ภาวะสายตาผิดปกติ เกิดจากความโค้งของกระจกตาที่มากหรือน้อยเกินไป ไม่พอดีกับขนาดความยาวลูกตาทำให้ภาพไม่ไปโฟกัสที่จอตา โดยถ้าเกิดภาพที่ก่อนจอตาเรียกว่า
สายตาสั้น นอกจากแว่นสายตาและคอนแทคเลนส์ซึ่งเป็นการรักษาภาวะสายตาผิดปกติแบบชั่วคราวแล้ว การรักษาภาวะสายตาผิดปกติด้วยเลเซอร์ ถือเป็นวิธีการรักษาภาวะสายตาผิดปกติแบบถาวร โดย
สายตายาวแต่กำเนิด คือการเกิดภาพที่หลังจอตา หรือภาพซ้อนไม่รวมเป็นภาพเดียวเรียกว่า
สายตาเอียง
ภาวะสายตายาวตามอายุ พบได้ในกลุ่มคนที่มีอายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป คือมีอาการเมื่อยตาหรือเห็นภาพซ้อนขณะมองใกล้จากอายุที่เพิ่มขึ้น โดยปกติเมื่อมองใกล้ เลนส์ตาจะถูกกล้ามเนื้อโดยรอบดึงให้โป่งขึ้นเพื่อปรับโฟกัสในที่ใกล้ เมื่ออายุเพิ่มขึ้นเลนส์ตาจะแข็งขึ้นและกล้ามเนื้อโดยรอบอ่อนแรงลง ทำให้โฟกัสในที่ใกล้ไม่ชัดเท่าเดิม
วิธีในการรักษาภาวะสายตาผิดปกติด้วยเลเซอร์
1. ReLEx SMILE (Refractive Lenticule Extraction / Small Incision Lenticule Extraction) เป็นการรักษาภาวะสายตาสั้นและสายตาเอียง ด้วยวิธีการผ่าตัดแบบไร้ใบมีดและใช้เลเซอร์เพียงชนิดเดียวด้วยเครื่อง Visumax femtosecond laser ผ่านแผลขนาดเล็กประมาณ 4 มม. ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าการรักษาด้วยวิธีอื่น พร้อมเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยและปลอดภัย
ข้อดีในการผ่าตัดด้วย ReLEx SMILE
- ใช้เวลาผ่าตัดเพียง 30 นาที
- แผลขนาดเล็กประมาณ 4 มม.
- ไม่มีการตัดฝากระจกตาทำให้ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ฝากระจกตาตัดไม่สมบูรณ์ หรือฝากระจกตาเคลื่อน เป็นต้น
- ผลข้างเคียงหลังการผ่าตัดน้อยกว่าการรักษาด้วยวิธีอื่น เช่น ภาวะตาแห้ง และแสงกระจายในที่มืด
- มีผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพ
2.
Femtosecond LASIK เป็นการรักษาภาวะสายตาผิดปกติ ชนิดสายตาสั้น สายตาเอียง และสายตายาวแต่กำเนิด โดยเป็นการตัดฝากระจกตาแบบไม่ใช้ใบมีดด้วยเครื่อง Visumax femtosecond laser จากนั้นเปิดฝากระจกตาไปด้านข้างเพื่อรองรับการยิงจากเครื่อง Excimer laser ในขั้นตอนต่อไป จากนั้นใช้เครื่อง excimer laser (MEL90 series) ในการปรับแต่งความโค้งกระจกตา และปิดฝากระจกตากลับโดยไม่จำเป็นต้องเย็บแผล
3.
PRK (Photorefractive Keratectomy) สำหรับรักษาภาวะสายตาสั้น สายตายาวแต่กำเนิดและสายตาเอียง อีกทั้งเป็นวิธีทางเลือกสำหรับผู้มีกระจกตาบาง หรือไม่เหมาะสมกับการผ่าตัดด้วยวิธีอื่น โดยใช้เครื่อง excimer laser (MEL90 series) ขัดที่ผิวกระจกตาโดยตรง และไม่มีการแยกชั้นกระจกตา ซึ่งเป็นวิธีการผ่าตัดแก้ไขสายตาวิธีแรกๆ และจำเป็นต้องใส่คอนแทคเลนส์เพื่อลดอาการระคายเคืองหลังผ่าตัดประมาณ 3-5 วัน
4. การผ่าตัดด้วยเทคนิค Monovision เป็นการรักษาเพื่อช่วยให้มองเห็นชัดทั้งใกล้และไกล สามารถทำได้ด้วยวิธี ReLEx SMILE,Femtosecond LASIK และ PRK โดยการตั้งค่าเลเซอร์ให้ตาหนึ่งข้างมองชัดในที่ไกล ส่วนอีกข้างมองชัดในที่ใกล้ในผู้ที่สายตายาวตามอายุ ควรปรึกษาจักษุแพทย์เพื่อเลือกวิธีที่เหมาะสม
อย่างไรก็ตามวิธีการรักษาภาวะสายตาผิดปกติต่างๆ ควรได้รับการตรวจตาอย่างละเอียดและวินิจฉัยโดยจักษุแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางโดยตรง เพื่อเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมเฉพาะบุคคล ศูนย์จักษุยังพร้อมให้บริการการรักษาโรคกระจกตาอื่นๆ เช่น โรคกระจกตาโก่ง (Keratoconus) ด้วยการผ่าตัดใส่ ICR (Intracorneal ring)
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
แก้ไขล่าสุด: 24 มิถุนายน 2565