เพราะมุ่งมั่นที่จะมอบการดูแลที่ดีที่สุดให้แก่ผู้ป่วยโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จึงไม่เคยหยุดพัฒนาตัวเอง โดยมีเป้าหมายเพื่อดำรงและสร้างสรรค์ความเป็นเลิศในการให้บริการด้านการแพทย์ Better Health ขอแนะนำให้รู้จักกับแพทย์ที่มากด้วยทักษะและประสบการณ์ ซึ่งมาเสริมทีมแพทย์ของเราให้มีความแข็งแกร่ง พร้อมดูแลผู้ป่วยได้อย่างรอบด้านยิ่งขึ้น
Q: เทคโนโลยีใดที่มีส่วนสำคัญในการช่วยผู้ป่วยวิกฤติ
A: คิดว่าน่าจะเป็นอัลตร้าซาวด์ เนื่องจากสามารถระบุความผิดปกติได้เร็วกว่าการตรวจแบบอื่น ในเวลาอย่างนั้นเราไม่ต้องการความละเอียดมาก เพราะทุกนาทีมีความสำคัญกับชีวิตของผู้ป่วย
Q: เหตุใดถึงเลือกมาทำงานกับบำรุงราษฎร์
A: เพราะบำรุงราษฎร์เป็นโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐานระดับโลก เรียกว่าเทียบได้กับโรงพยาบาลระดับท็อปของอเมริกา มีแพทย์และพยาบาลที่มีความเป็นมืออาชีพและมีระบบการจัดการที่ดี ทำให้เราสามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้การกลับมาเมืองไทยยังทำให้ผมได้อยู่กับครอบครัวอีกด้วย
Q: สาเหตุที่เลือกทำงานสาขานี้
A: เป็นความชอบครับ เริ่มจากโรคปอดก่อน แล้วก็ต่อมาที่เวชบำบัดวิกฤติ เพราะสองด้านนี้มีความเชื่อมโยงกัน คือผู้ป่วยวิกฤติส่วนใหญ่จะมีปัญหาด้านการหายใจ และผู้ป่วยด้านปอดส่วนใหญ่ก็มักจะต้องเข้าไอซียู ซึ่งการทำงานด้านนี้ทำให้ผมรู้สึกเหมือนได้ช่วยเหลือผู้ป่วยจริง ๆ เพราะ
Q: เทคโนโลยีมีส่วนช่วยในการทำงานอย่างไรบ้าง
A: ศัลยแพทย์ระบบประสาทเป็นงานที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อนและความแม่นยำ เทคโนโลยีที่สามารถให้ภาพโดยละเอียดของสมองได้อย่างเครื่องเอกซเรย์สนามแม่เหล็ก (MRI) หรือ เครื่องเอกซเรย์ภาพตัดขวาง (CT Scan) จึงสำคัญมากในการยืนยันตำแหน่งผิดปกติของสมองโดยข้อมูลที่ได้ยังอาจนำมาใช้กับเครื่องมือช่วยหาพิกัดในสมองแบบเดียวกับระบบ GPS ได้อีกด้วย
อีกเทคโนโลยีหนึ่งที่สำคัญคือกล้องผ่าตัดกำลังขยายสูงซึ่งช่วยให้ศัลยแพทย์สามารถมองเห็นส่วนลึกของสมองได้โดยไม่ต้องผ่าแผลใหญ่ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้การผ่าตัดสมองแม่นยำและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
Q: สิ่งที่ศัลยแพทย์ต้องระวังเป็นพิเศษคืออะไร
A: การตัดสินใจว่าจะผ่าตัดหรือไม่เป็นสิ่งที่ศัลยแพทย์ระบบประสาทต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เพราะการรักษาสมองต้องเน้นความปลอดภัยเป็นหลัก ซึ่งบางครั้งอาจมีทางเลือกอื่นที่นอกเหนือจากการผ่าตัด หรือแม้แต่การผ่าตัดเองก็มีที่เหมาะสมที่ช่วยลดภาวะแทรกซ้อนได้ หมอเคยพบผู้ป่วยรายหนึ่งมีเนื้องอกบริเวณก้านสมองแล้วไปอุดตันโพรงน้ำในสมอง ต้องใส่ท่อเพื่อให้น้ำในสมองไหลออกมาเรื่อย ๆ แต่ท่อตันหลายครั้ง เราดูแล้วว่าเนื้องอกนั้นโตช้าและไม่ใช่เนื้อร้าย แค่ส่องกล้องเข้าไปเจาะทางเดินน้ำใหม่ ผู้ป่วยก็ใช้ชีวิตได้เป็นปกติโดยไม่ต้องใช้ท่อและไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ซึ่งเป็นวิธีที่มีความเสี่ยงน้อยกว่ามาก
Q: เพราะเหตุใดจึงสนใจศึกษาด้านพันธุศาสตร์
A: พันธุศาสตร์เป็นพื้นฐานของชีวิต โรคส่วนใหญ่ที่เราเป็นนั้น ล้วนแต่ถูกกำหนดโดยสารพันธุกรรมทั้งสิ้น การเรียนสาขานี้จึงทำให้เรามีส่วนช่วยแพทย์สาขาอื่น ๆ เช่น Personalized or Customized treatment ซึ่งเป็นการรักษาและดูแลสุขภาพให้เหมาะสมกับสารพันธุกรรมของแต่ละคน อย่างการใช้ Pharmarcogenomics ที่ใช้พันธุกรรมของผู้ป่วยระบุตัวยาที่ผู้ป่วยสามารถตอบสนองได้ดี
Q: มีกรณีใดที่รู้สึกประทับใจเป็นพิเศษ
A: เคยมีเด็กทารกอยู่รายหนึ่งที่เกิดอาการโคม่าโดยไม่ทราบสาเหตุ หลังจากคลอดออกมาได้เพียงสามวัน พอตรวจด้านพันธุกรรมแล้วก็พบว่าเด็กไม่สามารถย่อยโปรตีนที่อยู่ในนมแม่ได้ เราจึงให้เด็กได้รับโปรตีนจากแหล่งอื่นจนสามารถเติบโตได้เป็นปกติ ซึ่งการช่วยให้พ่อแม่ที่สิ้นหวังไปแล้วได้กลับมามีความสุขอีกครั้งเป็นความประทับใจที่ไม่เคยลืมเลย
Q: เทคโนโลยีมีความสำคัญอย่างไรในการรักษา
A: สำหรับการรักษาและป้องกันโรคด้านพันธุศาสตร์นั้นเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยข้อมูลพันธุกรรมที่ก้าวหน้าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เช่น Micro Array Technology ที่สามารถตรวจพันธุกรรมของตัวอ่อน และวินิจฉัยโรคต่าง ๆ ได้ละเอียดกว่าการตรวจทั่วไป โดยที่บำรุงราษฎร์นี้มีการนำมาใช้โดยประสานกับห้องปฏิบัติการในต่างประเทศ และยังมีการนำการตรวจรหัสพันธุกรรมและเทคนิคทางพันธุศาสตร์มาใช้เสริมการรักษาโรค ควบคู่ไปกับการดูแลสุขภาพเพื่ออายุที่ยืนยาวและมีคุณภาพอีกด้วย
Q: จากการที่ดูแลผู้ป่วย มีเรื่องใดที่รู้สึกลำบากใจมากที่สุด
A:
โรคทางระบบประสาทส่วนใหญ่ ความรู้ทางการแพทย์ปัจจุบันมักเป็นการรักษาแบบประคับประคองอาการและยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ตัวอย่างเช่น
โรคพาร์กินสัน หรือ
โรคความเสื่อมของสมอง การดูแลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีจนถึงระยะสุดท้ายของโรคเป็นหน้าที่ของแพทย์ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีการดำเนินของโรคเลวลงอย่างช้า ๆ จนในที่สุดไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้นั้นนับเป็นความรู้สึกที่หนักใจที่สุด
Q: การทำงานกับบำรุงราษฎร์เป็นอย่างไรบ้าง
A: บำรุงราษฎร์เป็นโรงพยาบาลชั้นนำที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลายสาขาคอยช่วยให้คำปรึกษาในแขนงต่าง ๆ ทำให้หมอมีอิสระที่จะทำงานดูแลผู้ป่วยเฉพาะในสาขาที่เชี่ยวชาญได้อย่างเต็มที่
ผู้ป่วยที่มาหาหมอที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ย่อมมีความคาดหวังสูงมาก ในฐานะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจึงต้องใช้ความรู้ความสามารถอย่างสูงในการดูแลผู้ป่วย แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือการสื่อสารกับผู้ป่วยและครอบครัวเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง และได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการรักษาตามความเหมาะสม
Q: แนวคิดหลักในการทำงานคืออะไร
A: ในความเห็นของหมอ แพทย์ควรจะมีความรู้รอบด้านมองโลกให้กว้างไกลเปิดโลกทัศน์ในการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง ความหลากหลายแห่งองค์ความรู้จะทำให้แพทย์สามารถประยุกต์ความรู้ในแขนงต่าง ๆ เพื่อการดูแลผู้ป่วยแต่ละรายได้อย่างยืดหยุ่นและเหมาะสม
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
แก้ไขล่าสุด: 30 มีนาคม 2565