bih.button.backtotop.text

โรคในเด็กช่วงหน้าฝน คุณพ่อคุณแม่ ควรเฝ้าระวัง!

โรคในเด็กช่วงหน้าฝน คุณพ่อคุณแม่ ควรเฝ้าระวัง!


ฤดูกาลต่างๆมาพร้อมกับกิจกรรมที่นำความสนุกสนานมาให้เด็กๆแตกต่างกันไป  ในขณะเดียวกันก็นำของแถมที่ไม่พึงปรารถนา เช่น โรคร้ายที่ทำให้เด็กเจ็บป่วยและอาจต้องใช้เวลาตลอดฤดูกาลอยู่แต่บนเตียงนอนได้
 

ฤดูฝน

การเล่นน้ำฝน การเดินลุยน้ำฝนที่ท่วมขัง หรือการกระโดดในแหล่งน้ำขังเพื่อให้น้ำแตกกระจายเป็นสิ่งที่เด็กๆหลายคนชื่นชอบ แต่ก็ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคร้าย รวมถึงอากาศที่เย็นชื้นมากขึ้น เป็นสาเหตุที่ทำให้โรคหลายชนิดแพร่ระบาดได้ง่าย โรคที่แฝงมากับหน้าฝนที่เด็กมักเป็นกัน มีดังนี้คือ
  มียุงลายเป็นพาหะนำโรค อาการระยะแรกเหมือนการติดเชื้อไวรัสทั่วไป ได้แก่ มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว อาจมีอาการปวดกระดูก ไข้จะสูงอยู่ประมาณ 2-7 วัน หลังจากไข้ลง อาจจะมีอาการเลือดออกผิดปกติและช็อคได้ ระยะที่เกิดช็อคส่วนใหญ่จะเกิดในช่วงที่ไข้ลดลง อาการก่อนที่จะช็อคคือ เด็กอาจปวดท้อง ปัสสาวะน้อยลง กระสับกระส่ายหรือซึม มือเท้าเย็น หน้ามืด เป็นลมง่าย ควรรีบนำเด็กส่งโรงพยาบาลทันที โรคไข้เลือดออกป้องกันได้โดยพยายามอย่าให้ยุงกัดและกำจัดแหล่งน้ำท่วมขัง
 
  • โรคมาลาเรีย (Malaria) 
มียุงก้นปล่องที่อยู่ในป่าเป็นพาหะนำโรค แรกๆ จะมีอาการเหมือนเป็นหวัด ประมาณ 2-3 วันหลังจากนั้นจะอยู่ในช่วงจับไข้เป็นช่วงๆอย่างสม่ำเสมอ แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะหนาวสั่น ระยะร้อนและระยะเหงื่อ วนอยู่เช่นนี้ หากเป็นโรคมาลาเรียชนิดรุนแรงอาจทำให้ไตวาย ตับอักเสบ ปอดผิดปกติ และมาลาเรียขึ้นสมองได้ ควรป้องกันโดยให้เด็กสวมเสื้อผ้ามิดชิด ทายาหรือพ่นยากันยุง นอนในมุ้ง เป็นต้น
 
  • โรคระบบทางเดินอาหาร (Gastrointestinal tract disease)

เช่น โรคอุจจาระร่วง โรคบิดและโรคไทฟอยด์ เกิดจากการติดเชื้อจากการกินอาหารหรือดื่มน้ำที่มีเชื้อปะปนอยู่ ทำให้เด็กมีอาการท้องเสีย ถ่ายเหลวเป็นน้ำ อาจมีไข้ คลื่นไส้อาเจียน และหากติดเชื้อบิดอาจมีมูกหรือเลือดปนอุจจาระได้ การรักษาความสะอาดเป็นการป้องกันที่ดีที่สุด ดังนั้นจึงควรดูแลให้เด็กหมั่นล้างมือให้สะอาด กินอาหารที่ปรุงสุกและฉีดวัคซีนป้องกันโรคไทฟอยด์

 

  • โรคไข้ฉี่หนู (Leptospirosis)

เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน มีหนูเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ เชื้ออาศัยอยู่ในดินที่ชื้นแฉะหรือแหล่งน้ำท่วมขังและเข้าสู่คนทางผิวหนัง อาการที่สำคัญคือ มีไข้ ปวดศีรษะ ตาแดง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อโดยเฉพาะที่น่องหรือโคนขา หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจทำให้มีอาการแทรกซ้อน เช่น ไตวาย มีอาการทางสมองและระบบประสาทจนอาจเสียชีวิตได้ วิธีป้องกันคือลดประชากรหนู ด้วยการทิ้งเศษอาหารให้มิดชิด ให้เด็กสวมรองเท้าบู้ตหากต้องเดินย่ำน้ำ ล้างตัวเด็กให้สะอาดทันทีหลังจากสัมผัสกับน้ำท่วมขัง

 

เกิดจากเชื้อไวรัส พบมากในช่วงหน้าฝนเข้าสู่ฤดูหนาว ติดต่อกันได้ทางไอ จาม น้ำลายหรืออุจจาระ การสัมผัสของเล่น อาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ อาการของโรคคือ มีไข้ ผื่น ตุ่มน้ำใสตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า ก้น มีแผลร้อนในหลายแผลในปาก มักหายได้เอง ในขณะมีอาการ เด็กบางรายอาจกินอาหารและน้ำไม่ค่อยได้เนื่องจากเจ็บปาก ทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ  ต้องระวังไม่ให้เด็กมีไข้สูงจนเกิดอาการชัก เด็กบางรายอาจมีอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ อัมพาตและอาจเสียชีวิต ป้องกันได้โดยไม่ให้เด็กคลุกคลีกับผู้ป่วยและไม่ใช้ภาชนะร่วมกับคนอื่น

 

  • โรคเยื่อบุตาอักเสบหรือโรคตาแดง (Conjunctivitis หรือ Pink eye)
เกิดจากการติดเชื้อซึ่งติดต่อกันได้ง่าย จากการสัมผัสกับเชื้อโรคโดยตรง เช่น ไอ จาม หายใจรดกันและใช้สิ่งของร่วมกัน เชื้อที่ทำให้เกิดโรคตาแดงที่พบได้บ่อยคือ เชื้อไวรัส อาการของโรคตาแดงอาจเกิดกับดวงตาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้างก็ได้  เด็กที่ติดเชื้อไวรัสจะมีอาการตาแดงอย่างรวดเร็ว  เคืองตา  เจ็บตา  น้ำตาไหล  ไม่มีขี้ตา นอกจากมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนตามมาจึงจะมีขี้ตา  บางรายมีต่อมน้ำเหลืองหน้าหูโตและเจ็บ โรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ คือ  ตาดำอักเสบ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง  อาจใช้เวลาหลายเดือนกว่าจะหาย เนื่องจากโรคตาแดงไม่มียารักษาโดยตรง การป้องกันไม่ให้ติดโรคจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งทำได้โดยการแยกเด็กที่ป่วย ห้ามไม่ให้ขยี้ตาและหมั่นล้างมือให้สะอาด
 
 
เรียบเรียงโดยกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

 
 
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แก้ไขล่าสุด: 18 พฤศจิกายน 2567

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs