โรคไวรัสตับอักเสบ เป็นโรคที่คนไทยรู้จักกันมานาน แต่กลับไม่ ค่อยได้ให้ความสำคัญมากนัก อาจเป็นเพราะไม่ทราบว่าโรคไวรัสตับ อักเสบนั้นจัดเป็นโรคร้ายแรงชนิดหนึ่ง แม้อาการของโรคจะไม่รุนแรง ก็ตาม ทั่วโลก มีผู้ติดเชื้อไวรัสชนิดนี้มากกว่า 350 ล้านคนและเป็นสาเหตุ ให้เกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรังซึ่งอาจก่อให้เกิดมะเร็งตับตามมา ส่งผลให้ใน
ปัจจุบัน
การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีถือเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญ ของโลกไปแล้ว ประเทศไทยเองเป็นประเทศที่มีโรคไวรัสตับอักเสบชนิดบีชุกชุมมาก ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยมีผู้ที่เป็นพาหะ หรือผู้ที่มีเชื้อไวรัสบีอยู่ในกระแส เลือดถึงร้อยละ 7 ของประชากรทั้งหมดหรือประมาณ 9 ล้านคน ขณะที่ ทั่วโลกมีการประมาณการกันว่ามีผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบบีมาก กว่า 350 ล้านคน และร้อยละ 75 เป็นคนเอเชีย (Information Center for Emerging Infectious Diseases, Chulalongkorn University) ถึงเวลาแล้วที่คุณต้องมองเรื่องโรคไวรัสตับอักเสบบีอย่างจริงจัง
Better Health ฉบับนี้เราไปคุยกับ
รศ. นพ. วีระศักดิ์ ว่องไพฑูรย์ ผู้เชี่ยวชาญ
โรคระบบทางเดินอาหาร และโรคตับ เพื่อจะรู้จักกับโรคร้ายแรง ชนิดนี้ให้ดีขึ้น
“ไวรัสบี” น่ากลัวอย่างไร
เชื้อไวรัสตับอักเสบมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ชนิดเอ บี ซี ดี อี แต่เหตุผลที่ต้องให้ความสำคัญกับไวรัสตับอักเสบชนิดบีเป็นพิเศษนั้น รศ. นพ. วีระศักดิ์ อธิบายว่า “ไวรัสตับอักเสบชนิดบีทำให้ผู้ได้รับเชื้อ มีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรัง
ตับแข็ง และร้ายแรงจนอาจ กลายเป็นมะเร็งตับในที่สุด ในบ้านเรา ผู้ป่วยโรคมะเร็งตับส่วนใหญ่ ประมาณร้อยละ 90 มีประวัติเป็นโรคไวรัสตับอักเสบมาก่อนทั้งนั้น”
สิ่งที่น่ากลัวของไวรัสตับอักเสบบีคือ เมื่อมีการรับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ส่วนมากผู้ที่ได้รับเชื้อจะไม่รู้ตัว เนื่องจากไม่มีอาการป่วยใด ๆ ปรากฏ การดำเนินของโรคจึงเป็นไปอย่างเงียบ ๆ บางราย อาจมีไข้ หรือปวดเมื่อย เนื้อตัวซึ่งทำให้เข้าใจผิด ไปได้ว่าเป็นเพียง
ไข้หวัด ธรรมดา “ไวรัสตับอักเสบ บี เป็นดีเอ็นเอไวรัสชนิด หนึ่ง ซึ่งต้องอาศัยนิวเคลียส ของตับเพื่อพัฒนาเป็นตัว ไวรัสที่สมบูรณ์ พอพัฒนา ตัวเองได้สมบูรณ์แล้วก็จะ กระจายอยู่ในกระแสเลือด แล้วแพร่เชื้อสู่เซลล์อื่น ๆ ต่อไป” คุณหมออธิบาย
ประเภทของโรคไวรัสตับอักเสบบี
โรคไวรัสตับอักเสบชนิดบีนั้นแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ แบบเฉียบพลัน (เป็นแล้วหายภายใน 6 เดือน) และแบบเรื้อรัง (เป็นนานกว่า 6 เดือน) “สำหรับแบบเฉียบพลัน เมื่อมีการรับเชื้อไปแล้วราว 2 - 3 เดือน จะมีอาการเป็นไข้ เป็นหวัด ปวดเมื่อยตามตัว หลังจากนั้นประมาณ 1 สัปดาห์จะมีอาการตับอักเสบ ตัวเหลือง ตาเหลือง ถ้าตรวจดูจะมีค่า การทำงานของตับสูงกว่าปกติ อาการพวกนี้จะดีขึ้นภายใน 2 - 3 สัปดาห์ หลังจากนั้นร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานขึ้นมา และผู้ป่วยส่วนมาก จะไม่กลับมาเป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีอีก แต่ถ้าภูมิคุ้มกันไม่สามารถ จัดการกับเชื้อไวรัสได้ ก็จะกลายเป็นโรคไวรัสตับอักเสบชนิดเรื้อรังซึ่ง อาจส่งผลให้ผู้ป่วยเป็น
โรคตับแข็งและมะเร็งตับต่อไป” คุณหมออธิบาย เพิ่มเติม
ส่วนมากแล้ว ผู้ป่วยที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีชนิดเรื้อรังมักได้รับเชื้อ มาตั้งแต่ยังอยู่ในวัยทารกหรือวัยเด็ก โดยได้รับจากมารดาในช่วงหลังคลอด รวมทั้งได้รับเชื้อจากคนแวดล้อม และสิ่งแวดล้อมตั้งแต่อายุยังน้อย ๆ “เราพบว่าเชื้อในเด็กจะชุกชุมเป็นพิเศษในสถานที่ที่เด็กอยู่รวมกันเยอะ ๆ เพราะเด็ก ๆ จะเล่นกัน คลุกคลีกัน ได้แผลบ้างอะไรบ้าง ภูมิคุ้มกัน ยังไม่แข็งแรงดีจึงติดเชื้อง่าย ซึ่งร่างกายยังไม่รู้ว่าเชื้อนี้เป็นเชื้อโรคที่ต้อง กำจัด เชื้อจึงเข้าไปอยู่ในตับโดยไม่ถูกต่อต้านและแพร่พันธุ์ไปเรื่อย ๆ ถ้าตรวจดูเด็ก ๆ พวกนี้จะพบไวรัสเป็นร้อย ๆ ล้าน ๆ ตัวต่อเลือด 1 ซีซี เลยทีเดียว โดยเด็กไม่มีอาการตับอักเสบ ถือเป็นพาหะไวรัสบีเฉยๆ” คุณหมอเล่า
เมื่อเด็กที่ได้รับเชื้อโตขึ้น จำนวนเชื้อไวรัสจะลดลงเรื่อย ๆ เนื่องจาก ภูมิคุ้มกันของร่างกายพัฒนาขึ้น ร่างกายมีการต่อสู้กับเชื้อไวรัสมากขึ้น บางรายโชคดีภูมิต้านทานจัดการไวรัสสำเร็จ ก็หายได้ ขณะที่บางรายเกิด ภาวะตับอักเสบ เป็น ๆ หาย ๆ จนกลายเป็นโรคเรื้อรังขึ้นมาเมื่อโตเป็น ผู้ใหญ่อายุ 20 - 40 ปี
ติดเชื้อ หรือไม่
ในประเทศไทย แม้จะเริ่มมีการให้วัคซีนป้องกันตั้งแต่เด็ก แต่ก็ยังคง มีประชากรไทยถึง 9 ล้านคนที่เป็นพาหะของโรคและสามารถแพร่เชื้อ ต่อไปได้เรื่อย ๆ คุณหมออธิบายถึงสาเหตุที่ทำให้คนไทยเราเป็นโรคนี้ กันมากว่า “
ปัญหาที่สำคัญของโรคไวรัสตับอักเสบบี คือในช่วงแรก คนไข้จะไม่มีอาการแสดงเลย แต่จะมีการดำเนินของโรคไปอย่างต่อเนื่อง ทําให้ผู้ป่วยไม่ได้ดูแลตนเอง หรือรับการรักษาจากแพทย์อย่างถูกต้อง ตั้งแต่ต้น และด้วยความที่ไม่รู้นี่เองที่ทำใหมีการแพร่เชื้อไปเรื่อย ๆ
เชื้อไวรัสตับอักเสบบีนั้นติดต่อกันได้ผ่านทางช่องทางสำคัญ 3 ทาง ได้แก่ การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน การรับเลือดหรือ สารคัดหลั่งของร่างกายจากผู้เป็นพาหะ เช่นการใช้ของปะปนกัน เช่น แปรงสีฟัน เข็มฉีดยา มีดโกน และถ่ายทอดจากมารดาสู่บุตร กรณีนี้ มีโอกาสสูงที่จะติดเชื้อได้ในระหว่างคลอด ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดในการรับมือ กับเชื้อไวรัสตับอักเสบคือการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง ทุกประการและเข้ารับการตรวจร่างกายจาก แพทย์อย่างสม่ำเสมอ
“คุณไม่มีทางทราบ ได้เลยว่าใครบ้าง ที่เป็นโรคและใครบ้างที่เป็นพาหะ หนทางที่ปลอดภัยที่สุดคือต้อง ระวังตัวเองไว้ เวลาทานข้าวร่วมกับคนอื่นต้องใช้ช้อนกลางและไม่ใช้ ของมีคมหรือแปรงสีฟันร่วมกับใคร ที่สำคัญควรมีการตรวจเลือดด้วย วิธีนี้เป็นวิธีการเดียวที่จะทราบได้ว่าใครมีเชื้อไวรัสอยู่บ้างซึ่งส่วนมากผู้ป่วย จะทราบว่าตัวเองมีเชื้อก็ตอนที่มาตรวจสุขภาพประจำปีหรือไม่ก็ตอนที่มี อาการดีซ่าน (
ตัวเหลือง ตาเหลือง มีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร) แล้วนั่นเอง” คุณหมอวีระศักดิ์ อธิบาย
ติดเชื้อแล้ว ต้องทำอย่างไร
ในการตรวจ แพทย์จะเน้นการตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อไวรัสเป็นสำคัญ ในกรณีที่พบว่ามีเชื้อ แพทย์จะทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อดูภูมิต้านทานของ ผู้ป่วย ตรวจดูสารมะเร็ง ดูการทำงานของตับ ประกอบกับการตรวจ อัลตราซาวนด์เพื่อดูรูปร่าง และพื้นผิวของตับว่าได้รับความเสียหายมาก น้อยเพียงใด
“ถ้าเป็นแบบเฉียบพลัน สิ่งที่ผู้ป่วยต้องทำคือ พักผ่อนให้มาก ดูแล สุขภาพให้ดี ไม่นานก็หายเป็นปกติ ส่วนผู้ที่ป่วยเป็นแบบเรื้อรัง หมอก็จะ ตรวจละเอียดมากขึ้นเพื่อให้ทราบถึงการดำเนินของโรค และรายละเอียด ของการรับเชื้อ ซึ่งตรงนี้จะช่วยให้หมอสามารถวางแผนการรักษาอย่าง เหมาะสมต่อไป” ในขั้นการรักษา คุณหมอวีระศักดิ์อธิบายว่ามีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย บางรายที่มีเชื้อแต่ไม่ปรากฏอาการ ตับไม่ได้รับ ความเสียหาย กรณีนี้ แพทย์ไม่จำเป็นต้องให้ยา เพียงแต่คอยติดตาม การทำงานของตับทุกปี
ในรายที่มีอาการตับอักเสบเรื้อรัง อาจต้องมีการใช้ยาช่วยซึ่งให้ผลดี ในการรักษา ผู้ป่วยสามารถหายตับอักเสบเป็นปกติได้ภายในเวลาไม่นาน แม้ไวรัสจะไม่หายขาด แต่ต้องมีการติดตามดูแล ตรวจเช็คสุขภาพของตับ อย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกัน
ตับแข็งและมะเร็งตับที่อาจเกิดขึ้นต่อไป สำหรับ ผู้ที่เป็นพาหะ คุณหมอมีคำแนะนำว่าอย่าเครียด ดูแลสุขภาพตัวเองให้ดี พยายามใช้ชีวิตให้เป็นปกติสุขมากที่สุดและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงทุกชนิด
ปัจจุบัน
การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบบีมีประสิทธิภาพมาก และช่วย ป้องกันไม่ให้โรคลุกลามรุนแรงต่อไปได้ ซึ่งคุณหมอฝากคำแนะนำในการ ดูแลตัวเองไว้ว่า “อย่ารับประทานยาพร่ำเพรื่อ ติดต่อกันเป็นเวลานานโดย ขาดความรู้ที่ถูกต้อง มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย งดดื่มเหล้า ตรวจสุขภาพ ร่างกายเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตรวจเช็คตับให้ได้ปีละครั้ง เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอเพื่อสร้างเสริมภูมิต้านทานโรค ทั้งหมดนี้ก็เพียงพอที่จะ ทำให้คุณมีสุขภาพดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้แล้ว” คุณหมอวีระศักดิ์กล่าว ทิ้งท้าย
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
แก้ไขล่าสุด: 29 มีนาคม 2565