bih.button.backtotop.text

มะเร็งหลอดอาหาร

มะเร็งหลอดอาหาร เกิดขึ้นเมื่อเซลล์เติบโตผิดปกติจนกลายเป็นเนื้อร้าย โดยจะเกิดจากเนื้อเยื่อชั้นในโตออกสู่ผนังด้านนอก ถ้ามะเร็งกระจายผ่านผนังหลอดอาหารจะสามารถเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง เส้นเลือดใหญ่ในทรวงอก และอวัยวะใกล้เคียง มะเร็งหลอดอาหารยังสามารถกระจายสู่ปอด ตับ กระเพาะอาหาร และส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ 

ชนิดของมะเร็งหลอดอาหาร
  • Squamous cell carcinoma เกิดจากเซลล์เยื่อบุผนังหลอดอาหาร มักเกิดที่ส่วนต้นและส่วนกลางของหลอดอาหาร
  • Adenocarcinoma เกิดจากส่วนที่เป็นต่อมในส่วนปลายของหลอดอาหาร
  • ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของมะเร็งหลอดอาหาร แต่มีหลายปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคได้ อาทิ
  • อายุ ผู้ที่มีอายุระหว่าง 45-70 ปีมีความเสี่ยงสูงสุด
  • เพศ เพศชายมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าเพศหญิง 3 เท่า
  • การสูบบุหรี่ ความเสี่ยงจะเพิ่มมากขึ้นตามปริมาณและระยะเวลาที่สูบบุหรี่
  • การดื่มแอลกอฮอล์ เพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคมะเร็งหลอดอาหารโดยเฉพาะชนิด squamous cell
  • ภาวะของหลอดอาหารที่เรียกว่า Barrett’s esophagus ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดในผู้ที่มีการอักเสบของหลอดอาหารจากกรดในกระเพาะอาหารทำลายเซลล์บุผนังหลอดอาหาร ทำให้เกิดมะเร็งชนิด adenocarcinoma ได้
  • การรับประทานอาหารที่มีผัก ผลไม้ และแร่ธาตุต่ำ
  • ภาวะอ้วน

มะเร็งหลอดอาหารในระยะเริ่มต้นมักไม่ค่อยก่อให้เกิดอาการ แต่เมื่อเป็นมากขึ้นอาจมีอาการแสดงดังนี้

  • กลืนอาหารลำบาก โดยเฉพาะเมื่อรับประทานอาหารแข็ง เช่น เนื้อสัตว์ ขนมปัง หรือผักสด แต่เมื่อโรคลุกลามขึ้นจนก้อนมะเร็งไปอุดตันทางเดินอาหารก็จะทำให้เกิดอาการเจ็บ แม้แต่การดื่มน้ำ
  • แน่นหน้าอกหรือแสบร้อนในช่องอก
  • รู้สึกท้องอืด อาหารไม่ย่อย
  • คลื่นไส้
  • สำลักหลังกลืนอาหาร
  • น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ไอ
  • เจ็บบริเวณกระดูกหน้าอกหรือในลำคอ
  • การซักประวัติและการตรวจร่างกาย
  • การกลืนแป้งสารทึบแสง เป็นวิธีการตรวจโดยให้ผู้ป่วยกลืนน้ำที่ผสมด้วยสารทึบแสงคล้ายแป้ง ซึ่งจะไปเคลือบหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก และทำการถ่ายภาพเอกซเรย์เป็นระยะๆ ทำให้สามารถมองเห็นก้อนเนื้อหรือความผิดปกติอื่นๆ ได้
  • การส่องกล้องระบบทางเดินอาหารส่วนต้น หากตรวจพบสิ่งผิดปกติหรือสิ่งที่น่าสงสัยสามารถตัดชิ้นเนื้อเพื่อนำไปตรวจสอบต่อไปได้
  • การตัดชิ้นเนื้อตรวจทางพยาธิวิทยา ซึ่งมักจะทำระหว่างการส่องกล้องทางเดินอาหาร
  • การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) ซึ่งจะแสดงภาพอวัยวะภายในแบบสามมิติ ช่วยให้แพทย์สามารถเห็นตำแหน่งของโรคและการกระจายของโรคได้ละเอียดมากกว่าการเอกซเรย์ธรรมดา

การรักษามะเร็งหลอดอาหารจะอาศัยทีมแพทย์ในสาขาต่างๆ เช่น ศัลยแพทย์ รังสีแพทย์ และอายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็ง มาร่วมกันวางแผนการรักษาให้เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย โดยปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกวิธีการรักษาของแพทย์ เช่น

  • ขนาด ตำแหน่ง และลักษณะของเซลล์มะเร็ง
  • ระยะโรคและการกระจายของมะเร็ง
  • สุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์มะเร็งฮอไรซัน

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์ทางเดินอาหาร-ตับ

ดูเพิ่มเติม

แผนกผู้ป่วยหนัก (ICU)

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดบำรุงราษฎร์

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 9.72 of 10, จากจำนวนคนโหวต 113 คน

Related Health Blogs