การส่องกล้องเย็บกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก (Endoscopic Sleeve Gastroplasty:ESG)
การส่องกล้องเย็บกระเพาะอาหารเป็นการลดน้ำหนักด้วยวิธีการแบบใหม่ ซึ่งเลียนแบบประโยชน์ของ
การผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักด้วยวิธี Sleeve Gastrectomy แต่ใช้วิธีการที่ไม่มีแผลผ่าตัดที่หน้าท้อง ดังนั้นจึงลดผลข้างเคียงจากการเกิดอาหารแทรกซ้อนและทำให้คนไข้ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น อย่างไรก็ตามวิธีการนี้ไม่ได้มาทดแทนวิธีการผ่าตัดกระเพาะอาหารแบบมาตรฐาน แต่ถือเป็นทางเลือกอีกอย่างหนึ่งที่ปลอดภัยและได้ผลลัพธ์ที่ดี
ประโยชน์ของการส่องกล้องเย็บกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก
นอกจากช่วยลดน้ำหนักแล้วยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อนที่มากับ
ความอ้วน เช่น
โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคข้อเสื่อม โรคไตวาย โรคมะเร็งและ
โรคหลอดเลือดสมอง
เหมาะสมกับใครบ้าง
การส่องกล้องเย็บกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักไม่ได้เหมาะสมกับคนไข้ที่มีน้ำหนักเกินทุกราย แพทย์จะทำการคัดกรองว่าวิธีการนี้เหมาะสมกับคนไข้หรือไม่และต้องแน่ใจว่าคนไข้พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้มีสุขภาพดียิ่งขึ้นและสามารถมาพบแพทย์เพื่อติดตามอาการตามนัดหมาย โดยทั่วไปคนไข้ที่เหมาะกับวิธีการนี้ คือ
- มีอายุมากกว่า 18 ปี
- มีดัชนีมวลกาย (Body mass index, BMI) ระหว่าง 30 - 40
- คนไข้ที่เคยผ่าตัดกระเพาะอาหารลดน้ำหนักด้วยวิธีการ Roux-en-Y gastric bypass และกลับมาอ้วนอีกครั้ง สามารถใช้วิธีการนี้เย็บซ่อมแซมกระเพาะได้
- ไม่มีภาวะการกินอาหารที่ผิดปกติ (eating disorder) เช่น โรคบูลิเมีย
- ไม่มีปัญหาเลือดออกในทางเดินอาหารและโรคกรดไหลย้อนรุนแรง
- ไม่มีภาวะเลือดไหลไม่หยุด
ต้องเตรียมตัวอย่างไร
ก่อนการทำหัตถการ คนไข้ต้องตรวจร่างกาย เช่น เจาะเลือด ส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ พบแพทย์โรคหัวใจ แพทย์ทางเดินหายใจและปอด รวมถึงวิสัญญีแพทย์เพื่อตรวจร่างกายและประเมินความเสี่ยงจากการเกิดอาการแทรกซ้อนระหว่างการผ่าตัด งดดื่มน้ำและรับประทานอาหารทุกชนิดก่อนการทำหัตถการ 8-12 ชั่วโมง
การส่องกล้องเพื่อเย็บกระเพาะอาหาร ทำได้อย่างไร
แพทย์จะส่องกล้องผ่านทางปากคนไข้ลงไปสู่กระเพาะอาหารหลังจากคนไข้หลับ เป้าหมายคือลดขนาดของกระเพาะเช่นเดียวกับ
การผ่าตัดกระเพาะอาหารด้วยวิธี sleeve gastrectomy โดยแพทย์จะกำหนดตำแหน่งที่จะเย็บก่อน ด้วยการลากเส้นลงบนกระเพาะอาหารทั้งทางด้านหน้าและด้านหลัง หลังจากนั้นแพทย์จะนำอุปกรณ์สำหรับเย็บกระเพาะ (endoscopic suturing system) ที่มีลักษณะเหมือนจะงอยปากเหยี่ยวติดที่ปลายกล้องเพื่อเย็บกระเพาะด้านหน้าและด้านหลังให้ติดกันเป็นรูปตัวยู จนกระทั่งกระเพาะมีขนาดเล็กลงเท่ากับขนาดของกล้วยหอม การผ่าตัดใช้เวลาประมาณ 90 นาที
ควรปฏิบัติตัวอย่างไรหลังการทำหัตถการ
คนไข้ต้องรับประทานอาหารเหลวประมาณ 6 สัปดาห์เพื่อให้แผลสมานกันดี นอกจากนี้แพทย์จะให้ยาลดกรดเพื่อป้องกันแผลแยกออกจากกัน ที่สำคัญคือคนไข้ควรมาพบแพทย์และนักโภชนาการตามนัดหมายอย่างเคร่งครัด
ข้อดีของวิธีการนี้มีอะไรบ้าง
เนื่องจากเป็นหัตถการที่ทำโดยการส่องกล้องเข้าไปทางปากของคนไข้ ดังนั้นจึงมีข้อดีหลายประการ เช่น
- ไม่มีแผลที่หน้าท้อง
- เจ็บน้อยและลดโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากการผ่าตัด
- ฟื้นตัวภายในเวลา 1-3 วันโดยพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลเพียงคืนเดียวก็สามารถกลับบ้านได้
มีโอกาสเกิดผลข้างเคียงหรือไม่
ถึงแม้การส่องกล้องเย็บกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักเป็นวิธีการที่ปลอดภัย แต่อาจมีผลข้างเคียงได้ เช่น
- อาการคลื่นไส้อาเจียน ซึ่งจะหายได้เองภายในเวลาไม่กี่วัน ทั้งนี้แพทย์จะให้ยาป้องกันการอาเจียนทั้งก่อนและระหว่างการส่องกล้อง
- มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะกรดไหลย้อนได้ แต่โอกาสเกิดน้อยกว่าการผ่าตัดกระเพาะแบบมาตรฐาน
- มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนเพียง 1-2%
คาดหวังผลลัพธ์อย่างไรได้บ้าง
การส่องกล้องเย็บกระเพาะอาหารทำให้คนไข้ลดน้ำหนักตัวได้ประมาณ 15% ของน้ำหนักตัวเดิม (total weight loss) ภายในเวลา 1-2 ปี หากคนไข้ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์และนักโภชนาการ นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคที่มาพร้อมกับความอ้วนเพราะทำให้คนไข้มีขนาดรอบเอวที่เล็กลง ระดับน้ำตาลสะสม (
A1C) และระดับ
ไตรกลีเซอไรด์ในเลือด
ลดลง ความดันโลหิตดีขึ้น ตับทำงานได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม อาจไม่ช่วยลด
ไขมันในเลือด (LDL) ได้มากนัก
จุดเด่นของเรา
การส่องกล้องเย็บกระเพาะอาหารเป็นหัตถการที่ต้องอาศัยแพทย์ผู้ชำนาญการหลายสาขาและสหสาขาวิชาชีพที่มีประสบการณ์ในการดูแลรักษาคนไข้ที่เป็นโรคอ้วนทำงานร่วมกันอย่างมืออาชีพจึงจะได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์มีความพร้อมในปัจจัยเหล่านี้อย่างครบครัน ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับของเรามีแพทย์ผู้ชำนาญการด้านการส่องกล้องเย็บกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักโดยเฉพาะที่ได้รับการฝึกฝนมาโดยตรงจากประเทศสหรัฐอเมริกา พร้อมให้คำปรึกษาและดูแลรักษาคนไข้ที่มี
ความกังวลเรื่องภาวะน้ำหนักตัวเกิน
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ: