bih.button.backtotop.text

แนวทางการเลือกอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน สำหรับสถานการณ์การระบาดของไวรัส COVID-19

ผู้ป่วยเบาหวานจำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษในช่วง Covid-19 พบกับคำแนะนำจากโภชนากรเกี่ยวกับอาหารที่เหมาะสม และที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานค่ะ

ลักษณะอาหารที่ควรเลือกซื้อสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน


แนวทางการเลือกอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
สำหรับสถานการณ์การระบาดของไวรัส COVID-19

 
ไวรัสโคโรน่า สามารถก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ตั้งแต่โรคหวัดธรรมดาจนถึงโรคที่ทำให้เกิดความเจ็บป่วยอย่างรุนแรง  โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน โรคปอดเรื้อรัง และผู้สูงอายุ หากได้รับเชื้อไวรัสจะมีอาการรุนแรงกว่าคนที่สุขภาพร่างกายปกติทั่วไป
 
ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน เมื่อเจ็บป่วยหรือมีภาวะเครียด ฮอร์โมนจะถูกกระตุ้นเพื่อให้ร่างกายนำน้ำตาลที่เก็บสะสมไว้มาใช้เป็นพลังงาน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น แต่ในขณะเดียวกันร่างกายไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลินมาควบคุบระดับน้ำตาลได้ทั้งหมด ดังนั้นจึงจำเป็นต้องควบคุมระดับน้ำตาลโดยการเลือกซื้ออาหารและรับประทานอาหารให้เหมาะสม
 

ลักษณะอาหารที่ควรเลือกซื้อสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

  1. กลุ่มพืชตะกูลถั่วถั่วเปลือกแข็ง ถั่วแดงถั่วปินโตถั่วดำถั่วลูกไก่ ซึ่งมีใยอาหารสูง ช่วยให้อิ่มท้องนาน และสามารถช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดได้ดี
  2. เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ เนื้อสัตว์กระป๋อง เช่น ทูน่า ไก่ และไข่ไก่ เป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพสูง สามารถใส่ในซุป สลัด ง่ายต่อการเตรียมและรับประทาน
  3. ผักและผลไม้ ผักและผลไม้เป็นแหล่งของใยอาหารที่สำคัญที่สามารถช่วยควบคุมระดับไขมัน คอเลสเตอรอล และน้ำตาลในกระแสเลือดได้  เมื่อเปรียบเทียบกันระหว่าง ผักผลไม้สด ผักผลไม้แช่แข็ง และที่บรรจุกระป๋อง พบว่าผักผลไม้สดจะมีวิตามินและสารอาหารมากกว่า แต่สารอาหารก็จะค่อย ๆ ลดลงเมื่อเวลาผ่านไป แม้ว่าจะเก็บผักและผลไม้ไว้ในตู้เย็นก็ตาม   เช่นเดียวกับอาหารแช่แข็งซึ่งจะสูญเสียสารอาหาร ในช่วงแรกที่ถูกบรรจุหีบห่อ แต่เมื่อนำกลับมาต้มที่บ้าน ก็สูญเสียสารอาหารไปในปริมาณที่ใกล้เคียงกับอาหารกระป๋อง ดังนั้นในช่วงสถานการณ์ที่ไม่สามารถซื้อผักและผลไม้สดก็สามารถเลือกผักและผลไม้แช่แข็งหรือกระป๋องเป็นทางเลือกแทนได้
  4. กลุ่มข้าวแป้งไม่ขัดสี ในช่วงที่ต้องกักตุนอาหารอย่าลืมคำนึงถึงประเภทของอาหารที่เลือกซื้อ แนะนำให้เลือกกลุ่มของธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต ขนมปังโฮลวีท เป็นต้น ซึ่งจะมีวิตามินและใยอาหารมากกว่าแบบขัดสี ถึงอย่างไรก็ตามแม้ว่ากลุ่มข้าว และธัญพืชที่ไม่ขัดสีจะมีประโยชน์มากกว่าแต่ยังคงมีปริมาณน้ำตาลอยู่ ดังนั้นนอกจากเลือกให้ถูกประเภทแล้วยังต้องคำนึงถึงปริมาณที่รับประทานด้วย
  5. ขนมขบเคี้ยว เลือกเป็นขนมเพื่อสุขภาพ เช่น ขนมปังโฮลวีทอบกรอบ หรือขนมสูตรน้ำตาลน้อย ถั่วและธัญพืช(ไม่โรยเกลือ)ป๊อบคอร์น เก็บได้นาน ทานได้สะดวก
  6. เครื่องดื่มผสมน้ำตาล น้ำผลไม้ รวมไปถึงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เช่น น้ำหวาน รวมไปถึง ลูกอม และเยลลี่ เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยเบาหวานเมื่อมีภาวะน้ำตาลต่ำระหว่างวัน จะมีอาการเช่น เหงื่อออก ใจสั่น การดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลจะไปเพิ่มน้ำตาลในกระแสเลือด
  7. ยาสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ต้องให้แน่ใจว่าในช่วงที่ต้องกักตัวอยู่ที่บ้าน หรือเกิดเหตุการณ์ที่ไม่สามารถออกมาพบหมอได้ จะต้องมียาเบาหวานอย่างเพียงพอ และเก็บให้ถูกต้องเหมาะสม
 

อาหารที่ผู้ป่วยเบาหวานควรหลีกเลี่ยง

ในการเลือกซื้ออาหารควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง ไขมันทรานส์ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียมสูง และอาหารที่มีการเติมน้ำตาลเพิ่ม โดยเฉพาะกลุ่มอาหารแปรรูป ขนม ธัญพืชอาหารเช้า(ใส่น้ำตาล) เครื่องดื่มที่ให้พลังงานสูง รวมถึงซอสปรุงรสต่างๆ

 

ข้อควรปฏิบัติยามเจ็บป่วยสำหรับผู้ป่วยเบาหวานเมื่อเกิดภาวะเจ็บป่วยเฉียบพลัน  (Sick- day rules)

  • ดื่มน้ำเปล่าให้มากขึ้น (ถ้าไม่มีข้อห้ามในการจำกัดน้ำ เช่น โรคหัวใจ โรคไต) เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ และช่วยขับน้ำตาลส่วนเกินและคีโตนไปทางปัสสาวะ
  • ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดที่ปลายนิ้วบ่อยขึ้น (ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่หนึ่งควรจะตรวจทุกๆ 4 ชั่วโมงและตรวจคีโตนในปัสสาวะ สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สอง ควรตรวจอย่างน้อย 3 เวลาก่อนอาหารและก่อนนอน)
  • ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย
  • สำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องฉีดอินซูลิน อย่าลืมตรวจติดตามคีโตนในปัสสาวะ
  • ดูแลรักษาสุขภาพร่างกายและพักผ่อนให้เพียงพอ ปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์หรือสหสาขาวิชาชีพอย่างเคร่งครัด
 

Ref: INTERNATIONAL DIABETES FEDERATION
เรียบเรียงโดย นาวสาวสาธิดา เจรียงโรจน์ Dietitian level2


 
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
          8.00-20.00  (BKK Time)
          02-0113984-5 and 02-113991

          20.00-8.00 (BKK Time)
          Contact center +662 066 8888 and  1378
แก้ไขล่าสุด: 18 พฤษภาคม 2565

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs