bih.button.backtotop.text

กระดูกบริเวณรอบข้อสะโพกเทียมหัก (Periprosthetic Fracture After Total Hip Replacement)

สาเหตุและความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกบริเวณรอบข้อสะโพกเทียมหัก
  • อาการเจ็บปวดทันที
  • บวม
  • ผิดรูปของสะโพก หรือต้นขา
  • ความยาวขาข้างเดียวกับสะโพกหรือต้นขาที่ได้รับบาดเจ็บนั้นสั้นลง
  • ไม่สามารถเดินลงน้ำหนักได้ตามปกติ
  • ซักประวัติการผ่าตัดครั้งก่อนและตรวจร่างกาย
  • เอกซเรย์แบบมาตรฐาน
  • เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ นอกจากช่วยประเมินตำแหน่งกระดูกที่หักแล้ว ยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงของข้อสะโพกเทียมและคุณลักษณะของกระดูกโดยรอบข้อเทียมได้อีกด้วย
ขึ้นอยู่กับ ตำแหน่งกระดูกที่หัก ความมั่นคงของข้อสะโพกเทียมและคุณลักษณะของกระดูกโดยรอบข้อเทียม
ส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยมักต้องได้รับรักษาด้วยการผ่าตัด
  1. ผ่าตัดใส่เหล็กยึดตรึงกระดูก ใช้ในกรณีที่มีการหักเคลื่อนของกระดูกรอบข้อสะโพกเทียม แต่ข้อสะโพกเทียมนั้นยังมีความมั่นคง ยึดแน่นดีอยู่กับกระดูกของผู้ป่วย
  2. ผ่าตัดซ่อมเสริมหรือเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมใหม่  ทำเมื่อกระดูกที่หักนั้นผ่านบริเวณตำแหน่งที่ยึดของข้อเทียมกับกระดูก จนทำให้ข้อสะโพกเทียมนั้นขยับได้ เกิดความไม่มั่นคง ไม่สามารถทำหน้าที่รับน้ำหนักได้ตามปกติ
  3. ทั้งข้อ 1 และข้อ 2  หรือบางครั้งอาจต้องใช้กระดูกจากบริเวณอื่นของผู้ป่วยเอง กระดูกจากการบริจาค วัสดุทดแทนกระดูกหรือกระดูกเทียม มาเสริมเพื่อให้เกิดความแข็งแรงมากขึ้น
แก้ไขล่าสุด: 25 สิงหาคม 2565

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์เวชศาสตร์การกีฬาและข้อ

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs