You're been inactive for a while. For security reason, we'll automatically sign you out from our website. Please Click "Login" to extend your session
ตรวจสอบข้อมูลผู้ป่วย ผลการตรวจ กำหนดการนัด และอื่นๆ
ขณะนี้ ไม่สามารถเข้าสู่ระบบด้วยเบอร์โทรศัพท์เป็นการชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก
ยังไม่มีบัญชี? Create Account
ติดตามข่าวสารล่าสุด และ นัดปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกได้ทันที
มีบัญชีอยู่แล้ว? Log In
ภาวะไตวาย
ค้นหาแพทย์
ติดต่อสอบถาม
นัดหมายแพทย์
.
ภาวะไตวายแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. ภาวะไตวายเฉียบพลัน คือการที่ไตสูญเสียการทำงานอย่างรวดเร็ว โดยเกิดจากสาเหตุต่างๆ เช่นภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต โรคในระบบทางเดินปัสสาวะ การได้รับสารพิษ ผลข้างเคียงจากยา การรับประทานยาเกินขนาด รวมถึงผู้ป่วยอาการหนักจากโรคต่างๆ ซึ่งหากผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีก็มีโอกาสที่ไตจะฟื้นกลับมาเป็นปกติได้
2. ภาวะไตวายเรื้อรัง เป็นภาวะที่ไตค่อยๆ สูญเสียความสามารถในการทำงานลง ซึ่งสาเหตุหลักๆ ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน รวมถึงสภาวะอื่นๆ เช่น ไตอักเสบ โรคถุงน้ำในไต ซึ่งภาวะนี้อาจกินเวลานานนับปีโดยไม่มีอาการ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงมักตรวจพบโรคเมื่อประสิทธิภาพการทำงานของไตลดลงไปมากและนำไปสู่ภาวะไตวาย ที่ไม่สามารถรักษาให้กลับมาทำงานเป็นปกติได้อีกต่อไป
การตรวจวินิจฉัยเพื่อยืนยันภาวะไตวาย สามารถทำได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ คือ
ทั้งนี้ ค่าการทำงานของไตหรือ GFR เป็นค่าที่บอกว่าไตทำงานได้มากน้อยเพียงใด โดยสามารถแบ่งโรคไตเรื้อรังออกได้เป็น 5 ระยะ ได้แก่
ระยะที่ 1 ค่า GFR 90 หรือมากกว่า แต่เริ่มพบโปรตีนในปัสสาวะหมายถึงไตเริ่มเสื่อม
ระยะที่ 2 ค่า GFR 60-89 ค่า GFR ลดลงเล็กน้อย เป็นระยะที่ไตเสื่อมแล้ว
ระยะที่ 3 ค่า GFR 30-59 ค่า GFR ที่ลดลงปานกลาง
ระยะที่ 4 ค่า GFR 15-29 ค่า GFR ลดลงมาก
ระยะที่ 5 ค่า GFR น้อยกว่า 15 เป็นระยะสุดท้ายหรือภาวะไตวาย
ดังนั้น ค่า GFR ยิ่งต่ำก็ยิ่งหมายถึงการที่ไตทำงานได้น้อยลงนั่นเอง
1. การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ( hemodialysis) เป็นการนำของเสียและน้ำออกจากเลือด โดยเลือดจะออกจากตัวผู้ป่วยแล้วผ่านตัวกรองเพื่อกำจัดของเสีย ปรับสมดุลเกลือแร่และกรดด่างเพื่อให้กลายเป็นเลือดดีก่อนที่เครื่องไตเทียมจะนำเลือดนั้นกลับสู่ร่างกาย ในการฟอกเลือดแต่ละครั้งต้องใช้เวลาประมาณ 3-4 ชม. และต้องทำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง โดยผู้ป่วยต้องเข้ารับการตัดต่อเส้นเลือดเพื่อใช้ในการฟอกเลือดเสียก่อน
2. การล้างไตทางผนังช่องท้อง (peritoneal dialysis) เป็นการใส่น้ำยาล้างไตเข้าไปในช่องท้องผ่านทางสายยางที่ฝังไว้ในช่องท้องผู้ป่วยเพื่อกรองของเสียในร่างกายออก วิธีนี้จำเป็นต้องทำทุกวัน ผู้ป่วยจึงมักทำที่บ้านและเรียนรู้วิธีการทำด้วยตัวเอง ซึ่งอาจมีข้อจำกัดที่ผู้ป่วยหลายรายไม่สะดวก และมีข้อควรระวังเรื่องความสะอาดที่อาจนำไปสู่การติดเชื้อได้
3. การผ่าตัดปลูกถ่ายไต (kidney transplantation) เป็นการผ่าตัดเอาไตของผู้อื่นมาใส่ไว้ในร่างกายผู้ป่วยเพื่อทดแทนไตเดิมที่ไม่สามารถทำงานได้แล้ว โดยไตใหม่นั้นอาจได้มาจากผู้บริจาคอวัยวะที่มีภาวะสมองตาย หรือผู้บริจาคที่ยังมีชีวิตอยู่และมีไตเข้ากับผู้ป่วยได้ วิธีนี้มีข้อจำกัดเรื่องไตที่ต้องรอรับบริจาค
ผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายจำเป็นต้องเลือกวิธีใดวิธีหนึ่ง เพราะหากไม่รักษาก็จะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้
การรักษาที่เกี่ยวข้อง
แพทย์ที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง
โทรเพื่อทำการนัดหมาย
ไตวายเรื้อรัง เป็นภาวะที่ไตค่อยๆ สูญเสียความสามารถในการทำงานลงจนกระทั่งเสื่อมสภาพและไม่สามารถกลับมาทำงานได้เป็นปกติอีก
โรคไตเรื้อรังการผ่าตัดปลูกถ่ายไตภาวะไตวาย
ในปัจจุบันผู้ป่วยภาวะไตวายมีทางเลือกในการวินิจฉัยและการรักษาที่หลากหลาย ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีได้
โรคไตเรื้อรังภาวะไตวาย
หากไตถูกทำลายก็จะส่งผลให้ความสามารถในการทำหน้าที่ลดลงจนถึงขั้นไม่สามารถทำงานได้ หรือที่เรียกกันว่าภาวะไตวาย
การผ่าตัดปลูกถ่ายไตภาวะไตวาย