์โมนเอสโตรเจนได้ดี
  • เป็นกระบวนการที่เป็นธรรมชาติมากกว่า
  • ประหยัดค่าใช้จ่ายเพราะไม่ต้องใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนและอาจไม่มีค่าใช้จ่ายในการแช่แข็ง
ข้อเสีย
  • สถิติพบว่าอัตราความสำเร็จต่ำกว่าวิธีการแช่แข็ง
  • เหมาะสมเฉพาะกับคนไข้ที่มีประจำเดือนมาเป็นปกติเพราะจะนับวันตกไข้ได้แม่นยำกว่า
  • ความยืดหยุ่นในเรื่องของวันในการย้ายตัวอ่อนน้อยกว่าวิธีการแช่แข็ง
  • ฮอร์โมนในร่างกายอาจยังไม่อยู่ระดับเหมาะสมที่จะพร้อมรับตัวอ่อนสาเหตุจากการกระตุ้นไข่

การย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็ง (Frozen-thawed ET)

ข้อดี
  • มีความยืดหยุ่นในเรื่องของวันในการย้ายตัวอ่อน
  • จากข้อมูลทางการแพทย์พบว่า การย้ายตัวอ่อนในรอบแช่แข็งให้อัตราการตั้งครรภ์ดีกว่าการย้ายตัวอ่อนในรอบสด
ข้อเสีย
  • มีค่าใช้จ่ายมากกว่า
  • ต้องรอผลตรวจโครโมโซม จึงจำเป็นต้องใส่ตัวอ่อนในรอบถัดไป
หลังจากย้ายตัวอ่อน แพทย์จะให้ยาฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (progesterone) เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสและพยุงการตั้งครรภ์ และจะหยุดยาหลังจากมีการตั้งครรภ์และร่างกายผลิตฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนได้เองอย่างเพียงพอ
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นมีได้ดังนี้
  • มีของเหลวไหลหรือเลือดไหลออกมาเล็กน้อยหลังการย้ายตัวอ่อนจากการทำความสะอาดปากมดลูกก่อนย้ายตัวอ่อน
  • เจ็บ/ปวดเต้านมจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่สูง
  • ท้องอืดเล็กน้อย
  • ปวดเกร็งท้องเล็กน้อย
  • ท้องผูก
หลังจากย้ายตัวอ่อนประมาณ 7 -14 วัน แพทย์จะตรวจเลือดเพื่อดูการตั้งครรภ์ หากตั้งครรภ์สำเร็จ สูตินรีแพทย์จะเป็นผู้ดูแลคนไข้ต่อไป แต่หากตั้งครรภ์ไม่สำเร็จ แพทย์จะให้หยุดการให้ยาฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน
แก้ไขล่าสุด: 16 มีนาคม 2566

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์การเจริญพันธุ์

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs