bih.button.backtotop.text

เวชศาสตร์นิวเคลียร์

เวชศาสตร์นิวเคลียร์ เป็นสาขาของรังสีวิทยาซึ่งใช้ประโยชน์จากสารกัมมันตรังสีหรือสารเภสัชรังสี เพื่อการตรวจวินิจฉัยโรคหรือตรวจแยกอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย การรักษาโรค และการติดตามสภาวะของโรค โดยการตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์มีข้อดีคือใช้ตรวจการทำงานของอวัยวะและตรวจวินิจฉัยโรคได้ถึงระดับโมเลกุลซึ่งเป็นโครงสร้างที่เล็กที่สุดของร่างกาย จึงสามารถตรวจพบความผิดปกติได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของโรค

การตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์จะเริ่มจากการที่ผู้ป่วยได้รับการบริหารสารเภสัชรังสี (สารกัมมันตรังสีที่ติดฉลากกับสารที่เหมือนองค์ประกอบสารอินทรีย์พื้นฐานในร่างกาย) โดยการฉีด หรือการรับประทาน หรือการสูดหายใจเข้าไป ดังนั้นจึงต้องมีการเลือกใช้สารเภสัชรังสีให้เหมาะสมกับอวัยวะที่ต้องการตรวจวินิจฉัย ซึ่งสารเหล่านี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะเข้าไปสะสมในรอยโรคหรืออวัยวะเป้าหมาย พร้อมทั้งแผ่รังสีแกมมาออกมา (รังสีที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า) โดยรังสีแกมมาจะแสดงตำแหน่งที่ปกติและผิดปกติภายในร่างกาย จากนั้นจึงใช้เครื่องถ่ายภาพที่ใช้เป็นอุปกรณ์ชนิดพิเศษทำการตรวจวัดรังสีแกมมาและบันทึกเอาไว้ในรูปสัญญาณแสง แล้วนำมาสร้างเป็นภาพส่วนต่างๆ ของร่างกายผ่านการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อให้รังสีแพทย์ด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์แปลผล

จุดประสงค์/ประโยชน์ของการทำหัตถการ
  1. ช่วยในการตรวจวินิจฉัยในโรคได้หลากหลาย เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ตรวจการทำงานของหัวใจห้องล่าง (เวนตริเคิล) ตรวจการอุดกั้นในทางเดินปัสสาวะ ตรวจการทำงานของไต โรคของต่อมไทรอยด์ โรคมะเร็งหลายชนิดและการลุกลามของมะเร็ง โรคของกระดูก โรคลมชัก หรือโรคอื่นๆ ที่เน้นอวัยวะเป้าหมาย
  2. ช่วยในการแยกโรคบางชนิด เช่น ต่อมไทรอยด์เป็นพิษกับต่อมไทรอยด์อักเสบ
  3. ใช้ในการรักษาโรคของอวัยวะเป้าหมายที่มีประสิทธิภาพ เช่น การรักษาภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษหรือมะเร็งของต่อมไทรอยด์ด้วยไอโอดีนรังสี การใช้อนุภาคเรซินไมโครสเฟียร์เคลือบอิตเทรียมรังสี (Yttrium-90 sphere) เพื่อการรักษาเนื้องอกในตับ การใช้สารกัมมันตรังสีเรเดียม-223 ไดคลอไรด์ (Radium-223 dichloride) ในการบรรเทาอาการปวดกระดูกจากการลุกลามของมะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นต้น
  1. การตรวจวินิจฉัยทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์เป็นการตรวจที่มีความเสี่ยง ภาวะแทรกซ้อน หรือปัญหาที่เกิดขึ้นจากการตรวจน้อยมาก เพราะสารประกอบที่อยู่ในสารเภสัชรังสีเป็นสารที่เป็นส่วนประกอบในร่างกายหรือร่างกายใช้ในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว
  2. ปริมาณรังสีในการตรวจวินิจฉัยและการรักษาทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ จะถูกควบคุมให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยโดยนักเวชศาสตร์นิวเคลียร์และรังสีแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์
  3. ในกรณีที่ผู้ป่วยตั้งครรภ์หรือสงสัยว่าตั้งครรภ์ภายหลังจากได้รับการตรวจหรือรักษาอย่างน้อย 30 วัน ควรรีบกลับมาปรึกษาแพทย์ พยาบาล หรือเจ้าหน้าที่เพื่อคำนวณปริมาณรังสีที่ทารกจะได้รับ
  1. ไม่ควรนำเด็กหรือสตรีมีครรภ์มาด้วย
  2. สารเภสัชรังสีที่อยู่ในร่างกายจะสลายตัวหมดภายในเวลาประมาณ 10 – 48 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับชนิดของสารเภสัชรังสี ซึ่งการตรวจวินิจฉัยส่วนใหญ่จะใช้สารเภสัชรังสีที่สลายตัวออกจากร่างกายได้เร็ว
  3. ขั้นตอนทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ไม่เหมาะสมกับสตรีมีครรภ์หรือสตรีที่ต้องให้นมบุตร เพราะปริมาณรังสีที่ปลอดภัยกับมารดาอาจไม่ปลอดภัยกับทารกในครรภ์ ในกรณีที่กำลังให้นมบุตร ต้องหยุดให้นมบุตรอย่างน้อย 3 วัน ขึ้นอยู่กับชนิดของสารเภสัชรังสีที่ตรวจหรือรักษา
  1. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
  2. การตรวจเอกซเรย์
  3. การตรวจชิ้นเนื้อ
  4. การตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computerized Tomography: CT)
  5. การตรวจด้วยเครื่องกำทอนแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging: MRI)
  6. การตรวจเพท/ซีที (Positron Emission Tomography/Computerized Tomography; PET/CT)
แก้ไขล่าสุด: 16 กุมภาพันธ์ 2564

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์วินิจฉัยและบำบัดรักษา

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 10.00 of 10, จากจำนวนคนโหวต 6 คน

Related Health Blogs